10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดตัว 10 ชุมชน โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน "ซ่อม-สร้าง-เสริม" ต่อยอด พัฒนา สร้างสรรค์ ร่วมสืบสานเอกลักษณ์พื้นถิ่น ภูมิปัญญา เพิ่มความแข็งแกร่ง ช่องทางการค้าขาย ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

วันนี้ (29 มิถุนายน 2565) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จัดงานแถลงข่าวประชาสัมพันธ์เปิดตัว 10 ชุมชน ที่ได้รับการคัดเลือกในโครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปี 4 เดินหน้าลงพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนสร้างสรรค์ทั่วประเทศ ต่อยอดขับเคลื่อนรวมถึงบริหารจัดการชุมชน ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการและโฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า
โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดความเข็มแข็งและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเศรษฐกิจของชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมอาชีพ ให้กับชุมชนสลากสรรค์สร้าง และขยายผลการสร้างรายได้ในระยะยาว

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

ผ่านแนวคิดในการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน และบริการชุมชนที่มีเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตที่เอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม สร้างรายได้ให้กับชุมชน และกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนให้มีความมั่นคงยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

 อีกทั้งยังก่อเกิดการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สมควรได้รับการอนุรักษ์และถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลัง เพื่อไม่ให้สูญหายไปกับวิถีสังคมในปัจจุบัน

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

 

 

  • ซ่อม -สร้าง- เสริม เพิ่มช่องทางการค้าสร้างชุมชนเข้มแข็ง

โดยสำนักงานฯ ได้ดำเนินโครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 4 แล้ว ตั้งแต่ปี 2562-2564 มีโครงการที่ได้รับการพัฒนาแล้วทั้งหมด 27 ชุมชน สำหรับปี 2565 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 10 ชุมชน ที่ผ่านมาได้ผลการตอบรับอย่างดี ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยว ช่องทางการจำหน่ายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้สร้างสรรค์วิธีการ และการดำเนินการ รวมถึงหาช่องทางการค้าให้กับชุมชนต่างๆ  เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการซ่อม – สร้าง – เสริม ชุมชนให้แข็งแกร่งพร้อมที่จะเข้าสู่ยุคต่อไปของความปกติใหม่  และเพื่อส่งเสริม สนับสนุนชุมชนให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้าไปช่วยในเรื่องของพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย และการทำแค็ตตาล็อกสินค้าสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชนออนไลน์ การประชาสัมพันธ์ผ่าน Youtuber เพื่อช่วยในการสร้างได้ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างเนื่องและยั่งยืน”รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าว

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า ขณะนี้มีการลงพื้นที่ไปแล้ว 10 ชุมชน ซึ่งหวังว่าชุมชนต่างๆ ได้มีการเติบโต และสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งสืบสานในเรื่องของเอกลักษณ์พื้นถิ่นของตนไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา พร้อมทั้งพัฒนาความสามารถในการค้าขายสินค้า และช่องทางการจัดจำหน่าย ให้เท่าทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมสังคม และเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไป

 

  • ของดี 10 ชุมชน แหล่งท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ทั้งนี้ สำหรับ 10 ชุมชนที่ได้มีการลงพื้นที่ ได้แก่ 

1.ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร

นางเลิ้งนับเป็นชุมชนเมืองเก่า อยู่ในเขตเมืองชั้นในย่านนางเลิ้ง มีการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงละครชาตรี ชุดโขนละคร ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนและตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทย มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี นับเป็นตลาดเก่าแก่ ซึ่งยังคงหลงเหลือกลิ่นอายให้ได้สัมผัสทั้งโรงหนังเก่า บ้านเรือน และที่สำคัญของอร่อยต่างๆ ให้เลือกทานมากมาย

2.ชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เป็นต้นแบบของภาคกลางแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยมอญ ซึ่งได้สืบทอดกันมายาวนาน ย้อนไปในอดีตเมื่อ พ.ศ. 2265 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยาได้มีการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตรงส่วนที่เป็นแหลมเรียกว่า คลองลัดเกาะเกร็ดน้อย เกาะกลางน้ำแห่งนี้มีจุดหมายให้ท่องเที่ยวด้วยกันหลายแห่ง เช่น วัดโบราณสมัยอยุธยา พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องปั้นทางศิลปะแขนงต่าง ๆ เป็นแหล่งเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนชาวมอญ

3.วิสาหกิจชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี 

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์ ให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้และสัมผัส กลิ่นอายท้องทุ่ง เรียนรู้ การทำนาแห้ว และสัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ของชาววังยาง อธิบายถึงบริบทความเป็นมาของชุมชน และ ความรู้เรื่องแห้ว/ แห้วอินทรีย์/ การทำเกษตรนาแห้ว กิจกรรมพานักท่องเที่ยวจะได้เยี่ยมชมดู โบราณสถานที่เป็นวัดสำคัญที่มีเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ชาวสุพรรณนับถือ และชมเจดีย์ แปดเหลี่ยม ศิลปะที่ยังคงความงามและสมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย สถานีต่อไปเราจะพาไปลุยกับบรรยากาศท้องทุ่งนา สัมผัสกลิ่นดิน กลิ่นท้องทุ่ง โดยการลงมือ ตั้งแต่การ เพาะพันแห้ว ดำนาแห้ว และการงมแห้ว

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

4.วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง สวนหลังบ้าน จังหวัดราชบุรี

เริ่มต้นจากนางสาวนงนุช เสลาหอม ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยขวาง ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ท่านต้องการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้มีแนวคิดริเริ่มให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องของการอุดรูรั่ว หรือลดรายจ่ายด้วยการปลูกผักกินเอง ในเริ่มแรกยังไม่สามารถดึงชาวบ้านให้หันมาสนใจได้มากนัก จึงเริ่มใช้ที่ดินว่างเปล่าของตนเองและขยายจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นที่ร่วมกิจกรรมของครอบครัว สำคัญก็คือกิจกรรมของเราจะไม่ทำลายธรรมชาติ จะเน้นวัสดุที่ย่อยสลายได้หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง เราปลูกฝังเด็กและเยาวชนผ่านกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ไม่อยากให้เด็กมีภาพจำที่ว่า เกษตรมีแต่ความลำบาก อยากให้เด็ก ๆ จดจำภาพความสนุกสนาน รอยยิ้มสียงหัวเราะ ความสนุกสนาน ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ จะเป็นความทรงจำที่ดีของเด็ก ๆ ซึ่งจะติดตามไปจนเติบใหญ่

5.ชุมชนบ้านแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม

วิถีชีวิตแบบชาวประมง เป็นแหล่งผลิตสินค้าประมง เช่น หอยแมลงภู่ มีประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย มีความรู้ในการแปรรูปอาหารทะเล เมื่อผนวกกับสภาพธรรมชาติป่าชายเลนตลอดเส้นทางเครือข่ายคลองทั้งหลายของแหลมใหญ่ ที่ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณและสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศเฉพาะตัวของปากอ่าวแม่กลองที่มีดอนหอยนานาชนิด ลักษณะสถาปัตยกรรมของเรือนพื้นถิ่นในชุมชนแหลมใหญ่นี้ ส่วนใหญ่ยังเป็นเรือนเครื่องผูก โครงสร้างไม้จริงผสมไม้ไผ่ ปลูกยกพื้นสูงจากระดับน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผนังและหลังคามุงด้วยใบจาก วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายในแถบนี้ ทุกบ้านจะมีท่าเทียบเรือและบันไดสูงชันสำหรับขึ้นลง

จากที่ชาวบ้านแถบนี้ดำรงชีวิตผูกพันอยู่กับระบบนิเวศน้ำกร่อย รูปลักษณ์ของอาคารพื้นถิ่นชนิดอื่นๆ  ที่ปรากฏจึงมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามแต่อาชีพของแต่ละบ้าน เช่นกะเต็งเตาเคี่ยวตาล กะเต็งเฝ้าหอย หรือเตาเผาถ่านไม้โกงกาง เป็นต้น

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

6.ชุมชนบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี

ชุมชนบางตะบูนออก มีลักษณะทางภูมิประเทศที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐาน และการพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยว เนื่องจากที่ตั้งเป็นที่ราบลุ่ม มีชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดโคลนเลนเกือบทั้งหมด ไม่มีหาดทราย ทำให้อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลย อาทิ โกงกาง แสม ตะบูน ตะบัน และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลต่างๆ อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ อาชีพประมงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

มีกิจกรรมมากมาย ดังนี้

  •  กิจกรรมการนั่งเรือชมฟาร์มหอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรม
  •  กิจกรรมการนั่งเรือออกทะเลเพื่อชมปลาวาฬบูรด้า ช่วงเดือน พฤศจิกายน - มกราคม
  •  กิจกรรมการตกปลาบนกระเตงไม้ของชาวบ้าน
  • กิจกรรมการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีจากเปลือกต้นโกงกาง

7.วิสาหกิจชุมชนวัลลภาฟาร์มสเตย์ จังหวัดลพบุรี

วิสาหกิจชุมชนวัลลภาฟาร์มสเตย์เป็นแหล่งกิจกรรมเรียนรู้และปฏิบัติจริงเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ผสานเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ผ่าน “โคก หนอง นาโมเดล” เป็นการให้ธรรมชาติจัดการตัวเองโดยที่มนุษย์เพียงแค่ส่วนส่งเสริมให้สำเร็จขึ้นอย่างเป็นระบบ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร "ทฤษฎีใหม่" (โคก หนอง นา) ทำที่พัก ในแบบ farm stay มอบประสบการณ์ใหม่ๆผ่านกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ เชื่อมโยงกับชุมชน

มีกิจกรรม ขี่ม้า ขี่ควาย ปั้นดินเหนียว ทำไข่เค็มดินสอพอง นั่งอีแต๋น ตักบาตรเช้า ท่องเที่ยวตามรอยหลวงปู่มั่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

8.ชุมชนบ้านทุ่งศรี จังหวัดแพร่

เป็นภูมิปัญญาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้านพืชสมุนไพรอายุรเวทล้านนาเพื่อชีวิตเป็นมิตรต่อปากและสิ่งแวดล้อมจากรุ่นสู่รุ่นคงเอกลักษณ์ในตำรับคัมภีร์ใบลานล้านนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน สร้างวงจรการผลิตแบบมีส่วนร่วมสร้างอาชีพกระจายได้ สู่ชุมชนในยุค covid-19 มีการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีกิจกรรมแนะนำ สปาไส้เดือน / บ้านขยะ 3R / บ้านเมล็ดพันธุ์ / บ้านสมุนไพรบำบัด เป็นต้น

9.ชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัติวิถี บ้านปลักแรด จังหวัดพิษณุโลก

 เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สิ่งศักดิ์สิทธิคู่บ้านคือ หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา วัดปลักแรดเป็นที่สักการะทั่วไป พุทธคุณดีทางแคล้วคลาด ของหายจะได้ชม ของรักตกตรมจะได้คืน ใครได้ครอบครองจะมีทรัพย์ตามเชื่อ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศาลเจ้าพ่อธรรมราชา ตั้งอยู่ริมคลองใจกลางหมู่บ้าน ผู้คนกล่าวขานทางด้านโรคภัย มีการไหว้เจ้าพ่อ ทุกเดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ อาหารที่นำมาเซ่นไหว้ คือ เหล้าขาว ไข่เจียว บุหรี่มวน ปลักแรดเคยมีสนามเพาะประมาณ 40 ไร่ไว้เป็นที่ฝึกซ้อม ส่องสุมกำลังและเสบียงอาหารเพื่อส่งไปสมทบในพระราชวังจันทร์ในเมืองพิษณุโลก

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

10.ชุมชนบ้านโนนดู่ จังหวัดศรีสะเกษ

เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเป็นชุมชนขนาดเล็ก  ประชากรในหมู่บ้านประมาณ 1,000 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรมเป็นหลัก และอาชีพเสริมหลังจากการทำนาคือ การทอผ้า

กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามฮีต 12 คอง 14 เช่น บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ / บุญข้าว /บุญเข้าพรรษา /บุญออกพรรษา มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น การปลูกข้าวนาปี การเก็บเกี่ยวข้าว การปลูกพืชผักตามฤดูการ และกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า