อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)

อาการเวียนศีรษะประเภทหนึ่งที่มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนไปทั้งๆที่จริงแล้วตนเองอยู่กับที่

-เป็นอาการเวียนศีรษะประเภทหนึ่งที่มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนไปทั้งๆที่จริงแล้วตนเองอยู่กับที่และไม่มีการเคลื่อนไหว

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้บ่อย

คือ        –ความผิดปกติของระบบประสาทในส่วนก้านสมองและสมองน้อย

            -ความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน

โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน(BPPV benign paroxysmal positional vertigo)

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเวียนศีรษะเกิดจากหินปูนขนาดเล็กหลุดไปอุดผิดที่ในท่อครึ่งวงกลมจึงทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะเวลาก้มตัวลงนอนหรือจากท่านอนลุกขึ้นนั่งหรือการก้มแล้วเงยส่วนใหญ่อาการเป็นไม่ถึงนาทีแล้วหายและเป็นซ้ำเวลาเปลี่ยนท่าทางอีกเกิดได้จากทั้งสมองขาดเลือดหรือเลือดออกในสมองโดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง,สมองน้อย

โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)

พบในผู้สูงอายุมากกว่า45 ปีร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง(ความดัน,เบาหวาน,ไขมันในเลือดสูง) โดยอาการเวียนศีรษะมักเป็นอยู่นานอาจนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้อาการเวียนศีรษะไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทางและมักพบร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆของระบบประสาทเช่นตามองเห็นภาพซ้อน,หน้าเบี้ยว,พูดไม่ชัด,ลิ้นแข็ง,อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก) เนื่องจากอัตราการทุพลภาพและอัตราการตายสูงจึงควรรีบพบแพทย์

โรคเวียนศีรษะจากน้ำในหูชั้นในผิดปกติ(Meniere’s disease)

อาการเวียนศีรษะเป็นพักๆนานหลายนาทีจนถึงเป็นชั่วโมงมักมีเสียงดังในหูข้างใดข้างหนึ่ง(บางรายเป็นทั้ง2 ข้าง) ต่อมาอาจมีปัญหาการได้ยินลดลงสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดบางรายพบร่วมกับการติดเชื้อในหูชั้นกลางการรับประทานเค็มมากกระตุ้นให้อาการเป็นมากได้

เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ(Vestibular neuritis)

อาการเวียนศีรษะมักนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันๆอาจมีได้แต่ต้องไม่มีปัญหาการได้ยินหรือเสียงดังในหูเชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยตรงต่อเส้นประสาทหรือเป็นจากการแพ้ภูมิตัวเองพบในคนอายุน้อยเพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชายโรคนี้ทำให้ปวดศีรษะเป็นๆหายๆได้

โรคไมเกรน(Migraine)

บางรายมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะอย่างเดียวเป็นๆหายๆโดยไม่มีอาการปวดศีรษะก็ได้ปัจจัยกระตุ้นเช่นอาหาร,การดื่มกาแฟปริมาณมากหรือหยุดดื่ม,แสงจ้า,กลิ่นฉุน,การมีประจำเดือน 

อาการเวียนศีรษะที่ต้องปรึกษาแพทย์

-อาการเวียนศีรษะร่วมกับตาเห็นภาพซ้อน

-อาการเวียนศีรษะร่วมกับอ่อนแรงแขนขา

-อาการเวียนศีรษะร่วมกับชาแขนขา

-อาการเวียนศีรษะร่วมกับพูดลำบาก

-อาการเวียนศีรษะร่วมกับมีปัญหาเรื่องการได้ยิน

การตรวจวินิจฉัย

    ตรวจการได้ยิน(audiogram)ตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน(Video electronystagmography :VNG)ตรวจวัดแรงดันของน้ำในหูชั้นใน(electrocochleography : ECOG)ตรวจการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน(Evoked response audiometry )ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง( CT scan)ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองและเส้นเลือดสมอง(MRI brain and MRA)ซึ่งสามารถถ่ายภาพบริเวณก้านสมองและสมองส่วนหลังได้ชัดเจน(brainstem and carebellum) ซึ่งเป็นส่วนที่(CT scan)ให้รายละเอียดได้ไม่ชัดเจน

การดูแลและปฏิบัติตัวเบื้องต้นในผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

    หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะระหว่างเกิดอาการ

เช่น       –การเปลี่ยนแปลงท่าทางอย่างรวดเร็ว

            -การหันศีรษะเร็วๆ

            -หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะ

    ไม่ควรอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเช่นการขับขี่ยานพาหนะในขณะที่มีอาการรับประทานยาลดอาการเวียนศีรษะเช่นBetahistine ,Dimenhydrinate เป็นต้นหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะเช่นการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ, ความเครียด, กลิ่นฉุน,สารก่อภูมิแพ้ลดปริมาณหรืองดการสูบบุหรี่/ดื่มกาแฟถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.วิภาวดี โทร.02561-1111 ต่อ 1214

 

                                                                  ข้อมูลโดย : แพทย์หญิงกมลรัตน์  พลไวย์

                                                       อายุรแพทย์ประสาทวิทยา ประจำโรงพยาบาลวิภาวดี