นวัตกรรมรักษามะเร็ง ลดค่าใช้จ่าย 50%

นวัตกรรมรักษามะเร็ง ลดค่าใช้จ่าย 50%

จุฬาฯ จับมือ GC ศึกษาพัฒนานวัตกรรมรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด หวังลดต้นทุนการนำเข้า-ลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วย 50% ลดอัตราการเสียชีวิต

โรคมะเร็ง ถือเป็นโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้ป่วยมากกว่า 1 แสนคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี จากข้อมูลทางสถิติของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในช่วง 5 ปี ย้อนหลังมีผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งสิ้น 330,716 คน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย วานนี้ (19 มิ.ย.2562) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี(GC) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อศึกษาความเป็นได้ในการพัฒนานวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด โดยมีนายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ และ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าท่ีบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ จีซี ร่วมลงนาม

นายบัณฑิต กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า จุฬาฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมภายในประเทศ โดยจะสนับสนุนให้ทุกคณะได้ทำงานวิจัย พัฒนางานวิจัยสู่ชุมชน โดยเริ่มในชุมชนไทย และขยายไปสู่ต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความยากลำบากของผู้ป่วยโรคมะเร็งในการต่อสู้กับโรคมะเร็งในทุกระยะ และได้มีการศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมาตลอด เพราะมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยท่ีไม่สามารถรับการรักษาได้ เนื่องจากข้อจำกัดของวิธีการรักษาโรคมะเร็ง อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้เทคโนโลยีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดนั้น ในต่างประเทศมีการใช้อยู่แล้ว พบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ท่ีได้รับการรักษาโดยวิธีดังกล่าวสามารถรอดชีวิตจากโรคมะเร็งได้ ส่วนในประเทศไทย ด้วยการต้องนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้

"ความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการศึกษาความเป็นไป ได้ในการนำนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคโนโลยีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดมาใช้ในประเทศไทย ภายใต้การศึกษา วิจัยและพัฒนาเองภายในประเทศ ท้ังการรักษาด้วยเทคนิค CAR-T Cell, Therapeutic Antibody และ Cancer Vaccine รวมถึงการพัฒนาการ ผลิตเกล็ดเลือดจาก iPS Cells เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดท่ีอยู่ระหว่างรับการรักษา ให้ผู้ป่วยในประเทศไทยได้รับการรักษาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสม"นายบัณฑิตกล่าว

นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งจำนวนมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพอากาศ สภาพแวดล้อม อาหารการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้น มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้ามารับการรักษา ปีละประมาณ 4,000 คน ถือเป็นโรคร้ายแรง ยากต่อการรักษาให้หายขาดและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก ซึ่งที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ริเร่ิมศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด ข้ึนมาในประเทศไทย การที่ทาง GC เข้ามาสนับสนุน และมีหน่วยงานอย่าง Corporate Venture Capital หรือ CVC หน่วยงานหลักในการแสวงหาโอกาสของทางนวัตกรรมใหม่ ของ GC เข้ามาลงทุน ถือเป็นการยกระดับเทคโนโลยี นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ซึ่งการรักษามะเร็งด้วยเทคโนโลยีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด จะช่วยลดต้นทุนการนำเข้า และลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วยได้50% นำไปสู่การลดการเสียชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็ง

"ตอนนี้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นการรักษาที่แพงมาก เนื่องจากต้องนำเข้าเทคโนโลยี โดยผู้ป่วยต้องเสียค่ารักษาต่อโดสประมาณ 2 แสนบาท และไม่ได้รักษาเพียงโดสเดียว ต้องรักษายาวนาน ทำให้บางคนเสียเงินหลายล้านบาท ความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดภายในประเทศ เป็นการพัฒนาการแพทย์และการรักษาในประเทศไทยอย่างยั่งยืน"นพ.สุทธิพงศ์ กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด รังสีรักษา รังสีร่วมรักษา เคมีบำบัด ฮอร์โมน ยารักษา ตรงเป้า รวมถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก/สเต็มเซลล์ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด โดยโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยที่รักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเหล่านี้ ถ้าเป็นโรคระยะเริ่มต้น จะรักษาหายประมาณ 90%-95% โรคระยะที่ 1 ประมาณ 70%-90% โรคระยะที่2 ประมาณ 70%-80% โรคระยะที่ 3 ประมาณ20%-60% และโรคระยะที่ 4 ประมาณ 0%-15% ทั้งนี้ต้องรักษาด้วยหลายวิธีร่วมกัน ซึ่งการรักษาโดยเทคโนโลยีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในต่างประเทศ ในประเทศไทยเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาสูงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ โดยข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ศปสช.) พบว่า ระหว่างปี 2559-2561 มีการเบิกจ่ายค่าบริการรักษาโรคมะเร็งและมีการชดเชยค่ารักษามากกว่า 26,679 ล้านบาท

ด้าน นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า GC ได้จัดต้ังหน่วยงาน Corporate Venture Capital (CVC) ขึ้น เพื่อลงทุนใน 4 กลุ่มเทคโนโลยีหลัก คือ เทคโนโลยีวัสดุช้ันสูง (Advanced materials), ดิจิตอลแพลตฟอร์ม (Digital), เทคโนโลยีสะอาด (Cleantech) และ เทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาศาสตร์ (Life science) สำหรับความร่วมมือกับจุฬาฯคร้ังน้ี เป็นการศึกษาความเป็นได้ในการลงทุนพัฒนา นวัตกรรมทางการแพทย์ภายในประเทศ โดยเริ่มต้นศึกษาแนวทางและรูปแบบในการดำเนินการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยเทคโนโลยีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อนำเทคโนโลยีกลับมาใช้ตอบแทนและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยการศึกษานี้ จะเริ่มดำเนินการตลอดระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงธันวาคม ก่อนจะไปดำเนินการใน 2 ระยะหลัก คือ ระยะห้องปฏิบัติการและระยะทดสอบกับผู้ป่วย ซึ่งน่าจะใช้เวลา ประมาณ 2 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา อย่างไรก็ตาม ทางGC มีแผนการลงทุนเพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างท่ัวถึงและเท่าเทียม ด้วยค่ารักษาพยาบาลท่ีเหมาะสม และยังมีเป้าหมายในการผลักดันให้การรักษาน้ีอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ด้านสุขภาพของหลักประกันสุขภาพภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจในการรักษา โรคมะเร็งด้วยเทคโนโลยีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดในกลุ่มประเทศอาเซียน