ย่อคำพิพากษาคดี แอชตัน อโศก | สกล หาญสุทธิวารินทร์

ย่อคำพิพากษาคดี แอชตัน อโศก | สกล หาญสุทธิวารินทร์

ย่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.ส.188/2566  (176หน้า)  คดีคอนโดหรู “แอชตัน อโศก” ของอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ที่เป็นคดีความยืดยาวมานานมาถึง 7 ปี ล่าสุดคดีจบแล้ว!เมื่อศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างทั้งหมด สร้างความสั่นสะเทือนวงการอสังหาฯ

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.ส.188/2566  (176หน้า) 
            ผู้ฟ้องคดี  สมาคมต่อต้านสภาะโลกร้อน ที่1     
                             ผู้ฟ้องคดีที่2ถึง16เป็นผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณซอยสุขุมวิท19(ซอยวัฒนา) แยก2  ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการแอชตัน อโศก จึงมีหนังสือถึงผู้ฟ้องคดีที่1 ให้ช่วยเหลือในการฟ้องร้อง
            ผู้ถูกฟ้องคดี  ผู้อำนวยการเขตวัฒนา ที่1
                                 ผู้อำนวยการสำนักการโยธาที่2
                                 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่3
                                ผู้อำนวยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ม.)ที่ 4
                                 คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชนที่ 5
                                 บริษัท  อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัดหรือบริษัท อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด  ผู้ร้องสอด ตามที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกเข้ามาในคดี

 ข้อเท็จจริงโดยสรุป   ที่ดินที่ตั้งโครงการ 2แปลงเป็นที่ดินว่างเปล่า ตั้งอยู่ท้ายซอยสุขุมวิท19แยก2 มีทางสาธารณะประโยชน์คั่นกลาง ต่อมาผู้ร้องสอดได้ซื้อที่ดินที่ว่างเปล่าทั้งสองแปลงรวมทั้งที่ดินติดกันอีกหนึ่งแปลงใช้ก่อสร้างโครงการแอชตันอโศก ความสูง 50 ชั้นเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ

โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ถูกฟ้องคดีที่3 ได้ออกใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างฯ อนุญาตให้ผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องที่5 ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระหว่างก่อสร้างมีการทำรั้วปิดกั้นที่ดินทั้งสามแปลง ผู้อยู่อาศัยเดิมไม่สามารถเข้าออกซอย19 แยก 2 ดังเดิมได้

                        ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกเห็นว่าที่ดินที่ตั้งโครงการไม่สามารถก่อสร้างอาคารสูงเกิน23 เมตรได้และเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่4อนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ที่ดิน ร.ฟ.ม.เป็นทางเข้าออกโครงการเป็นการไม่ชอบ

ย่อคำพิพากษาคดี แอชตัน อโศก | สกล หาญสุทธิวารินทร์

 คำขอท้ายฟ้อง  1ขอให้ศาลเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศก
                                               2 เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่5 ที่ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
                                            3  ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่3 นำทางสาธารณะที่คั่นระหว่างที่ดินที่ว่างเปล่ากลับมาเป็นทางสาธารณะประโยชน์ดังเดิม
                                             4 เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่4 อนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ที่ดินของร.ฟ.ม.ที่ได้มาจากการเวนคืนเป็นทางเข้าออกของโครงการแอชตันอโศก
                                           5 มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใดฯเกี่ยวกับการออกประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่4กำหนดประเภทของการอนุญาตให้ใช้ที่ดินของร.ฟ.ม. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                      ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกยื่นคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการอย่างใดฯ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา แต่ศาลปกครองชั้นต้น ยกคำขอ   

                     การพิจารณาพิพากษา 
                   ศาลปกครองชั้นต้นกำหนดประเด็นที่ต้องวินิจฉัย5 ประเด็นคือ
                      หนึ่ง โครงการแอชตัน อโศก รุกล้ำทางสาธารณะหรือไม่  ศาลวินิจฉัยว่า ถนนคั่นกลางที่สองแปลงที่ใช้สร้างโครงการไม่ใช่ทางสาธารณะประโยชน์ 
                    การอนุญาตให้ก่อสร้างโครงการชอบด้วยกฎหมายหรือ  ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินที่เป็นที่ตั้งอาคาร ไม่มีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า12เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า18เมตร การอนุญาตให้ผู้ร้องสอดสร้างโครงการแอชตัน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งก่อสร้างฯมีผลตั้งแต่วันออกหนังสือ
                 สอง  การให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่า การอนุญาตให้ก่อสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีประโยชน์ต้องวินิจฉัยประเด็นนี้   
                สาม เมื่อวินิจฉัยแล้วว่า ถนนคั่นกลางไม่ใช่ทางสาธารณะประโยชน์  ผู้ถูกฟ้องที่1และที่3 จึงมิได้ละเลยหน้าที่  
                 สี่  และห้า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเดือดร้อนการออกประกาศการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินและการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ที่ดินของผู้ถูกฟ้องคดีที่4  จึงไม่มีสิทธิฟ้องในสองประเด็นนี้  

ย่อคำพิพากษาคดี แอชตัน อโศก | สกล หาญสุทธิวารินทร์

       คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น     
                ผู้ฟ้องคดีที่1 ถึงผู้ฟ้องคดีที่9 ผู้ฟ้องคดีที่15และ16   อุทธรณ์ว่า เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินที่เป็นถนนคั่นกลางระหว่างที่ดินทั้งสองเป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน      และอุทธรณ์ การณีที่ ร.ฟ.ม. อนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ที่ดินของ ร.ฟ.ม.เป็นทางเข้าออกของโครงการ 1 ช่องทางกว้าง 13  เมตร

เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผิดวัตถุประสงค์ของการเวนคืนที่ดิน ประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ฟ้องคดี เป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการอนุญาตได้  ขอให้ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในสามประเด็นดังกล่าว

          ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ถึงที่3 อุทธรณ์ว่าได้ปฏิบัติถูกต้อง และโต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกฟ้องคดีเมื่อพ้นระยะเวลาการฟ้องคดีแล้ว     ขอให้ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นพิพากษาให้ใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างฯรวมสี่ฉบับที่ออกให้ผู้ร้องสอดชอบด้วยกฎหมาย

          ผู้ร้องสอดอุทธรณ์ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และโต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาฟ้องคดี แล้ว ขอให้ยกฟ้อง ทั้งนี้ผู้ร้องสอดยกเป็นประเด็นโต้แย้งด้วยว่า มีโครงการอื่นอีกหลายโครงการขอใช้ที่ดินของบุคคลอื่นเป็นทางเข้าออก ลักษณะเช่นเดียวกับผู้ร้องสอด

หากศาลพิพากษาว่าเป็นการไม่ชอบ ทุกโครงการจะได้รับผลกระทบต้องรื้อทั้งหมด จะเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง

ย่อคำพิพากษาคดี แอชตัน อโศก | สกล หาญสุทธิวารินทร์

          ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้ววินิจฉัยสรุปได้ว่า 
                - ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศฯ และการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ที่ดินของร.ฟ.ม. ไม่มีสิทธิฟ้องประเด็นนี้                 
               -  การฟ้องคดีนี้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ฟ้องเมื่อใดก็ได้    

                  ประเด็นที่ดินที่ตั้งโครงการที่เป็นของผู้ร้องสอดไม่มีด้านหนึ่งด้านใดกว้างไม่น้อยกว่า12เมตรติดถนนสาธารณะมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร  จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ในโครงการแอชตัน อโศกของผู้ร้องสอดได้  

แต่เมื่อผู้ร้องสอดได้ใช้ที่ดินของร.ฟ.ม.ขนาดกว้าง13เมตร ไปใช้ประกอบในการแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ก็ไม่ใช่ที่ดินของผู้ร้องสอด  แต่เป็นที่ดินของร.ฟ.ม.ที่ได้จากการเวนคืนเพื่อสร้างรถไฟฟ้า เป็นการผิดวัตถุประสงค์มิอาจกระทำได้ และมีข้อสงวนสิทธิในการใช้อีกด้วย  

ทำให้มีความไม่แน่นอนว่าโครงการจะสามารถใช้ที่ดิน ของร.ฟ.ม.กว้าง 13 เมตรเป็นทางออกสู่ถนนอโศกมนตรี ได้ตลอดไปหรือไม่ วินิจฉัยว่าการออกใบรับแจ้งการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีความเห็นแย้งของตุลาการเสียงข้างน้อยให้ยกฟ้อง

                สำหรับประเด็นก่อสร้างทับทางสาธารณประโยชน์หรือไม่นั้นนั้น ศาลเห็นว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทางสาธารณะ 
                ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น.