ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน พบ BA.4 มากถึง 54.3% จาก 100 ตัวอย่าง ส่วน BA.5.3.1 และ BA.2.75 ยังไม่พบ

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล (รพ.)รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ถึงผลการถอดรหัสพันธุกรรม สิ่งส่งตรวจจาก รพ. ต่างๆในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยระบุว่า 

ดำเนิน การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (Whole SARS-CoV-2 genome sequencing) และจีโนไทป์ (MassARRAY Genotyping) มาตลอด 2 ปี เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์ และการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 อันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินประสิทธิภาพรวมทั้งการปรับเปลี่ยน “ยาต้านไวรัส” และ “แอนติบอดีสังเคราะห์(monoclonal antibody)” เพื่อการรักษาอย่างจำเพาะ (precision medicine) ให้สอดคล้องกับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ผู้ป่วยกำลังติดเชื้อ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก คลิก 

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

จากการถอดรหัสพันธุกรรมสิ่งส่งตรวจจาก รพ. ต่างๆในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 100 ตัวอย่าง พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย

BA.1 ร้อยละ 2.2

BA.2* ร้อยละ 13

BA.4* ร้อยละ 54.3

BA.5* ร้อยละ 26.1

BA.2.12.1 ร้อยละ 4.3

ยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5.3.1 และ BA.2.75

โอไมครอน BA.4 และ BA.5 พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ในเดือนมกราคม 2565 จากนั้นได้มีแพร่ระบาดไปทั่วโลก

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน

สัดส่วนการแพร่ระบาดของ BA.4 และ BA.5 ในแต่ละประเทศแตกต่างกัน

  • ประเทศแอฟริกาใต้ พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1 (ภาพ1)
  • ประเทศโปรตุเกส พบ BA.5>BA.4 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1 (ภาพ2)
  • ประเทศสหราชอาณาจักร พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 2.3 ต่อ 1 (ภาพ3)
  • ประเทศสหรัฐอเมริกา พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 (ภาพ4)
  • ประเทศไทย พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4.4 ต่อ 1 (ภาพ5)

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน

จากภาพกราฟที่ 1-5 จะสังเกตได้ว่าแต่ละประเทศยอดกราฟหรือพีกของจำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4/BA.5 และ BA.2.12.1 (คำนวณจากการถอดรหัสพันธุกรรม) จะต่ำกว่าพีกผู้ติดเชื้อ BA.1/BA.2 ต่างจากประเทศไทย ที่จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4 ขณะนี้มีพีกสูงกว่า BA.1 และ BA.2 ที่ระบาดผ่านมาในอดีต

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน

BA.4 ที่ระบาดในประเทศไทยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 157% เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน (BA.5) (ภาพ8)

BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 7 ตำแหน่ง (ภาพ6)

BA.5 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.4 จำนวน 1 ตำแหน่ง (ภาพ6)

บริเวณหนาม BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 1 ตำแหน่ง (ภาพ7)

ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิของ BA.4 และ BA.5 จากทั่วโลกมากพอที่จะสรุปว่าโอไมครอนสองสายพันธุ์ย่อยมีความรุนแรงในการก่อโรค หรือมี “severity” (เข้ารักษาตัวใน รพ. หรือ เสียชีวิต) ต่างกันหรือไม่

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนในรอบ 1 เดือน