เปลี่ยนจงจร "ถุงน้ำยาล้างไต" สู่ผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่ง

เปลี่ยนจงจร "ถุงน้ำยาล้างไต" สู่ผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่ง

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตกว่า 8 ล้านคน และในจำนวนนี้ 3 หมื่นคนต้องล้างไตผ่านช่องท้องที่บ้าน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยคุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงเกิดความร่วมมือในการเก็บ "ถุงน้ำยาล้างไต" สู่การอัพไซคลิ่งเป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่า ภายใต้โครงการ "สร้างโลกสีเขียว"

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา 12 องค์กรชั้นนำทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน นำโดย ไปรษณีย์ไทย, ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น, ดอยคำ, องค์การเภสัชกรรม, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, เต็ดตราแพ้ค, เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์, เบสท์โพลิเมอร์ และ แอดวานซ์แมท

 

ร่วมผนึกกำลังภาคีเครือข่ายในโครงการ “สร้างโลกสีเขียว” เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการบริหารจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมรณรงค์และร่วมผลักดันการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิล (Recycle) แบบอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าและอายุการใช้งานของทรัพยากรเดิมอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และช่วยสร้างคาร์บอนเครดิตให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

 

โดยทั้ง 12 ภาคี ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการสร้างโลกสีเขียว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา กำหนดระยะเวลาโครงการ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568

 

เปลี่ยนจงจร \"ถุงน้ำยาล้างไต\" สู่ผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่ง

อัพไซคลิ่ง ถุงน้ำยาล้างไต 

 

ทั้งนี้ "ถุงน้ำยาล้างไต" เป็นพลาสติกอีกหนึ่งประเภทที่อยู่ในความร่วมมือดังกล่าว จากเดิมที่ ไปรษณีย์ไทย ร่วมกับ สปสช. และ องค์การเภสัชกรรม ในการทำหน้าที่ขนส่งน้ำยาล้างไตให้กับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องล้างไตผ่านช่องท้องที่บ้าน ขณะเดียวกัน ขยะที่เกิดจากถุงน้ำยาล้างไตมหาศาล บางส่วนมีถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้น โครงการดังกล่าว จะเข้ามาช่วยให้การนำถุงน้ำยาล้างไต ถูกเก็บกลับมาแปรรูป เพิ่มมูลค่า ได้อย่างถูกต้อง

 

"ภญ.วีระมล มหาตมวดี" ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในประเทศไทยมี ผู้ป่วยโรคไต ราว 8 ล้านคน หากอาการน้อยจะใช้วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น ควบคุมอาหาร หากอาการเพิ่มมากขึ้นจะต้องมีการล้างไต โดย 2 วิธี คือ การล้างไตที่โรงพยาบาล และอีกวิธี ที่ก่อให้เกิดขยะเยอะมาก คือ การล้างไตทางช่องท้อง แต่ทำให้คุณภาชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นมาก เพราะต้องล้างทุกวัน สภาพร่างกายได้ถ่ายเทของเสียทุกวัน และถุงน้ำยาล้างไตเจาะที่หน้าท้องสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ 

 

เรื่องของ ถุงน้ำยาล้างไต ผู้ป่วยแต่ละคนต้องใช้ต่อเดือน 120 ถุง โดยมีผู้ป่วยทั้งหมด 30,000 คน รวมแล้วต่อปีราว 40 ล้านถุง เป็นขยะจำนวนมหาศาล ซึ่งมีการร่วมกันหาทางจัดการขยะเหล่านี้ จากเดิมสิ่งที่ทำ คือ ลักษณะทางรีไซเคิล โดยให้ความรู้กับผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยบางคนมีความสามารถล้าง เก็บกลับคืน หรือนำไปชั่งน้ำหนักขาย บดเป็นพลาสติกใหม่ แต่โครงการ "สร้างโลกสีเขียว" จะเป็นการนำมา อัพไซคลิ่ง ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่  

 

เปลี่ยนจงจร \"ถุงน้ำยาล้างไต\" สู่ผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่ง

แนวทางระดมถุงน้ำยาล้างไต 

 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรม มีความสัมพันธ์อันดับกับชมรม เพื่อนโรคไต ทำงานใกล้ชิดกัน ที่ผ่านมา มีการอบรมให้ผู้ป่วยรู้วิธีในการแกะ ล้าง เก็บ  และเรามีรายชื่อผู้ป่วยทั้งหมด สำหรับไปรษณีย์ไทย ซึ่งชำนาญในเรื่องของโลจิสติกส์ ซึ่งการระดมถุงน้ำยาล้างไตไม่ใช่เรื่องยาก 

 

วิธีเลือกสินค้าจาก ถุงน้ำยาล้างไต

 

ถุงน้ำยาล้างไต มี 2 ส่วน คือ ในส่วนที่สะอาด สามารถเอามาใช้งานได้เลย ซึ่งบนถุงจะมีตัวอักษรอยู่ หากผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปใช้ ขอให้มีความมั่นใจได้ เวลามองเห็นว่ามีตัวอักษรบนถุง หมายความว่าเป็นถุงสะอาดไม่มีเชื้อโรค ไม่มีการปนเปื้อน แต่หากไม่มีตัวอักษรเป็นส่วนที่เป็นขยะติดเชื้อต้องล้างและทำความสะอาดฆ่าเชื้อก่อน ดังนั้น หากประชาชนมีความกังวล เวลาเลือกซื้อต้องดูในจุดที่ว่า ต้องมีตัวอักษรอยู่บนถุง 

 

"หากมองว่าขยะมหาศาล สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และนำมาใช้ได้จริง มีความสวยงาม อาทิ พาเลทที่อัพไซคลิ่งจากถุงน้ำยาล้างไต จะได้ประโยชน์มาก และที่เห็นหลากหลาย คือ ออกแบบเป็นกระเป๋า เตียงสำหรับผู้ป่วยติดเตียง" 

 

ไปรษณีย์ไทย ส่งแล้ว เก็บกลับ

 

ด้าน "พีระ อุดมกิจสกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด เผยว่า สำหรับโครงการจัดส่ง น้ำยาล้างไต ให้ที่บ้านผู้ป่วย ร่วมกับ สปสช. และ องค์การเภสัชกรรม มีการจัดเก็บไว้ที่คลังคุมอุณหภูมิ ส่งให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะบนเขา หรือเกาะถึงบ้าน อย่างที่ทราบกันว่า ผู้ป่วยแต่ละคนจะต้องใช้ถึงน้ำยาล้างไตจำนวนมาก ราว 120 ถุงต่อเดือน โดยในโครงการ มีผู้ป่วยทั้งหมดกว่า 3 หมื่นราย คิดเป็นน้ำยาล้างไตกว่า 3 ล้านถุงต่อเดือน พลาสติกจากถุงน้ำยาล้างไตราว 1,000 ตันต่อเดือน มีการพูดคุยและมองว่า ถุงน้ำยาล้างไต เป็นพลาสติกเกรดเอ หากนำมาแปรรูปจะได้คุณภาพที่ดี มีการนำบางส่วนมาทดลอง และประสบความสำเร็จได้ดี

 

ไปรษณีทำเรื่องโลจิสติกส์ เรามียานพาหนะจำนวนมาก มีผลต่อสภาพแวดล้อม เราเป็นภาครัฐ ต้องรับผิดชอบสังคม จึงมีนโยบายการตรวจมลพิษทุกปี กับรถทุกคัน ซ่อมบำรุงให้มีอยู่ในสภาพดี โดยอนาคตหากมีการสร้างเครือข่ายรถที่มากขึ้น หากไม่ควบคุมจะยิ่งทำให้มีสภาพมลพิษที่มากขึ้น

 

"ทั้งนี้ ระยะยาว มองว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ไปรษณีย์มีเครือข่ายจำนวนมาก เข้าถึงประชาชนได้ทุกท้องถิ่น การที่เป็นตัวแทนในการขนสิ่งเหล่านี้ออกมา เรามีศักยภาพและมีความพร้อมมีทีมงาน และใจที่อยากจะทำ" พีระ กล่าว 

 

สำหรับ บริษัท เบสท์โพลิเมอร์ อันเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งให้การสนับสนุนด้านการทำวิจัย พัฒฯา และผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกานำกล่องยูเอชที และถุงน้ำยาล้างไตที่ผ่านการแกะ ล้าง เก็บ รวมถึงวัสดุเหลือใช้อื่นๆ ของภาคีกลับมาเป็นวัตถุดิบของกระบวนการรีไซเคิลและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อส่งต่อให้ภาคีเครือข่ายได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

แปรรูป ถุงน้ำยาล้างไต เป็นอะไรได้บ้าง

 

"ดร.ทวี อนันตรัตนา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบสท์โพลิเมอร์ อันเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  เผยว่า ถุงน้ำยาล้างไตสามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพาเลท กรวยจราจร รองเท้า สายยาง ผ้าปูยาง ผ้าใบ กระเบื้องยางปูพื้น ฯลฯ 

 

โดยขั้นตอนการรีไซเคิล แปรรูป ถุงน้ำยาล้างไต มีขั้นตอนที่มากขึ้นกว่าพลาสติกทั่วไป ต้องมีคัด แยก ล้าง ปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นตามต้องการ และแปรรรูปตามคุณสมบัติ ด้วยความที่เป็นสินค้าทางการแพทย์จึงมีหลายส่วน เช่น ตัวถุง สายยาง จุก โดยส่วนที่ทางไปรษณีย์เก็บกลับมา เพื่อแปรรูป จะเป็นในส่วนของถุงที่ใส่น้ำยาล้างไต ขณะที่ ส่วนที่ใส่ของเสีย คาดว่าจะเป็นการส่งเข้าสู่กระบวนการกำจัดเป็นขยะติดเชื้อ 

 

เปลี่ยนจงจร \"ถุงน้ำยาล้างไต\" สู่ผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่ง

 

"อัพไซคลิ่ง" เปลี่ยนวงจรพลาสติก

 

ดร.ทวี กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯ ได้มุ่งมั่นในการวิจัย พัฒนา รีไซเคิล แปรรูป ให้ อัพไซคลิ่ง ได้หลากหลาย สมัยก่อน เราเคยได้ยินคำว่า Reuse และ Recycle เอากลับไปใช้ใหม่ เช่น รีไซเคิลพลาสติก เป็นถุงขยะ ถุงที่ไม่ได้บรรจุอาหารโดยตรง แต่ในช่วงไม่กี่ปี จะมีคำว่า อัพไซคลิ่ง หรือ การที่เราเอาขยะพลาสติก หรืออะไรก็แล้วแต่เปลี่ยนวงจร เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นรูปแบบอื่น เช่น เฟอร์นิเจอร์ เพิ่มมูลค่า

 

"สมัยก่อนการรีไซเคิลพลาสติกยังไม่ค่อยยุ่งยากหรือซับซ้อน เพราะบรรจุภัณเป็นชั้นเดียว โมโนเลเยอร์ รีไซเคิลง่าย แต่ปัจจุบัน การดีไซน์รูปแบบบรรจุภัณฑ์ซับซ้อน มีวัสดุต่างกัน ต้องเอามาผสมผสาน เป็นบรรจุภัณที่บรรจุอาหารได้นานขึ้น ตามมาด้วยความยุ่งยากในการีไซเคิล หรือ อ้พไซคลิ่ง ดังนั้น จึงต้องทำวิจัย พัฒนา แข็งขันกับผลิตภัณใหม่ๆ ที่คิดค้นออกมาเสมอ"

 

ขยะพลาสติกกว่า 2 ล้านตันไม่กลับเข้าสู่ระบบ 

 

จากตัวเลขทางสถิติ ปีหนึ่งประเทศไทยมีขยะ ราว 29 ล้านตัน มีขยะที่เป็นออกานิค อินทรีย์ 60% ขยะรีไซเคิล 30% แต่ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นพลาสติก พอกลับไปดูวงจรของขยะพลาสติก เป็นขยะที่จัดการยาก รีไซเคิลยาก เป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม ปีหนึ่งไทยผลิตพลาสติก 8.5 ล้านตัน แบ่งเป็น พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งกว่า 2 ล้านตัน เข้าระบบรีไซเคิลไม่ถึง 20% มีขยะตกต้างราว 2 ล้านตัน ไม่กลับสู่ระบบ และในนั้นหลายหมื่นตันหลุดรอดแหล่งน้ำธรรมชาติ

 

"จากการที่ภาคีหลายองค์กร ได้ร่วมมือกันใน โครงการสร้างโลกสีเขียว สิ่งที่คาดหวัง คือ จะสามารถนำขยะที่ไม่กลับเข้าสู่ระบบราว 2 ล้านตัน เอากลับมามากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ อาจจะมีความร่วมมือในการช่วยกันเอาขยะ พวกนี้มาสู่การรีไซเคิลให้ถูกวิธีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้" ดร.ทวี กล่าวทิ้งท้าย