เรื่องเล่า 'เปลี่ยนเรา-เปลี่ยนโลก' แรงบันดาลใจจากชาว “กินดี กรีนดี”

เรื่องเล่า 'เปลี่ยนเรา-เปลี่ยนโลก' แรงบันดาลใจจากชาว “กินดี กรีนดี”

เมื่อคนกลุ่มหนึ่งเริ่มจากความเชื่อว่าทุกคนเปลี่ยนแปลงได้ "เปลี่ยนเรา-เปลี่ยนโลก" เมื่อเชื่อแล้วพวกเขาจึงลงมือทำให้สิ่งที่คิดเกิดขึ้น มาฟังแรงบันดาลใจ และแรงบันดาลทำจากกลุ่มบุคคลต้นแบบในวิถี "กินดี กรีนดี"

เสวนา Talk 2021: Can Change the World เรื่องเล่า "เปลี่ยนเรา-เปลี่ยนโลกจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 แล้ว โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเพจ Greenery เพื่อรับรู้ไอเดียดีๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นว่าเราทุกคนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้นได้

 Organic101 พลังคนกินถึงพลังคนผลิต

มหันตภัยที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคต่าง ๆ หรือภัยที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มีความสัมพันธ์กับการบริโภคของเรา

ธัชนนท์ จารุพัชนี ดีเจเฟี้ยต พิธีกร และผู้บริโภคอินทรีย์ที่หันมาปรับเปลี่ยนวิถีการกินและใส่ใจสุขภาพจนนำพาเข้าสู่คอมมูนิตี้อินทรีย์อย่างจริงจัง เพราะเชื่อว่าผู้บริโภคมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ได้บอกเล่าจากประสบการณ์ตัวเองที่มีสมาชิกในบ้านและคนรอบตัวป่วยเป็นโรคต่างๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมตนเอง หนึ่งในนั้นคือเรื่องอาหารการกิน

เราเริ่มคิดว่าจะแน่ใจได้ไงว่าทุกอย่างที่เรากินเข้าไปในวันนี้เป็นอาหารบำรุงร่างกายหรือยาพิษที่ฆ่าเรากันแน่ วันที่เราคุยกับหมอซึ่งรักษาคนในครอบครัวเรา เขาบอกว่าให้เราหยุดกินทุกอย่างที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ เราเริ่มไล่ไปถึงต้นทาง เราได้เห็นว่าวงจรอาหารตั้งแต่ผู้ผลิต พ่อค้าแม่ค้าต่าง ๆ เขาเองก็อาจไม่ได้คำนึงเรื่องนี้ เพราะเขาเองก็ตามใจคนกิน

ธัชนนท์เสริมว่านอกจากคนกินจะต้องเผชิญกับวิกฤตเรื่องความปลอดภัยทางอาหารจากสารเคมี กระบวนการผลิตต่างๆ ขณะเดียวกันการบริโภคยังมีส่วนในการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง สร้าง PM 2.5 หรือเกิด Climate Change ทำให้ทั่วโลกเริ่มเกิดกระแส Mindful Consumer หรือผู้บริโภคที่ใส่ใจ นั่นคือผู้บริโภคที่รู้ว่าตัวเองกินอะไร ปริมาณมากน้อยขนาดไหน ที่มาที่ไปอาหารเป็นอย่างไร และต้องกินอย่างไรถึงจะดีต่อตัวเอง และไม่สร้างผลกระทบต่อโลก

แต่รู้แล้วเราปลูกกินเองไม่ไหว ก็เลยต้องหาแหล่งที่จะพึ่งพาได้ นั่นคือ ตลาดอินทรีย์ที่จะทำให้ผู้บริโภคกลับไปเจอต้นทางจริงๆ นั่นคือเกษตรกร ไม่ใช่พ่อค้าแม่ค้า

ซึ่งนอกจากช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการได้บริโภคอาหารปลอดภัยแล้ว เขามองว่ายังเป็นการได้ช่วยด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น เพราะสามารถเชื่อมโยงผู้ผลิตกับผู้บริโภคโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง

161459067492

ข้ามมาฟังเสียงผู้บริโภคอีกกลุ่มที่สร้างแหล่งผลิตอาหารตนเองอย่าง​ “เครือข่ายสวนผักคนเมือง” วรางคนางค์ นิ้มหัตถา ให้คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นว่า

การสร้างแหล่งอาหารตนเอง ควรเริ่มจากการปลูกผัก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกคนเรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารมากมาย"

แต่ในการจะเริ่มในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เราต้องเริ่มจากต้องเชื่อว่า ความมั่นคงทางอาหารคือสิทธิพื้นที่ฐานที่ทุกคนควรมี ควรได้รับและทุกคนมีส่วนร่วมที่จะสร้างได้ ซึ่งหากทุกคนเชื่อแล้วเราสามารถเปลี่ยนเป็นลงมือทำได้ทันที

สวนผักคนเมือง ไม่เพียงจุดประกายให้คนเมืองเริ่มหันมาพึ่งตนเองในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร แต่ยังได้แบ่งปันให้กับกลุ่มคนที่เปราะบาง และเกิดการเชื่อมโยงกับเกษตรกรเมืองอื่น ๆ แม้จะเริ่มจากเรื่องผลิตอาหารปลอดภัย แต่สวนผักคนเมืองยังกลายเป็นเครื่องมือการมีส่วนร่วม ที่สร้างสังคมแบ่งปันที่เรียกว่า sharing economy ไปจนถึงกระบวนการ Land sharing ซึ่งช่วยลดช่องว่างการเหลื่อมล้ำจากการแบ่งปันที่ดิน

ถามว่าการทำเครือข่ายคนเมืองให้อะไร มันช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับผู้คน และผู้คนกับธรรมชาติ ความเชื่อมโยงระหว่างเมือง และชนบท” วรางคนางค์กล่าว

161459071677

ธาวิต ฉายแสงมงคล แห่งตลาดฟาร์มฝัน ปันสุข เป็นอีกหนึ่งผู้บริโภคที่ผันตัวมาเป็นผู้สร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัยในท้องถิ่นตนเอง ได้เล่าแรงบันดาลใจว่าห้าปีก่อนเขาเห็นคนที่บ้านเวลาซื้อผักมาจากตลาดจะใช้เวลาล้างนานมากเพื่อให้มั่นใจว่าปราศจากสารเคมีจริงๆ ทำให้หนุ่มเจ้าของธุรกิจร้านอะไหล่รถยนต์ที่ไม่เคยปลูกอะไรมาก่อนในชีวิตอย่าง ธาวิต เริ่มเกิดไอเดียอยากสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้บ้านเกิดตนเองโดยมีครูคนแรกคือกูเกิ้ล ซึ่งเขาใช้พื้นที่บนตึกอาคารเป็นพื้นที่ปลูกทดลอง แม้จะได้ผล แต่เขาเริ่มความรู้สึกอยากกินผักหลากหลายมากขึ้น เมื่อไม่สามารถปลูกเองได้หมด จึงเริ่มมองหาแหล่งผลิตที่สามารถมั่นใจได้ว่าปลอดภัย

เราจึงกลับมามองว่าจะหาทางเลือกแบบนี้ได้ที่ไหน ซึ่งพบทางเลือกที่ต้องการแต่อยู่ในกรุงเทพมหานครหมด ก็สงสัยว่านครสวรรค์เป็นเมืองเกษตรแท้ๆ ทำไมไม่สามารถหาผักปลอดภัยได้

การมาเดินตลาดสีเขียวในกรุงเทพฯ ทำให้เจอตลาดเกษตรอินทรีย์ที่แตกต่างจากตลาดอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่การขายผัก แต่ยังมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน จนเกิดความประทับใจ จึงเริ่มแผนลงมือปลุกปั้น มองหาเกษตรกร พันธมิตรที่มีแนวทางเดียวกัน

ผมไปเกือบทุกอำเภอในนครสวรรค์ ที่คิดว่ามีคนที่แนวทางเดียวกับเรา แล้วชักชวนเขามาอยากมีตลาดทางเลือกแบบนี้ เราอยากมีอาหารดีๆ และสังคมดีๆ ให้คนนครสวรรค์

ฟาร์มฝันปันสุข เริ่มขึ้นในพฤศจิกายน 2559 จากการเป็นตลาดเล็กๆ ที่ตั้งโต๊ะหน้าบ้านของธาวิต ขายสินค้าของเครือข่าย กลายเป็นที่มาของ “ร้านขายอะไหล่ข้างในมีผัก” จนให้เกิดแรงกระเพื่อม สร้างกระแสเกษตรอินทรีย์ในเมืองนครสวรรค์

ปีนี้เป็นปีที่ 5 ที่เราทำมา เรามีกิจกรรมต่อเนื่อง เราทำ Onground คือการจัดตลาดทุกสิ้นเดือน เพื่อให้พบปะพูดคุยกันได้ Online เป็นช่องทางสื่อสารรับหาของ มีกลุ่มไลน์ และ Ontour คือการพาผู้บริโภคไปเยี่ยมฟาร์มเครือข่าย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนในพื้นที่จริง

161459077166

อีกหนึ่งตัวแทนคนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวจากชุมชนแม่ทา อภิศักดิ์ กำเพ็ญ หลังมุ่งหน้ากลับบ้านเพื่อสานต่อวิถีเกษตรอินทรีย์ของครอบครัว สร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในชุมชน จัดส่งผักสดๆ ให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ในนามแม่ทาออร์แกนิก อภิศักดิ์นำประสบการณ์ที่ผ่านการอบรมด้าน Community Support Agriculture (CSA) จากสหรัฐอเมริกา มาใช้

ระบบ CSA ทำให้เรารู้ว่าเราจะกินอะไร (ผู้บริโภค) เราจะทำอะไร (ผู้ผลิต) ผู้บริโภคจะจ่ายเงินล่วงหน้าให้ผู้ผลิตสิ่งที่ตนเองอยากกิน

แม่ทาออร์แกนิกเป็นเครือข่ายที่รวมคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อโลก จึงร่วมมือผลิตและร่วมออกแบบการพัฒนาแปรรูปอาหาร สร้างตลาด และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าชุมชน ที่สำคัญยังมีความปลอดภัยและไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 120 ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นหลักแสนต่อปี ซึ่งเป็นผลตอบแทนจากการการผลิตเกิดที่ลงทุนทั้งใจทั้งแรง ความใส่ใจในการผลิตเกษตรอินทรีย์

การรวมตัวมันทำให้เราเห็นว่าการรวมพลังเป็นพลังมหาศาลในการพัฒนาต่อยอดเรื่องราวต่างๆ ได้

161459082133

ในวงจรอาหารเพื่อความยั่งยืน นอกจากจะมีฝ่ายคนกิน คนผลิต ยังมี “คนทำ” ที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ขุนกลาง ขุขันธิน เชฟคนดังจาก Gyudon House ผู้เชื่อว่า อาหารที่ดีต่อคนกินและดีต่อโลกนั้นมีอยู่จริง ตลอดสิบกว่าปีที่อยู่ในวงการอาหาร สิ่งที่ขุนกลางค้นพบคือ คนเราควรบริโภคอาหาร “ตามฤดูกาล” หรือ “วัตถุดิบท้องถิ่น” ตามธรรมชาติ และใช้วิธีการประกอบอาหารที่ประณีตใส่ใจในวิถีธรรมชาติ จะสร้างความยั่งยืนให้กับโลกและ Ecosystem โดยรวม

ผมไม่เชื่อเรื่อง One fit all แต่เชื่อในความหลากหลาย

เขาจึงให้ความสำคัญกับ Local Recipe ที่เป็นการถอดวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ที่สะท้อนผ่านความหลากหลายในอาหาร และความใส่ใจ ซึ่งสุดท้ายเป็นคำตอบที่ร้อยเรียงเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ผู้ผลิต สภาพแวดล้อม ชุมชนทั้งหมดไปจนถึงคนกิน ปัจจุบันที่ Gyudon House จึงคัดสรรวัตถุดิบท้องถิ่นที่ปลอดภัย เกื้อกูลผลผลิตจากเกษตรกร รังสรรค์จนเกิดเป็นรสชาติแห่งความสมดุล

ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมได้

หนึ่งแนวคิดที่สะท้อนว่าเราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดการใช้ทรัพยากรได้ ด้วยไอเดีย “บ้านต้นคิดทิพย์ธรรม” ของ ดร. เดชรัต สุขกำเนิด นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของแนวคิด ให้ข้อมูลว่าบ้านธรรมดาปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี 3 ตัน รวมมีรถส่วนตัวด้วยเป็น 9 ตันต่อปี และหากมีเครื่องปรับอากาศ 11 ตันต่อปี

ถามว่า สิบเอ็ดตันต่อปีเยอะไหม คือต้องใช้ป่าหรือปลูกป่าประมาณ 7.5 ไร่เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราปล่อย สำหรับบ้านขนาด 0.5 ไร่ ถ้าคิดทั้งประเทศ 11 ล้านครัวเรือนต้องใช้ป่า 97.5 ล้านไร่ ซึ่งเท่ากับ 95% ของป่าทั้งประเทศ แปลว่าเราต้องการประเทศไทยอีกหนึ่งประเทศถ้าเรายังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แบบนี้

ดร.เดชรัต จึงเริ่มคิดทดลองออกแบบบ้านประหยัดพลังงานแบบครบวงจรให้เป็นตัวอย่างการใช้พลังงานทางเลือกที่เข้าถึงง่ายและคุ้มทุน โดยบ้านสามารถรับลม และหลบแสงแดด เพื่อลดความร้อน จึงไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศมาตลอด 9 ปี ช่วยให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงสองตัน

แต่เนื่องจากสองปีที่แล้ว ประเทศไทยต้องเผชิญ PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถไม่ใช้เครื่องปรับอากาศได้ จึงเริ่มมองหาทางเลือกอื่น ซึ่งมาจบที่การติดตั้งพลังงาน “โซลาร์เซลล์” 

จากการทดสอบในหนึ่งปีเราประหยัดเงินได้กว่าสองหมื่นห้าพันบาท แต่ยังช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผมว่าถ้าครัวเรือนในไทยทำแบบผมได้ เชื่อว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะที่มี 10 เครื่อง จะหยุดการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 5 เครื่องและทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 4.5 ล้านตัน หรือลดการป่าเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ถึง  31 ล้านไร่ รวมถึงช่วยประเทศไทยประหยัดค่าไฟฟ้าได้สามหมื่นล้านบาท

161459101246

องค์กรสีเขียวสร้างสุข

 ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่บริโภคเยอะ กินเยอะ และผลิตขยะเยอะอลิสรา ศิวยาธร ผู้บริหารโรงแรมระดับ 5 ดาว Sivatel Bangkok Hotel กล่าวยอมรับ และเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ซีวาเทลลุกมาปฏิวัติจัดการองค์กรด้วยแนวคิดกระบวนการสีเขียว พร้อมๆ กับการรีแบรนด์ เธอตระหนักว่าภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้น หนึ่งในปัจจัยคือการใช้สารเคมีในการเกษตร

หากเราช่วยสนับสนุนการผลิตลดการใช้สารเคมี ก็มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน

ชีวาเทลที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ด้วยการสร้างองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม และวงจรแห่งการเกื้อกูลระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค อลิสราตั้งเป้าหมายสูงสุดคือการไม่มีขยะออกจากโรงแรมสักชิ้น  

ตอนแรกที่เราเข้ามามองว่าเป็นแค่ธุรกิจครอบครัว วันนี้มีความหมายมากกว่านั้นเพราะเราเชื่อมโยงเกษตรกร ให้มึความสุข พี่น้องเกษตรกรทุกคนยืนได้ด้วยตัวเอง แต่ทำให้เรามีผักดี ๆ อาหารดีๆ กิน

ภายใต้แนวคิด Sivatel Farmer Friends ที่เธอพยายามขับเคลื่อน 70% วัตถุดิบอาหารของซีวาเทลจึงเป็นออร์แกนิค

เราอยากให้อาหารออร์แกนิคเป็นคอมมอนที่ทุกคนเข้าถึงได้ เราจึงทำเมนูง่ายๆ ที่ทุกคนเข้าถึงได้นอกจากนี้ Sivatel ยังทำธนาคารขยะทองคำ ที่ช่วยแยกขยะ ลดการใช้แก้วหลอดพลาสติก ซึ่งความสำเร็จในปีล่าสุด คือสามารถลดปริมาณขยะเหลือเพียงสองหมื่นกว่ากิโลกรัม จากเดิมที่โรงแรมผลิตขยะถึงเดือนละ 8,800 กิโลกรัม หรือทะลุเกือบแสนกิโลกรัมต่อปี สี่ปีที่ผ่านมาไม่เพียงเราใช้ 70% เรามองว่า 43% ของรายจ่ายโรงแรมได้กลับคืนสู่ชุมชนและเกษตรกรเกษตรอินทรีย์เหล่านี้ เราอยากหทุกคนในโรงแรมส่งต่อความสุขไปยังคนอื่น ผ่านการลดขยะและอาหารออร์แกนิค

161459104769

 แฟชั่นเป็นเรื่องคนทุกคน

 รู้หรือไม่ว่า เราใช้เสื้อผ้าจริง ๆ แค่ 1 ใน 4 ในตู้เท่านั้น? เสียงอธิบายจาก กมลนาถ องค์วรรณดี ตัวแทนแฟชั่นดีไซเนอร์ที่ต้องการลุกขึ้นมาเปลี่ยนมุมมองแฟชั่นใหม่ให้ดีต่อโลก ในชื่อ Fashion Revolution

กมลนาถ หรือ อุ้ม เอ่ยว่าแฟชั่นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นโลก แต่ละปีมีการผลิตเสื้อผ้าขึ้นใหม่ปีละ 50 ล้านล้านชิ้นทั่วโลก และ 3 ใน 5 อยู่ในบ่อขยะ หรือถูกเผาซึ่งทำให้เกิดมลพิษ สำหรับเธอการอยู่ในแวดวงแฟชั่นทำให้เธอได้เริ่มเรียนรู้เบื้องหลังและกลไกการตลาดของโลกแฟชั่น ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ อยากสร้างแรงขับเคลื่อนแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน ซึ่งแนวทางง่ายๆ  ที่ทุกคนทำได้เริ่มจากการลดการซื้อก็จะทำให้เราช่วยลดทรัพยากรโลกนี้ได้ หรือเลือกคำนวนต้นทุนในใช้ต่อครั้งจะทำให้มีความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น

เสื้อผ้าแต่ละตัวถูกผลิตจากการใช้สารเคมีมากมายหรือผลิตจากพลาสติกเป็นส่วนประกอบ และเส้นใยไมโครพลาสติกเหล่านี้ถูกละลายไปอยู่ในน้ำหรือในทะเล ซึ่งกลับมาหาเราในรูปอาหารที่เราบริโภคอีกที” 

การบริโภคไม่ผิดอะไร แต่การบริโภคเกินจำเป็นอาจส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึง” กมลนาถกล่าว

 สิ่งแวดล้อมเรื่อง (เข้าใจ) ไม่ยาก

ส่วนอีกหนึ่งพลังคนรุ่นใหม่ที่ช่วยทำให้สังคมเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมและดูแลโลกมากขึ้น วิลาวัณย์ ปานยัง ผู้ก่อตั้ง EnvironMan เพจและกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอด สื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการดูแลโลกในแบบที่ทุกคนสามารถเข้าใจ และเข้าถึงได้

ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องเดียวกัน” วิลาวัณย์ ให้นิยาม เธอยังยกตัวอย่าง ประเทศสิงคโปร์ ประเทศที่พยายามส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้มากขึ้น จนมีมากกว่าหนึ่งล้านสามแสนต้นในปี 2017 และมีสวนสาธารณะมากกว่า 330 แห่ง ซึ่งทำให้สิงคโปร์มีจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องควบคู่กับสิ่งแวดล้อมดีๆ

เธอเผยว่าแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ไส่วนหนึ่งที่ได้พบกับเรื่องราวของเพื่อนชาวแอฟริกาในครั้งที่มีโอกาสไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำรุ่นใหม่ One Young World Summit 2019 ณ กรุงลอนดอน ที่เล่าว่าที่บ้านในแอฟริกานั้นไม่มีน้ำสะอาดและไม่มีน้ำใช้

เราเลยเกิดความคิด และสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้เริ่มนำเข้าสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่พบว่าคนไทยมีความเข้าใจเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมน้อยมากจึงเปิดเพจชื่อ Environman เพื่อเล่าเรื่อง"

เราสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อม การรับรู้ใหม่ๆ ก่อนจะขยายสู่กิจกรรมลงพื้นที่ ในงานอีเวนท์ อีกหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งวันนี้ยังมีเป้าหมายเรื่องพลังงานสะอาดอีกด้วย” วิลาวัณย์กล่าวทิ้งท้าย

  161459111179