เช็คง่ายๆ "โรคหลอดเลือดสมอง"ด้วยตนเอง

เช็คง่ายๆ "โรคหลอดเลือดสมอง"ด้วยตนเอง

"โรคหลอดเลือดสมอง” ถือเป็นโรคร้ายลำดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

โดยจากการสํารวจประชากรขององค์กรโรคหลอดเลือดสมองโลก พบว่า ปี 2563 มีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองกว่า 80 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคน พบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นถึง 14.5 ล้านคนต่อปี และ 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป

ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของกองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข (ปี2556 - 2560) จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ปี 2560 พบผู้ป่วยเกิดใหม่จำนวน 304,807 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 ราย และคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน วัยรุ่น ก็อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 18-50 ปี ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

160828119059

นพ.ชาญพงค์ ตังคณะกุลอายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การสังเกตอาการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ทุกคนสามารถสังเกตอาการ BEFAST ของตนเองหรือคนใกล้ชิด โดยเริ่มจาก B คือ Balance เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุนฉับพลัง E คือ Eyes ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน F คือ Face Dropping ยิ้มแล้วมุมปากตก A คือ Arm Weakness ยกมือแล้วกำไม่ได้ หรือแขนขาไม่มีแรง S คือ Speech Difficulty พูดไม่ชัด พูดไม่ออก และ T คือ Time to call ควรรีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่และนำส่งโรงพยาบาล

นอกจากเช็คอาการ BEFAST ของตนเองหรือคนใกล้ชิด ว่ามีภาวะของโรคหลอดเลือดสมองแล้วหรือไม่นั้น ต้องเข้าใจเรื่องของ 4.5 ชม.ที่เป็น Magic Number หรือต้องมาถึงโรงพยาบาลภายในช่วงเวลา 4.5 ชม.นับตั้งแต่สังเกตเห็นอาการ แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือ rtPAทางหลอดเลือด ซึ่งในคนไข้รายที่มีภาวะสมองขาดเลือดและไม่พบภาวะเลือดออกในสมองจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ทัน สำหรับรายที่มาช้าเกิน 4.5 ชม. แต่ไม่เกิน 24 ชม.และวินิจฉัยว่าเซลล์สมองยังไม่ตายจากการอุดตันของลิ่มเลือดขนาดใหญ่ การให้ยา rtPA อาจไม่ทำให้อาการดีขึ้นต้องอาศัยการรักษาโดยใส่สายสวนหลอดเลือดสมองเข้าช่วย โดยแพทย์จะพิจารณาว่าจะใช้วิธีการดูด หรือนำลวดหรือตะแกรงเข้าไปเกี่ยวลิ่มเลือดที่อุดตัน ฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ หากผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อวางแผนการรักษาให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วยมากที่สุดนพ.ชาญพงค์ กล่าว

160828119555

สำหรับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีความผิดปกติ มี 2 ชนิดคือหลอดเลือดสมองอุดตันและหลอดเลือดสมองแตก ส่งผลให้สมองหยุดทำงานไปอย่างเฉียบพลันจากการที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงหรือมี เลือดออกแทรกทับในเนื้อสมอง 70% ของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ 

160822052488

 3 สาเหตุ คือ การอุดตันของหลอดเลือดจากการเสื่อมหรือการแข็งตัวของหลอดเลือด ก้อนเลือดจากหัวใจหรือตะกอนเลือดจากผนังหลอดเลือดแดงที่คอด้านหน้าหลุดเข้าไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง และความดันเลือดลดลงมากจนไปเลี้ยงไม่พออีก ส่วนอีก 30% เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก แบ่งย่อย 2 ชนิด คือเลือดออกในเนื้อสมองและเลือดออกที่ผิวสมอง

ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ส่วน ใหญ่ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน รับประทานยาคุมกำเนิด ความเครียด ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดปลายขาตีบ คนสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงคนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ

นพ.อภิชาติ พิศาลพงศ์”  ผู้อำนวยการแผนกอายุรกรรมระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า สมองและระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมกลไกต่างๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลรักษาถูกต้องมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ศูนย์สมองและระบบประสาท มีความชำนาญในการรักษาดูแลผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท 

160828118985

โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัยในการตรวจวินิจฉัยและรักษา อย่าง ศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยบีดีเอ็มเอส BDMS Medevac center สามารถประเมินและจัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีการเชื่อมโยงโรงพยาบาลในเครือเพื่อการช่วยเหลือ รับปรึกษา ที่ผ่านมามาตรฐานการรักษาในระดับสากลจากประเทศสหรัฐอเมริกา

นพ.นันทศักดิ์ ทิศาวิภาต ผู้อำนวยการ แผนกศัลยกรรมระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การรักษาโรคหลอดเลือดสมองในภาวะเฉียบพลันทั้งชนิดขาดเลือดและแตกนั้น นอกจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic agents or rt-PA) การทำหัตถการใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง(endovascular thrombectomy) ยังมีการใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อสแกนเนื้อสมอง จะสามารถเห็นความเสียหายได้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ แพทย์จะใช้เครื่อง Bi-Plane DSA (ไบเพลนดีเอสเอ) เครื่องตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด ช่วยในการดึงลิ่มเลือดอุดตัน แบบ Minimal Invasive โดยการใส่สายสวนเพื่อไปเปิดหลอดเลือดสมอง (ไม่เปิดกะโหลกศีรษะ) แต่จะมีแผลเล็กที่ขาหนีบตรงบริเวณที่ใส่สายสวนแทน   

160828119476

หากสมองมีอาการรุนแรงจนวิกฤต แพทย์จะเลือกวิธีการผ่าตัดสมองด้วยเทคนิคนำวิถี (Steriotactic Neurosurgery) แพทย์สามารถกำหนดจุดที่ต้องการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องก่อนจะลงมีด นำผู้ป่วยไปเข้าเครื่องสร้างภาพของสมอง แล้วจึงนำภาพนั้นไปวางแผน กำหนดพิกัดช่วยให้ศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดสมองสามารถเปิดแผลศีรษะเฉพาะจุดที่ต้องการเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยมีบาดแผลเล็กลงอย่างมาก บางครั้งอาจผ่าตัดผ่านรูขนาดเล็กเพียง 1 – 2 เซนติเมตร ส่งผลให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ หรือเสียชีวิตต่ำกว่า   เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยแต่ละราย  ทางศูนย์สมองและระบบประสาท มีเครือข่ายโรงพยาบาลทั้งBDMS และพันธมิตรอื่นๆ  ช่วยทำให้การส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ  พร้อมทั้งอาศัยการทำงานร่วมกันของทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหสาขาวิชาชีพ  ทั้งนักกายภาพบำบัด เภสัชกรคลินิก นักกำหนดอาหาร ฯลฯ  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด

160828118511

สิ่งสำคัญของการดูแลผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท จะต้องได้รับการดูแลรักษาที่ดี ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เลือดออกในสมองเส้นเลือดสมองอุดตันซ้ำ สมองบวม ภาวะความดันในสมองสูง หรือการติดเชื้อ เป็นต้น การดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ รวมถึงการให้การรักษาอย่างทันท่วงที จึงมีความสำคัญ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการในผู้ป่วยวิกฤติทางสมองให้เหลือน้อยที่สุด