"ต้นกล้าไร้ถัง" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

"ต้นกล้าไร้ถัง" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

ซีพี ออลล์-เซเว่น จับมือ 10 พันธมิตร สร้างระบบนิเวศจัดการขยะที่ใหญ่ที่สุดในไทยต่อยอด “ภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถัง” พัฒนา 443 โรงเรียนทั่วประเทศ ดูแลสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

สถานการณ์ขยะมูลฝอยในปี 2564 เกิดขึ้น 24.98 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 1 โดยขยะมูลฝอยมีการคัดแยก ณ ต้นทาง และนำกลับไปใช้ประโยชน์ จำนวน 8.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 3 กำจัดอย่างถูกต้อง 9.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 6 และกำจัดไม่ถูกต้องประมาณ 6.69 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 15

แม้ปริมาณขยะในปีที่ผ่านมาจะลดน้อยลงด้วยการเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 แต่มาตรการต่างๆ ขณะเดียวกันก็ยังใช้บริการการสั่งอาหารผ่านระบบบริการส่งอาหาร (Food Delivery) ส่งผลให้ปริมาณพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single use plastic) เพิ่มขึ้น  เหมือนเช่นตอน Work From Home 

  • ทำความเข้าใจคัดแยก 4 ถังขยะ ก่อนทิ้งลงถัง

การแก้ปัญหา “ขยะ” ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับรุนแรงที่ต้องเร่งแก้ โดยต้องเริ่มด้วยการสร้างความตระหนักรู้ในการคัดแยกขยะ แบ่งออกเป็น 4 ถัง ได้แก่

1. ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ขยะเปียก (สีเขียว) หรือขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตว์ เศษใบไม้แห้ง  โดยประโยชน์จากการแยกขยะ คือ นำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใส่ต้นไม้ แปลงผักสวนครัวได้

\"ต้นกล้าไร้ถัง\" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: ‘ต้นกล้าไร้ถัง’ โมเดลจัดการขยะจากต้นทางถึง ‘Zero Waste’

                     : ส่องสถานการณ์ 'ขยะพลาสติก' ช่วงการระบาด 'โควิด-19'

 

2. ถังขยะสำหรับขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน) เป็นขยะที่มักจะย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยาก ต้องหาวิธีกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก  ภาชนะปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย 

3.ถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล (สีเหลือง) ขยะที่เราทิ้งไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้งได้ ไม่ใช่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก, ถุงพลาสติก, ขวดแก้ว, กระป๋อง, กล่องกระดาษ, กระดาษ 

4. ถังขยะสำหรับขยะอันตราย (สีแดง) ขยะที่มีสารปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ  เช่น ถ่านไฟฉาย, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ยาหมดอายุ, วัตถุไวไฟ, กระป๋องเสปรย์

 

  • ซีพี ออลล์-เซเว่น สร้างระบบนิเวศน์จัดการขยะ

วันนี้ ( 22 มิ.ย.2565) ซีพี ออลล์ และภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถังในโครงการ CONNEXT ED ประจำปี 2565 ร่วมลงนาม MOU กับ 10 พันธมิตร ในการจัดการขยะ พร้อมขับเคลื่อนชุมชนโรงเรียนต้นกล้าไร้ถังทั่วประเทศ           

โดยมี “สุวิทย์ กิ่งแก้ว” ที่ปรึกษาอาวุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การแก้ปัญหาขยะที่ผ่านมาจะเริ่มด้วยการคัดแยกขยะ แต่โครงการที่ผ่านมา ไม่ว่าจะตั้งถังให้คัดแยกขยะตามสถานที่ต่างๆ หรือให้มีการคัดแยกขยะในสถาบันอุดมศึกษา ล้วนล้มเหลวทั้งสิ้น  เพราะสุดท้ายทุกขยะก็กลายเป็นขยะปนเปือนทั้งหมด

จนกระทั่ง “ซีพี ออลล์” ร่วมในโครงการ CONNEXT ED ซึ่งเป็นการคัดแยกขยะที่เริ่มต้นจากเด็กๆ ในโรงเรียน ทำให้เห็นว่าการคัดแยกขยะในไทยสามารถทำได้ แต่หลังจากดำเนินการในโรงเรียนแล้วต้องขยายไปส่วนต่างๆ ร่วมด้วย

\"ต้นกล้าไร้ถัง\" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

สุวิทย์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ปัญหาขยะมีจำนวนมาก บริษัทซีพี ออลล์ ไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้มาตลอด โดยเฉพาะขยะพลาสติก เริ่มจากพนักงานของบริษัทลดการใช้ถุงพลาสติก และในร้านค้า 7-11 ทุกแห่ง ต้องไม่มีการแจกถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยบริษัท ได้มีการผลิตถุงพลาสติกที่มีความหนา 40 กว่าไมครอน ทำให้มีความทนทนได้นานนับปี

“หลักจากมีการรณรงค์ลดการใช้ถุงมาตลอดสามารถลดการใช้ถึงได้ 4,200 ล้านใบ และในร้านเซเว่น มีการลดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ว่าจะหลอดพลาสติก หรือช้อนส้อมพลาสติก รณรงค์ไม่ให้ใช้ รวมถึงออกแบบแก้วกาแฟ ให้สามารถยกดื่มได้โดยที่ไม่ต้องใช้หลอด ทำให้ขณะนี้ ซีพี ออลล์ ลดก๊าซคาร์บอน 356,108 ตันคาร์บอน และลดการใช้กระดาษในสำนักงานร่วมด้วย” สุวิทย์ กล่าว

 

  • ผนึก 10 องค์กร ภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถัง

นายประสิทธิ์ ฉกาจธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับอีก 10 องค์กร ประกอบด้วย 1.บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC 2.บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP 3.บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด (Unilever) 

4.บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค จำกัด 5.บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด 6.บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด 7.กลุ่มอำพลฟูดส์ (AMPOLFOOD Group) 8.บริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ จำกัด 9.บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด และ 10.วัดจากแดง ร่วมเป็นสมาชิกภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถัง ต่อยอดให้กลายเป็นภาคีด้านการจัดการขยะที่แข็งแกร่งที่สุดในไทย พร้อมทั้งสร้างระบบนิเวศการจัดการขยะครบวงจรตั้งแต่  ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ 

\"ต้นกล้าไร้ถัง\" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

  • "ต้นกล้าไร้ถัง" ลดปริมาณขยะจากเดือนละ 15ตันเหลือ 2 กก.

สำหรับภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถัง เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นขยายผลความสำเร็จโครงการต้นกล้าไร้ถังของโรงเรียนอนุบาล ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้โครงการ CONNEXT ED ที่ซีพี ออลล์ ดูแล ซึ่งสามารถช่วยกันปลูกฝังเยาวชนในโรงเรียนให้ช่วยกันลด ละ เลิกการใช้สิ่งที่สามารถกลายมาเป็นขยะ คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง นำสิ่งที่คนมองว่าเป็นขยะ มารียูส รีไซเคิล จัดการเป็นวัสดุอินทรีย์ สร้างรายได้กลับสู่โรงเรียน จนสามารถลดปริมาณขยะจากเดือนละ 15 ตัน        เหลือเพียงเดือนละ 2 กิโลกรัม

 ที่ผ่านมา ได้มีการขยายเครือข่าย ให้โรงเรียน CONNEXT ED นำไปปฏิบัติแล้วจำนวน 2 รุ่น หรือมากกว่า 153 โรงเรียน กำลังขยายสู่รุ่นที่ 3 ในปีนี้เพิ่มอีก 47 โรงเรียน รวมถึงมีโรงเรียนและชุมชนนอก CONNEXT ED อีก 243 แห่ง 

\"ต้นกล้าไร้ถัง\" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

ด้าน “ตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา” ประธานคณะทำงานโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED กล่าวว่า จุดเริ่มจากโครงการโรงเรียนต้นกล้าไร้ถัง  มาจากโรงเรียนอนุบาลทับสะแก ที่ได้ของบประมาณจากซีพี ออลล์ ในโครงการ CONNEXT ED เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งตอนแรกที่ทางโรงเรียนมาของบก็มีความกังวลว่าจะแก้ปัญหาขยะ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ได้หรือไม่ เพราะการจะของบประมาณในโครงการ CONNEXT ED  โรงเรียนสามารถทำโครงการอะไรก็ได้ แต่ต้องเลี้ยงตัวเองได้ ดูแลตัวเองได้ และมีงบในการพัฒนาโรงเรียนได้

  • แก้ปัญหาขยะ ต้องสร้างความตระหนักรู้ "ขยะไม่ใช่ขยะ"

เมื่อโรงเรียนอนุบาลทับสะแก ได้จัดทำโครงการโรงเรียนต้นกล้าไร้ถัง พบว่าสามารถลดปัญหาขยะในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี จึงได้มีการขยายเครือข่ายไปสู่โรงเรียนอื่นๆ และทำให้แต่ละโรงเรีนนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการขยายในวงกว้างทั้งระดับชุมชน และระดับประเทศ  ซึ่งปัญหาขยะเป็นปัญหาที่ทุกคนเล็งเห็นความสำคัญ ในทางการตลาดโครงการดังกล่าวสามารถเข้าถึงผู้คนได้มาก ทำให้มีสนับสนุนมากและเป็นโครงการที่ยั่งยืน

“การแก้ปัญหาขยะ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มด้วยการตระหนักรู้ถึงปัญหาว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตถ้าไม่จัดการ ตระหนักรู้ว่าใช้ประโยชน์ ได้ อย่ามองว่าเป็นเพียงขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ การสร้างตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นแก่เด็กในโรงเรียน จะได้ประชากรรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กระทบต่อตัวของเขา"ตรีเทพ กล่าว

ที่ผ่านมาเราไม่ได้ถูกปลูกฝัง  เรารู้แต่ทิ้งลงถัง แต่การทิ้งลงถังเป็นการภาระให้แก่หลุมฝังกลบ  เป็นการจัดการปลายทางและสุดท้ายยากเกินแก้ไขกลายเป็นปัญหากลับมาสู่ประชาชน วันนี้ยังไม่สายที่เราจะสร้าง ประชากรสะอาด โลกสีเขียวที่ต้องอาศัยครู อาศัยทุกโรงเรียนในการบรรจุหลักสูตรต้นกล้าไร้ถัง ที่จะไปช่วยจัดการขยะ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคต

\"ต้นกล้าไร้ถัง\" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

“สุนันท์ ประสบผล ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลทับสะแก โรงเรียนต้นแบบต้นกล้าไร้ถัง กล่าวว่าเราได้เข้าร่วมโครงการและได้รับคัดเลือกจากซีพีออลล์ ตั้งแต่โครงการโรงเรียนประชารัฐ และCONNEXT ED ซึ่งโรงเรียนอนุบาลทับสะแก ได้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมาตลอด แต่การจะให้โรงเรียนทำเพียงแห่งเดียวไม่ได้ ต้องร่วมกับหลายๆ โรงเรียนในการคัดแยกขยะ และไม่มีถังขยะในโรงเรียน

"ปัญหาขยะจัดการได้ หากให้ความรู้แก่เด็ก ว่าขยะไม่ใช่ขยะ แต่เป็นวัสดุที่เหลือใช้ ที่ทุกคนสามารถคัดแยกออกมาและนำไปประโยชน์ได้  ในอนาคตจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะให้โรงเรียนมาดูงาน หรือเป็นตัวอย่าง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำไปปรับใช้"สุนันท์ กล่าว 

  • "ถุงนมกู้โลก" เปลี่ยนขยะให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใช้งานได้ 

"ธนาชัย ปิยะศรีทอง" Circular Economy Manager บริษัท เอสซีจีเคมิคอล จำกัด เอสซีจี  กล่าวว่า เอสซีจี ให้ความสำคัญในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยนำเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ และปีที่แล้วมีการขยายผล ซึ่งเอสซีจี มีบทบาทในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ โดยมีโครงการโมเดลต้นแบบ การบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (โครงการถุงนมกู้โลก)  โดยในโครงการนมโรงเรียนนั้น แต่ละวันจะมีการใช้ถุงนมประมาณ 2.5 ล้านใบ ถ้าคิดเป็นต่อปี จะใช้ประมาณ หลายล้านใบ 

"ทางเอสซีจีได้ปลี่ยนถุงนมให้เป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพ นำไปใช้ผลิตเป็นของใช้ต่าง ๆ ได้อีกครั้ง เช่น เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิล กระถางต้นไม้  ซึ่งทำให้เด็กๆ ได้เห็นว่าการที่เขาตัดถุงนม ล้างถุงนม และเก็บถุงนม สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้แก่พวกเรา และโรงเรียนได้ เด็กได้เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม พร้อมขยายผลกับเครือข่ายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไปธนาชัย กล่าว

\"ต้นกล้าไร้ถัง\" ภาคีเครือข่ายระบบนิเวศจัดการขยะ สร้างเยาวชนกู้โลก

พระครู ทิพากร อริโย รองเจ้าอาวาสวัดจากแดง กล่าวเสริมว่า ทางวัดจะเข้ามาช่วยทำหน้าที่ในการรับแลก บริจาควัสดุย่อยสลายประเภทอาหารหมดอายุ เศษอาหาร และรวมถึงพลาสติกทุกชนิด เพื่อส่งต่อไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้าบริโภคและอุปโภคอื่นๆ

อาทิ ผลิตอาหารสัตว์เพื่อสงเคราะห์สุนัขและแมวจรจัด ผลิตใยผ้าจากขวดพลาสติกเพื่อนำมาทอและตัดเย็บเป็นผ้าสบงจีวร ผลิตและแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์จากน้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ รวมถึงผลิตเป็นแก๊สชีวภาพ หรือแก๊สหุงต้มไว้ใช้งานภายในโรงครัวของวัดเพื่อทำนุบำรุงพระสงฆ์ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา

สำหรับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี (CONNEXT ED) และเป็น 1 ใน 44 องค์กรเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญและตอบรับการมีส่วนร่วมทางการศึกษา โดยขับเคลื่อนโครงการตามปณิธานองค์กร “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน” วางเป้าดูแลโรงเรียนในโครงการ CONNEXT ED 5 เฟส จำนวนกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ

ร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้สามารถดำเนินโครงการด้านต่างๆ ทั้งโครงการที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โครงการพัฒนาคุณภาพคน โครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โครงการส่งเสริมอาชีพ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้นำรุ่นใหม่ หรือ School Partner ซึ่งเป็นอาสาสมัครจากในองค์กรร่วมลงพื้นที่และคอยให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนต่างๆ อย่างใกล้ชิด