มบส.ถอดบทเรียนโครงการ​ U2T พอใจยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลชุมชนได้

มบส.ถอดบทเรียนโครงการ​ U2T พอใจยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลชุมชนได้

“อธิการบดีมบส.” นำทีมผู้บริหาร มบส.และคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัย​สู่​ตำบล ร่วมถอดบทเรียนโครงการ​ U2T​   พอใจผลงานยกระดับเศรษฐกิจ​และสังคมรายตำบลชุมชนได้  พร้อมรับการตรวจติดตามงานจาก อว.

ผศ.ดร.ลินดา​ เกณฑ์​มา​ อธิการบดี​มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​บ้าน​สมเด็จ​เจ้าพระยา​ (มบส.) กล่าวว่า เมื่อวันที่  22 เมษายน​ ที่ผ่านมา ​ ที่แขวงบางยี่เรือ​ เขตธนบุรี​ กรุงเทพ​มหานคร​ ตนได้นำทีมผู้บริหาร​ และคณะทำงานโครงการ​มหาวิทยาลัย​สู่​ตำบล​ สร้าง​รากแก้วให้ประเทศ​ (U2T)​ เข้า​ร่วมประชุม​เชิงปฏิบัติการ​ เรื่อง​ ถอดบทเรียนโครงการ​ U2T​

ต้อนรับ​ ดร.ดนุช​ ตันเทอดทิตย์​ ผู้​ช่วยรัฐมนตรี​ประจำ​กระทรวง​การอุดมศึกษา​ วิทยาศาสตร์​ วิจัย​ และนวัตกรรม​ (อว.)​ และคณะกรรมการ​อำนวยการถอดบทเรียนโครงการ​ U2T ซึ่งมีตัวแทนจากสำนัก​งานเขตธนบุรี​และผู้นำชุมชน​แขวงบางยี่เรือ​ เข้าร่วมการประชุม​ด้วย  

มบส.ถอดบทเรียนโครงการ​ U2T พอใจยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลชุมชนได้

ผศ.ดร.หนึ่ง​ฤทัย​ เอก​ธรรม​ทัศน์​ ผู้​ช่วย​อธิการบดี​ มบส. ในฐานะผู้​รับผิดชอบ​โครงการฯ  กล่าวว่า  การดำเนินการ​โครงการ​ U2T​ และแนวทางการบริหาร​จัดการ​โครงการ​ฯ​ ที่อยู่​ภายใต้​การดำเนินงานของมบส.​ จำนวน 40 ตำบล​ ใน​พื้นที่​ 3 จังหวัด​ ได้แก่​ กรุงเทพมหานคร​ สมุทรสาคร​ และสุพรรณบุรี  ถือว่าเป็นที่น่าพอใจมาก

เช่น   ผลการดำเนินการจ้างงานในโครงการ​กว่า​ 1,000 อัตรา​ การยกระดับเศรษฐกิจ​และสังคมรายตำบลโดยบูรณาการ​องค์ความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ​ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่​ ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่​ การนำองค์ความรู้ไปบริการชุมชน​ และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม​  

การพัฒนาทักษะผู้จ้างงานครอบคลุม 4 ทักษะประกอบด้วย ทักษะเทคโนโลยีดิจิตอล ทักษะด้านการเงิน​ ทักษะ​ภาษาอังกฤษ​และด้านทักษะสังคม นอกจากนี้​ยังมี​การจัดทำฐานข้อมูล​ชุมชน​ขนาดใหญ่​ (big​ data)​ เป็นข้อมูลและวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาชุมชนแบบมีเป้าหมายที่ชัดเจน

มบส.ถอดบทเรียนโครงการ​ U2T พอใจยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลชุมชนได้

“มหาวิทยาลัยดีใจมาก ที่ได้เห็นประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ​ U2T​ ทำให้ประชาชนได้รับการจ้างงาน  ทำให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่​  ได้พัฒนา​และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา​ของชุมชน​ตนเอง”ผศ.ดร.หนึ่ง​ฤทัย กล่าว

 

นอกจากนี้​ในพื้นที่​ยัง​ได้รับการยกระดับผลิตภัณฑ์​สินค้าชุมชน สร้างรายได้​ ลดรายจ่ายในครัวเรือน​ ได้​รับการส่งเสริมดูแลสุขภาพ​ในช่วงสถานการณ์​การแพร่ระบาด​ของ​โรค​โควิด​ 19 รวมถึงการส่งเสริม​สิ่งแวดล้อม​ในชุมชน​ให้ดีขึ้น

ด้าน​ ผศ.ดร.อมรรัตน์​ คำบุญ​ อาจารย์​ผู้​รับผิดชอบ​แขวงบางยี่เรือ​ เขตธนบุรี​ กรุงเทพ​มหานคร​ ภายใต้โมเดล​ 1​ Area 1 Lecturer (1​A1L)​ กล่าวว่า การดำเนินงานพื้นที่​แขวง​บางยี่เรือ​ จะมุ่งพัฒนา​เสริมสร้างอาชีพใหม่โดยใช้นวัตกรรม​เทคโนโลยี​ ยกระดับ​ผลิตภัณฑ์​สินค้า​ในชุมชน​ ส่งเสริม​การดูแลรักษาสุขภาพ​โดยการบูรณาการ​องค์ความรู้ด้วยศาสตร์การแพทย์​แผน​ไทย​ และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม​ในชุมชนแขวงบางยี่เรือ​   

มบส.ถอดบทเรียนโครงการ​ U2T พอใจยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลชุมชนได้

ทั้งนี้ คณะกรรมการ​ถอดบทเรียน​โครงการ​ U2T​ ยังได้เยี่ยมชมบูธผลงานที่เกิดจากการดำเนินงาน​ อาทิ​ ผลิตภัณฑ์​ขนมบดิน​ ยาสุมสมุนไพร​ ยาดมสมุนไพร​ผสมกัญชา​ โรงเพาะเห็ด​อัจฉริยะ​ สวนสมุนไพร​ชุมชน​ และผลิต​ภัณฑ์​อื่นๆจากชุมชนใกล้เคียง  

พร้อมทั้งคณะกรรมการ​ถอดบทเรียน​ฯ​ ผู้​บริหาร​มหาวิทยาลัย​ และผู้นำชุมชน​ยังได้มีการแลกเปลี่ยน​ความคิดเห็น​และสรุป​ผลลัพธ์​ที่เป็นประโยชน์​ต่อการดำเนินงาน เพื่อยกระดับ​เศรษฐกิจ​และสังคมในพื้นที่​แขวงบางยี่เรือ​ต่อไป