GPSC เดินหน้าผสานความร่วมมือพันธมิตร สู่การเติบโตในฐานะบริษัทนวัตกรรมพลังงานระดับสากล เน้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และต่อยอดเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานเต็มรูปแบบ

GPSC เดินหน้าผสานความร่วมมือพันธมิตร สู่การเติบโตในฐานะบริษัทนวัตกรรมพลังงานระดับสากล เน้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และต่อยอดเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานเต็มรูปแบบ

จากแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการตื่นตัวและนำไปสู่การกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของทุกประเทศทั่วโลก ทั้งในส่วนของภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชน

ที่สหรัฐอเมริกา พลังงานหมุนเวียน ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวทางสำคัญหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายของโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนล่าสุด ที่ต้องการให้สหรัฐคงบทบาทความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาด ที่จะเข้ามาทดแทนพลังงานจากฟอสซิล

เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่กระทรวงพลังงานได้เดินหน้าผลักดันนโยบายการเปิดเสรีไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า และขีดความสามารถการแข่งขันให้กับประเทศ สู่การเป็นศูนย์กลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของอาเซียนในอนาคต

GPSC เดินหน้าผสานความร่วมมือพันธมิตร สู่การเติบโตในฐานะบริษัทนวัตกรรมพลังงานระดับสากล เน้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และต่อยอดเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานเต็มรูปแบบ

โดยมีนโยบายเปิดกว้างให้ภาคเอกชนสามารถเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น ทั้งในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือ Private PPA (Private Power Purchase Agreement ) รวมถึงการเพิ่มขึ้นของ Prosumer ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนให้ผู้บริโภค ได้กลายเป็นผู้ผลิตและขายไฟฟ้าเองได้

นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อทิศทาง “พลังงานสะอาดที่จะก้าวมามีบทบาทหลักในการสร้างความมั่นคงต่ออุตสาหกรรมพลังงานในอนาคต แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นโจทย์ใหญ่ที่กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า ต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อมองหาพลังงานทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์ด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนเชื้อเพลิงต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากนโยบายด้านพลังงานที่เปิดกว้างของภาครัฐ ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศจำเป็นต้องเตรียมแผนรองรับการแข่งขันในการขยายการลงทุนด้านนวัตกรรมที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างให้เกิดรายได้เพิ่มจากพัฒนาธุรกิจใหม่ในกลุ่ม New S-Curve

GPSC เดินหน้าผสานความร่วมมือพันธมิตร สู่การเติบโตในฐานะบริษัทนวัตกรรมพลังงานระดับสากล เน้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และต่อยอดเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานเต็มรูปแบบ

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ในฐานะแกนนำด้านนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. (The innovative power flagship of PTT Group) และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภค ได้มองเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางธุรกิจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการทำธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต จึงได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ 3 กลยุทธ์หลัก “3S” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กรในระยะยาว ดังนี้

S1: SYNERGY & INTEGRATION  GPSC เน้นการผนึกกำลังหรือ Synergy กับพันธมิตรเพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้เข้าซื้อกิจการ ของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ GPSC เติบโต และสามารถบริหารสินทรัพย์ทั้งหมดเชิงบูรณาการ ให้มีเอกภาพ คล่องตัว พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและแผนการขยายธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

โดยคาดว่ามูลค่า Synergy จากการควบรวมกิจการกับ GLOW ค่อย ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากกว่า 500 ล้านบาทในปีนี้ เป็น 1,600 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2567

S2: SELECTIVE GROWTH  GPSC ขยายธุรกิจและเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยเน้นเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากปัจจุบัน ที่มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 11% เป็น 30% ในปี 2568 เพื่อให้สอดรับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี สู่การพัฒนาโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

ล่าสุด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ GPSC ได้มีเปิดเผยถึงแผนการเติบโตในพลังงานหมุนเวียนร่วมกัน ผ่านบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ จำกัด (GRP) โดยจะร่วมกันขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ เน้นพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เป็นการตอกย้ำถึงการเป็น Power Flagship และ Synergy ร่วมกันในกลุ่ม ปตท. นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และโอกาสในการขยายโครงการใหม่ ๆ ในระดับสากลร่วมกัน

S3: S-CURVE  GPSC มีแผนขยายการลงทุนด้านนวัตกรรมรองรับการเปลี่ยนแปลงของการทำธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต เพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่เป็น New S-Curve และเป็นผู้นำด้าน Energy Solution Provider ของกลุ่ม ปตท. ผ่านการดำเนินการพัฒนาธุรกิจใหม่ 3 ส่วน คือ

1. Battery Business การลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ Semi Solid แห่งแรกของประเทศไทย เป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยในเฟสแรกจะมีกำลังการผลิตที่ 30 เมกะวัตต์-ชั่วโมง โดยขณะนี้ GPSC ได้มีการประสานงานกับหลายภาคส่วนในการทำตลาด ทั้งในส่วน Mobility และ Stationary ซึ่งจะรองรับการใช้งานรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV Bus) สถานีอัดประจุไฟฟ้า และการประยุกต์ใช้งานด้านอื่น ๆ เป็นต้น ก่อนที่จะพิจารณาขยายการลงทุนในเฟสต่อไป

2. Energy Storage & System Integration การพัฒนาธุรกิจเป็นผู้ให้บริการระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ Smart Energy Storage System: ESS ซึ่งใช้ในการควบคุมการจัดเก็บและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยในปัจจุบัน GPSC ได้ดำเนินการโครงการต่าง ๆ เช่น การร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC นำระบบ ESS ขนาด 1.5 เมกะวัตต์ชั่วโมง มาเพิ่มความมั่นคงและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าที่ป้อนให้แก่อาคารสำนักงานและศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีของ GC จังหวัดระยอง โครงการนำร่องเมืองอัจฉริยะ ให้กับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย new S-curve  โครงการติดตั้งโซลาร์บนหลังคา โซลาร์ลอยน้ำ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ผสานนวัตกรรมพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ทั้ง BESS, Blockchain และ AI เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า รวม 6 เมกะวัตต์ โครงการนำร่องร่วมกับกลุ่ม ปตท. ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล (Floating Solar) ขนาด 100 กิโลวัตต์ ในพื้นที่บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT Tank) ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เป็นต้น

3. Smart Energy Management การศึกษา วิเคราะห์ คัดเลือกเทคโนโลยีในการบริหารจัดการพลังงานที่เหมาะสมกับตลาด New Energy เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ

GPSC เดินหน้าผสานความร่วมมือพันธมิตร สู่การเติบโตในฐานะบริษัทนวัตกรรมพลังงานระดับสากล เน้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และต่อยอดเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานเต็มรูปแบบ

หากพิจารณาจากทั้ง 3 กลยุทธ์หลักที่ GPSC ได้วางแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการทำธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต จะเห็นว่ามีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีสู่การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนชนิดต่าง ๆ อย่างครอบคลุมในทุกมิติ

โดยเมื่อวันที่ 21 .. 63 ทาง ปตท. ได้ประกาศเรื่องปรับพอร์ตการลงทุนด้วยการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน GPSC เพิ่มอีก 8.91% ส่งผลให้ ปตท. มีสัดส่วนถือหุ้นรวมเป็น 31.72% จากเดิมที่ถือ 22.81% ตอกย้ำความเป็นบริษัทแกนนำด้านนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. โดยได้ตั้งเป้าหมายในการรีแบรนด์ GPSC สู่การเป็นบริษัทนวัตกรรมพลังงาน เพื่อรองรับการเติบโตและการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นตามแผน New S-Curve ต่อไป

GPSC เดินหน้าผสานความร่วมมือพันธมิตร สู่การเติบโตในฐานะบริษัทนวัตกรรมพลังงานระดับสากล เน้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และต่อยอดเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานเต็มรูปแบบ

การ Synergy ระหว่าง GPSC และ ปตท. ที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ GPSC เป็น Power Flagship ของกลุ่ม ปตท. แล้ว ยังช่วยผลักดันให้  ปตท. บรรลุเป้าหมายการขยายพลังงานหมุนเวียน 8,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 ซึ่งประโยชน์ที่ได้ ไม่ใช่แค่การผนึกกำลังต่อยอด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง โอกาสของประเทศไทย ในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าครั้งใหม่ที่เต็มประสิทธิภาพและครบวงจรมากขึ้น