ดีไซเนอร์ไทยปั้นแบรนด์แฟชั่นดังไกลระดับโลก

ดีไซเนอร์ไทยปั้นแบรนด์แฟชั่นดังไกลระดับโลก

คุณแจ๊ค วรวรรธน์ วราสถิรวัฒน์ ดีไซเนอร์ชาวชัยภูมิที่มีชื่อเสียงระดับโลก ผู้ก่อตั้งแบรนด์ VORAVAJ Bangkok

 

คุณแจ๊ค วรวรรธน์ วราสถิรวัฒน์ ดีไซเนอร์ชาวชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เกิดในครอบครัวที่มีมารดาทำอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ด้วยความหลงใหลในแฟชั่น ประกอบกับความมุ่งมั่นอันแรงกล้า เขาใช้เวลากว่า 7 ปี ในการเรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการตัดเย็บชั้นสูง ด้วยตนเองจนเกิดการตกผลึก และในที่สุด ก็ได้ก่อตั้งแบรนด์ VORAVAJ Bangkok และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2555 

คุณแจ๊ค มีโอกาสได้ไปร่วมแสดงผลงานในหลายประเทศ หลายทวีป  และมีไลน์ผลิตภัณฑ์เพิ่มอีก 2 ไลน์ ในเวลาต่อมาคือ Urban Chic Series และแบรนด์ POUKA ที่เกิดจากความร่วมมือของ Thailand Research Fund , Perfect Link Consulting Group คุณแจ๊ค ได้นำเอาความภาคภูมิใจของชาวบุรีรัมย์อย่างผ้าภูอัคนี  ไปแสดงที่ประเทศอินโดนีเซียในรูปแบบที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีเยี่ยม

ในช่วงปี 2561 ยังมีโอกาสได้นำเอาความภาคภูมิใจของชาวบุรีรัมย์ อย่างผ้าซิ่นตีนแดง ไปแสดงอีกครั้งที่ประเทศฟิลิปปินส์ ตัดเย็บในรูปแบบที่ทันสมัย จนได้รับการยกย่องจากแมกกาซีน Preview Philippines ให้เป็นหนึ่งใน Best Look of Global Fashion Runway ที่งาน Philippine Fashion Gala 2018 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และปัจจุบันนั้น คุณแจ๊ค ได้รับการแต่งตั้ง โดย อพท. ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบอีกด้วย 

ล่าสุดยังมีผลงาน POUKA Spring Summer 2021 & VORAVAJ Bangkok Couture Collection  โดยได้รับการสนับสนุนจากท่าน Count Gerald van der Straten Ponthoz ประธานมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามนุกูลกิจ ให้ได้มีส่วนร่วมในงาน Simply Exceptional โดยส่วนของผมจะเป็นการลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ด้านการออกแบบแฟชั่นและร่วมกันลงมือกับน้องๆ ชาวเขาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา ซึ่งในครั้งนี้ผมได้สานต่อความตั้งใจเดิมด้วยการลงไปให้ความรู้แก่น้องๆ ชาวเขาและร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานอีกครั้ง และก็ได้รับการสนับสนุนจากท่านอีกครั้งเช่นกันในนามของมูลนิธิ และยังมีสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่สนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และก็ได้รับการพิจารณาในที่สุด ผมจึงเริ่มดาเนินการโครงการครั้งนี้ทันที และนอกจากนี้ผมยังได้รับการสนับสนุนจากท่าน ผอ.วิมล ชอบสุข ในการลงพื้นที่ที่จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อพัฒนาเรื่องการย้อมสีธรรมชาติอีกด้วย

การนำเสนอผลงานผมได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานให้มีทัศนคติที่สอดคล้องก็กับเรื่องเล่าของผม Character ของนางแบบทุกคนจะมีความเข้มแข็ง แสดงถึงความเป็นนักสู้ในสายเลือด โดยมีการคิดวิเคราะห์ร่วมกันทั้งหมดตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ซึ่งสามารถหาได้ในท้องถิ่น หรือแม้แต่นำสิ่งที่ทุกคนไม่เคยคาดคิดว่าจะนำมาใช้ได้ ก็ได้นำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า บางอย่างก็ได้ใช้ความรู้เรื่อง Circular Economy มาใช้ร่วมด้วย และนั่นคือทางออกของการถูกโจมตีในส่วนของ Climate Change และในเรื่องของการเลือกใช้เพลงประกอบ ทุกอย่างถูกคิดวิเคราะห์มาก่อนหน้าอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว

ในผลงานช่วงแรก นอกจากวัสดุพื้นถิ่น มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนแล้ว ผมยังได้มีการนำวัสดุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศอินโดนีเซียเข้ามาทางานร่วมด้วย ซึ่งวิธีนี้ผมเชื่อว่าคือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และที่สำคัญไปกว่านั้น นี่คือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเพื่อยกระดับมรดกทางวัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศไปพร้อมๆ กัน

ในช่วงที่ 2 ผมเลือกที่จะนำเสนอเรื่องราวของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในอีกด้านหนึ่ง คือเมื่อทุกคนเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ทาให้ธรรมชาติได้มีโอกาสฟื้นฟูกลับมาสวยงามอีกครั้ง รูปลักษณ์ของผลงานในช่วงที่ 2 จึงออกมาในรูปแบบของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ พืชพันธุ์ สัตว์ต่างๆ เพื่อสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงภาวะที่เกิดการแพร่ระบาด แต่ยังคงแฝงทัศนคติแห่งความเข้มแข็งในการนำเสนอ รวมถึงการเลือกใช้เพลงที่สื่อถึงความเป็นจริงที่ว่า หากวันหนึ่งฉันเปลี่ยนไป คุณยังจะรู้สึกกับฉันเหมือนเดิมอยู่ไหม เสมือนดอกไม้ที่สวยงามในวันนี้ วันหนึ่งที่ต้องเหี่ยวเฉาโรยรา คุณยังจะชื่นชมฉันอยู่เหมือนเดิมไหม

ผมปรับเปลี่ยนวิธีการเลือกใช้วัสดุจากเดิมทีเลือกใช้ผ้าสีพื้น ผมปรับเป็นผ้าที่มีลวดลายอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชุมชน ด้วยเหตุผลที่ว่า การรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์และเลือกใช้ผ้าสีพื้นอาจไม่ได้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพิเศษของตัววัสดุเท่าที่ควร ผมคิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้สอดคล้องกับ Character ของผ้าในแต่ละลวดลาย โดยใช้หลักการในการแยกวัสดุออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ต้องการผลักดันให้เป็น Iconic คือผ้าไทยทอลาย และส่วนที่เป็นตัว Support ซึ่งอาจจะเป็นผ้าไทยหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด เพื่อเป็นการแฝงนัยสำคัญที่ว่า ผ้าไทยสามารถทางานร่วมกับวัสดุอะไรก็ได้ที่มีอยู่ในท้องตลาด เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และการยอมรับในระดับสากล

สุดท้ายนี้ผมก็ได้แต่คาดหวังว่าผลงานที่ผมได้สร้างสรรค์ขึ้นมาในครั้งนี้ จะสามารถนาไปสู่การสร้างการรับรู้ใหม่ในระดับสากลในวงที่กว้างขึ้น อีกทั้งการนำเสนอคุณค่านี้จะเป็นการสร้างตำแหน่งใหม่ของ Supply Chain สำหรับสินค้าจากผ้าไทย และนำไปสู่การสร้างตำแหน่งใหม่ของสินค้าจากมรดกภูมิปัญญาไทยในตลาดสากลต่อไปได้