3 เทรนด์ซ่อมร่างมนุษย์เงินเดือน รับปี 2018

3 เทรนด์ซ่อมร่างมนุษย์เงินเดือน รับปี 2018

นพ. สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย นำ 3 เทรนด์คืนสุขภาพดีสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่โหมงานหนักมักลืมดูแลสุขภาพจนเกิดอาการเจ็บป่วย มาฝากช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 

ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่  หลายคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าหนึ่งปีผ่านไปไวเหมือนโกหก แถมรู้สึกว่าตัวเองแก่ขึ้นอีกด้วย  มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายต่างต้องเผชิญความเครียดจากการทำงาน มลพิษจากการเดินทาง และอาหารที่ปนเปื้อน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวการทำให้ร่างกายทรุดโทรมตั้งแต่ระบบภายในจนส่งผลถึงภายนอก แล้วอะไรจะเป็นตัวช่วยป้องกันความเสื่อมและสร้างสุขภาพดีรับปีใหม่ได้บ้าง นพ. สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด  และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก และเวชศาสตร์ชะลอวัย มี 3 เทรนด์คืนสุขภาพดีสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาฝาก ดังนี้ 


1. เทรนด์ เลือกความสดใหม่ ไม่ปรุงแต่ง มีผลการสำรวจพบว่า 89% ของผู้บริโภค ต้องการซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ และ 84% ต้องการอาหารที่ไม่มีสารเคมี แสดงให้เห็นว่าเทรนด์ในการเลือกสินค้าและอาหารที่มีความสดใหม่และมาจากธรรมชาติกำลังเป็นที่จับตามอง โดยเฉพาะคนเมืองที่ทำงานจนดึกควรเลือกซื้ออาหารที่มีสารกาบา (GABA) เป็นสารช่วยสื่อประสาทสมองทำให้ความจำดีคิดอ่านได้ว่องไว มีมากในข้าวกล้องงอก มอลต์ ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง ถั่วดำ ลูกเดือย และธัญพืชอื่น ๆ

2. เทรนด์ เลือกสารต้านอนุมูลอิสระ  กินให้ตรงเวลาครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญอย่าลืมเด็ดขาด อีกทั้งต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระได้ดี เช่น อาหารที่ให้วิตามินบี ที่ช่วยกระตุ้นประสาทและสมองให้ตื่นตัวได้แม้ในยามอดนอน ลดอาการง่วงซึม ส่วนวิตามินเอและแคโรทีนอยด์มีมากในพืชผักที่มีสีเขียวเข้ม และผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม นอกจากนี้ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการสกัดเอ็นไซม์ “เอสโอดี” (SOD) จากพืชผักผลไม้   5 สี กว่า 120 ชนิด ที่ให้ประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะเป็นอีกตัวช่วยในการย้อนวัยเซลล์ คืนสุขภาพที่แข็งแรงให้คนวัยทำงาน 

3. เทรนด์ เลือกป้องกันโรคก่อนเกิดโรค  คนทำงานที่โหมงานหนักมักลืมดูแลสุขภาพจนเกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียเงินแล้วยังเสียเวลาในการรักษามากอีกด้วย เทรนด์ในการเลือกป้องกันโรคก่อนเกิดโรคจึงเป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ วิธีหนึ่งในการป้องกันโรคก่อนเกิดโรคคือ การออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ มีผลการศึกษาจาก medicine & science in sports & exercise พบว่าผู้หญิงที่มีเวลาออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ มีความเหนื่อยล้าน้อยกว่าและมีพลังงานเยอะกว่าคนที่ออกกำลังกายน้อย 

นพ. สิทธวีร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การขยันทำงานเป็นเรื่องดี แต่ไม่ควรทำงานหักโหมจนสุขภาพเสื่อมโทรม เพราะการสุขภาพที่ดีมีนั้นมีคุณค่ามหาศาล แค่เราอาจจะไม่รู้คุณค่าจนกว่าจะสูญเสีย