นิทรรศการภาพถ่าย “ทอม (toms)” ก็แค่คนธรรมดา

นิทรรศการภาพถ่าย “ทอม (toms)” ก็แค่คนธรรมดา

นิทรรศการภาพถ่าย “ทอม (toms)” ก็แค่คนธรรมดา ทอมบอยในกรุงเทพฯ กับการตามหาความเข้าใจที่ลึกขึ้น

ทอมบอย หรือที่เราเรียกกันว่า “ทอม” ได้แสดงตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาในนิทรรศการภาพถ่ายที่กรุงเทพฯ และน่าจะเป็นการจัดแสดงภาพถ่ายครั้งแรกในประเทศไทยที่เน้นไปที่การระบุตัวตนของทอม

นิทรรศการนี้ใช้ชื่อว่า Tomboy Bangkok จะจัดแสดงที่แกลเลอรี่ของร้าน ไวท์ไลน์ (Whiteline) สีลมซอย 8 เป็นการบ่งบอกรูปลักษณ์และภาพตัวตนของทอมกับการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา ซึ่งจะแตกต่างไปจากภาพที่มักดูเกินจริงตามสื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เราพบเห็นกัน งานนี้เปิดให้ผู้ชมทั่วไปได้เข้าชมกันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

นิทรรศการชุดภาพถ่ายบุคคลของอาสาสมัครที่มาเป็นแบบและระบุว่าตัวเองเป็นทอมนั้น มีจำนวนทั้งหมด 65 คน อายุ 15 -33 จะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชม ในวันที่ 21, 22 และ 28 มิถุนายน ตั้งแต่เวลา 19.00 – 22.30 น. โดยได้ DJAEFFECT ดีเจที่ระบุตัวเองว่าเป็นทอม และมี DJLemony แฟนสาวของเขามาร่วมมอบความบันเทิงผ่านเสียงเพลงให้กับผู้ชมภายในงานนี้ด้วย

สำหรับดีเร็ค บราวน์ ช่างภาพ และเจ้าของสตูดิโอซอย 6(Bangkok’s Studio Soi Six) กับภาพถ่ายชุดนี้ที่ถือเป็นประสบการณ์เชิงสำรวจ และทำให้เขาเกิดความเข้าใจและเห็นใจในทอมบอย ดีเร็คมักหลงไหในหัวข้อหรือวัฒนธรรมย่อยที่อยู่นอกกระแสหลักของสังคมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

“ผมมักหลงไหลในหัวข้อที่ไม่อยู่ในความสนใจของสื่อ เหล่าศิลปินและในหมู่ผู้สร้างสรรค์” ดีเร็คกล่าว “แม้ว่าเราจะเจอทอมบอยได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่พวกเขาก็ยังถือเป็นคนกลุ่มน้อยและชายขอบในสื่ออยู่ดี เพราะฉะนั้นการลงลึกในเรื่องนี้จึงมีความหมายกับผมอย่างมาก มันทำให้ผมสามารถสัมผัสถึงความหลากหลายและความเป็นตัวตนที่มากไปกว่าคตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไป และผมได้แบ่งปันสิ่งนี้กับกลุ่มผู้ชมที่กว้างขึ้น”

มองทอมในมุมต่าง

ดีเร็คถ่ายทอดเอกลักษณ์ภายใต้ตัวตนของทอมผ่านภาพถ่ายของเขาซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแสดงออกที่มีความหลากหลายและน่าประหลาดใจ แม้ว่าอาสาสมัครแต่ละจะคนไว้ผมสั้นในระดับและสไตล์ต่างๆ ในรูปแบบของทอมที่พบเห็นกันทั่วไป แต่แนวทางของพวกเขาในการเข้าถึงความหมายของการเป็นทอมนั้นกลับต่างกันอย่างมาก บางคนแสดงออกถึงความเป็นผู้ชายผ่านแฟชั่น องค์ประกอบ และทรงผมของพวกเขาเท่าที่จะสามารถแสดงออกถึงความเป็นชายหนุ่ม ในขณะที่คนอื่นๆ มีภาพลักษณ์ที่เป็นผู้หญิงมากกว่า  ซึ่งอาจทำให้พวกเขาไม่ถูกมองว่าเป็นทอมอย่างในแวดวงเดียวกัน เช่น การใส่ต่างหูห้อยใหญ่ๆ ที่พบได้ทั่วไป หลายคนไม่แต่งหน้า บ้างก็ยังใช้เครื่องสำอางค์ แต่อาจจะใช้ไม่เหมือนกับสไตล์ของผู้หญิงไทยทั่วไปเท่านั้นเอง

ในหมู่ชนชาติตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษ คำว่า "ทอมบอย" โดยนัยหมายถึง ผู้หญิงซึ่งมักจะเป็นวัยรุ่นหรือเด็กที่นำเสนอความเป็นหญิงตามประเพณีนิยมออกมาน้อย และเลือกที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีลักษณะความเป็นชาย เช่น การเล่นกีฬา และใช้เวลาในธรรมชาติมากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกอย่างเจาะจงถึงรสนิยมทางเพศ โดยทอมบอยหลายคนยังชอบพอในเพศตรงข้ามอีกด้วย

อย่างไรก็ตามคำว่า “ทอม” ที่ได้รับมาจากคำภาษาอังกฤษนั้น แสดงถึงปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมไทยอย่างชัดเจน ซึ่งหมายความอย่างเจาะจงถึงผู้หญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศและแสดงออกถึงความเป็นชาย มักจะไว้ผมสั้น สวมเสื้อผ้าที่ออกแบบมาสำหรับผู้ชาย และแต่งหน้าน้อยหรือไม่แต่งเลย โดยทอมมักใช้ภาษาที่สื่อถึงความเป็นชายเพื่ออธิบายตัวตน และบทบาทของพวกเขาในความสัมพันธ์ ซึ่งตามปกติจะคู่กับเลสเบี้ยนผู้หญิงที่เรียกว่า “ดี้” แต่ในบางครั้งก็จับคู่กับทอมคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน โดยพวกเขามักจะแสดงถึงความเป็นผู้นำและความสามารถในการจัดการสิ่งต่างๆ ให้คู่ของตน คล้ายกับอุดมคติของความเป็นชายไทย อย่างไรก็ตามเหมือนที่ Tomboy Bangkok ได้จัดแสดง คำอธิบายเหล่านี้เกี่ยวกับ “ทอม” ไม่ได้มีความหมายที่ตายตัว และหลายครั้งคำจำกัดความเหล่านี้ก็ใช้อธิบายในสิ่งที่พวกเขาเป็นจริงๆ ไม่ได้เลย

แนวคิดเกี่ยวกับทอมในฐานะรูปแบบการแสดงออกทางเพศที่ไม่เหมือนใคร ในประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงยุค 70s (ค.ศ. 1970) ที่นับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากเมื่อเทียบกับ “กะเทย” และด้วยความใหม่นี้เอง จึงนำมาสู่ความเข้าใจที่น้อยลงในหมู่คนรุ่นเก่า เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรกับผู้ที่ระบุว่าตัวเองเป็นทอม ภาพถ่ายจำนวนมากใน Tomboy Bangkok จะถูกจับคู่กับข้อความจากอาสาสมัคร ที่มาจากประสบการณ์ มุมมอง และ การดิ้นรนของพวกเขาที่รวมถึงการเผชิญหน้ากับคำตัดสินว่าพวกเขาไม่ปกติ และความไม่เข้าใจจากครอบครัวรวมถึงสังคมในวงกว้าง ซึ่งอาสาสมัครมักแสดงออกถึงความปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับในสิ่งที่พวกเขาเป็นว่าเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ รวมถึงยอมรับในความเปิดกว้างทางเพศ และความอ่อนแอของพวกเขา ที่ดีเร็คมองว่าเป็นเส้นทางสู่ความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละบุคคล ดังนั้นคำแนะนำที่เรียบง่ายของดีเร็คต่อพวกเขาเหล่านี้คือ “จงเป็นตัวของตัวเอง”

“ผมมุ่งมั่นในการถ่ายภาพบุคคลที่ให้ความรู้สึกว่าอาสาสมัครหรือตัวแบบได้ลดหน้ากากของพวกเขาลง และเผยช่วงเวลาที่มีเพียงตัวตนของพวกเขาเท่านั้น” ดีเร็คกล่าว“ ด้วยโครงการ Tomboy Bangkok นี้ ทำให้ผมได้สนุกกับกระบวนการตอบโต้อย่างใกล้ชิดกับผู้คนที่ใช้ชีวิตอย่างซื่อตรงกับสิ่งที่พวกเขาเป็น หากพวกเขาแปลกหรือปกตินั่นไม่ใช่สิ่งที่ผลักดันผมเลย ผมแค่อยากสัมผัสกับความแท้จริงของบุคคลในช่วงขณะนั้น เท่านั้นเอง”

###

 

ดีเร็ค บราวน์ (Derek Brown) เป็นช่างภาพบุคคล จากสหรัฐอเมริกาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ที่ซึ่งเขาเป็นเจ้าของและบริหารงาน “สตูดิโอซอย 6(Studio Soi Six)” นิทรรศการ Tomboy Bangkok ของเขาได้รับรางวัลชมเชยในงานประกาศรางวัลภาพถ่ายนานาชาติปี 2561 และได้รับหนังสือรับรองความเป็นเลิศ จากนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติในเชลซี ซึ่งทั้งสองงานจัดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่: www.derekbrownphotography.com.