มรดกจากพ่อ สานต่อด้วยรัก : 'คอนแทรคฟาร์มมิ่ง' อาชีพที่สร้างชีวิตให้ยั่งยืน

เคยสงสัยไหมว่า... อาชีพเกษตรกร ในวันนี้ มีอะไรที่แตกต่างจากที่เราเคยรู้จักบ้าง? วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับเรื่องราวดีๆ ของครอบครัว "นครไธสง"
มาทำความรู้จักครอบครัว "นครไธสง" ที่ จังหวัดนครราชสีมา ที่เปลี่ยนภาพการเลี้ยงหมูให้กลายเป็น "มรดกอาชีพ" ที่สามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น สร้างความมั่นคงและความภาคภูมิใจให้กับคนในครอบครัว
จากพ่อสมจิต สู่ลูกชายเด่นชัย...ความสำเร็จที่ส่งต่อไม่สิ้นสุด
ย้อนกลับไปในปี 2542 พ่อสมจิต และแม่หนูเพ็ญ นครไธสง เริ่มต้นเลี้ยงหมูขุนกับ ซีพีเอฟ แม้จะเริ่มต้นบนที่ดินเช่า แต่ด้วยความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ที่ไม่เหมือนใคร เพราะในสมัยนั้น การเลี้ยงหมู ในรูปแบบฟาร์มเลี้ยงยังไม่เป็นที่นิยม ที่เลี้ยงกันอยู่ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงหมูหลังบ้าน บ้านละไม่กี่ตัวไว้บริโภคและขายให้พ่อค้าคนกลาง แต่พ่อสมจิตกลับมองเห็นโอกาสจากความมั่นคงของซีพีเอฟ ที่เข้ามาแนะนำรูปแบบการเลี้ยงใหม่ๆ เขาศึกษาข้อมูลการเลี้ยง ประกอบกับความคิดที่ว่าถึงอย่างไรคนก็ชอบทานหมู ความต้องการบริโภคที่ไม่เคยหมดและนับวันยิ่งจะมากขึ้น จึงตัดสินใจลงทุนเลี้ยงหมูในระบบเปิด ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย หรือ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง กับซีพีเอฟเป็นรายแรกในตำบลทับสวาย อำเภอห้วยแถลง โดยมี "เด่นชัย" ลูกชายเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ
จากฟาร์มเปิดเล็กๆ ที่เลี้ยงเพียง 400 ตัว พ่อสมจิตและครอบครัวก็ได้เรียนรู้และพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีซีพีเอฟเป็นผู้สนับสนุนทั้งเรื่องเทคโนโลยีและวิชาการใหม่ๆ ที่นำมาปรับใช้ในการเลี้ยงหมู จนมาถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้รายได้ก้าวกระโดด นั่นคือการเปลี่ยนมาเลี้ยงหมูใน "ระบบฟาร์มปิด" ที่ทันสมัยมากขึ้น ความมั่นคงที่เห็นชัดเจนตรงหน้า ทำให้พ่อสมจิตกล้าที่จะขยับขยายฟาร์มบนที่ดินของตัวเอง นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของมรดกที่แท้จริง!
เด่นชัย นครไธสง : คนรุ่นใหม่ที่สานต่ออาชีพของพ่อ พร้อมต่อยอดสู่ความมั่นคง
เด่นชัย นครไธสง วัย 47 ปี ลูกชายของพ่อสมจิต แม้จะเรียนจบปวส. ช่างไฟฟ้ากำลัง ทำงานในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาฮาร์ดดิสก์ แต่เขากลับเลือกที่จะสานต่ออาชีพที่พ่อกับเขาร่วมกันสร้างมา ด้วยความเข้าใจในระบบ "คอนแทรคฟาร์มมิ่ง" อย่างลึกซึ้ง เขาไม่ได้แค่ เลี้ยงหมู ให้ดี แต่ยังต่อยอดความสำเร็จให้ยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก!
"ตอนนั้นตนคิดแค่ว่า ถ้าตนกับแฟนทำงานโรงงานก็คงได้กินไปวันๆ ไม่มีอนาคตพอตอนแก่จะทำอะไรเลี้ยงตัว เมื่อหันกลับมามองที่พ่อของเราที่เลี้ยงหมูเป็นอาชีพ ที่เลี้ยงครอบครัวของเราให้มีกินมีใช้มาจนทุกวันนี้ ตนจึงตัดสินใจออกมาสร้างฟาร์มในที่ดินของตัวเองและขยายการเลี้ยงหมูขุนเป็น 650 ตัว" เด่นชัย กล่าว
เมื่อถามว่าอะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของเด่นชัย? เขาบอกว่ามีหลายปัจจัยด้วยกัน ตั้งแต่ผลการเลี้ยงที่ดีเยี่ยม การันตีด้วยคุณภาพหมูขุน อาหาร การจัดการตามมาตรฐานของบริษัท, ฟาร์มต้นแบบเกษตรผสมผสาน เด่นชัยใช้พื้นที่ฟาร์มที่เหลือทำ แปลงเกษตรผสมผสานแบบไม่ใช้สารเคมี โดยใช้ปุ๋ยจากมูลสุกร สร้างรายได้เสริมให้ครอบครัวกว่า 360,000 บาทต่อปี แถมยังเป็นต้นแบบให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาดูงาน และยังได้รับรางวัลระบบมาตรฐาน GAP แปลงหม่อนไหม และโรงเลี้ยงไหมที่ริเริ่มจากแม่กลายเป็นอาชีพเสริมของครอบครัวอีกด้วย, ประหยัดพลังงานด้วย Solar Cell ฟาร์มนี้ติดตั้ง Solar Cell ขนาด 10kw ช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 30-40% ถือเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่คุ้มค่าในระยะยาว, แบ่งปันสู่ชุมชน ไม่ใช่แค่ใช้เอง แต่เขายังแบ่งปันน้ำปุ๋ยจากฟาร์มสู่เกษตรกรและชุมชนรอบข้างได้นำไปใช้ประโยชน์ ลดค่าปุ๋ยเคมี มีน้ำใช้ลดความเสี่ยงภัยแล้งได้ผลผลิตเพิ่ม
"อาชีพนี้ทำให้ตนไปสู่อีกอาชีพหนึ่ง การเลี้ยงหมู มีขี้หมู ไร่ข้างๆ เป็นที่ของเรา แม่ก็ทำอาชีพเลี้ยงไหม ตนเอาปุ๋ยจากมูลสุกรไปรดไร่อ้อย ปลูกหม่อน นี่คือการเชื่อมโยงอาชีพให้เป็นวงจรที่เกื้อกูลกันอย่างแท้จริง" เด่นชัย กล่าว
คอนแทรคฟาร์มมิ่ง : อาชีพมั่นคง สานต่อมรดกอาชีพที่ยั่งยืน
สิ่งที่ทำให้ครอบครัวนครไธสงมั่นใจในอาชีพนี้คือ "ความมั่นคง" ของระบบ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง กับ ซีพีเอฟ เด่นชัยบอกว่า เรามีบริษัทที่เรามั่นใจกับ ซีพี ยังไงก็ไม่ทิ้งเรา ของที่เราผลิตคืออาหารไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย คนต้องกินทุกวัน การเลี้ยงหมูในระบบนี้ไม่เพียงแต่มีรายได้ที่พอใจ แต่ยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเลี้ยงเองทั้งหมด มีทั้งสัตวแพทย์และทีมงานจากซีพีเอฟเข้ามาดูแลสุขภาพหมูอย่างใกล้ชิด มีการพัฒนาการเลี้ยงและระบบการป้องกันโรคให้ทันสมัยอยู่ตลอด อีกอย่างที่บางคนอาจไม่รู้คือคนเลี้ยงหมูทำงานในที่ร่ม ทำงานในโรงเรือน EVAP หมูเย็นคนก็เย็น เขาไม่ต้องเหนื่อยกับการทำงานกลางแจ้งเหมือนอย่างการทำไร่อาชีพของครอบครัวอย่างในอดีต
ครอบครัวนครไธสงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า อาชีพเลี้ยงสุกรขุนแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ไม่ใช่แค่การทำเกษตร แต่คือการสร้างชีวิต สร้างรายได้ สร้างความมั่นคง และที่สำคัญที่สุดคือการ "สร้างมรดกอาชีพ" ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า ส่งต่อความสำเร็จและความภาคภูมิใจจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน
พ่อสมจิต ในวัย 72 ปี วันนี้ยังคงเข้ามาช่วยลูกๆ ดูแลหมูอาชีพที่รัก เขาภูมิใจที่อาชีพเลี้ยงหมูสามารถส่งลูกทั้งสองคนเรียนหนังสือจนจบ คนหนึ่งรับช่วงต่ออาชีพนี้ได้อย่างมั่นคง ส่วนลูกอีกคนจบปริญญาโท และได้เข้ารับราชการ การเลี้ยงหมูสำหรับเขาจึงเป็นอาชีพที่สร้างคน รับใช้ประเทศชาติต่อไป และตอนนี้เด่นชัยก็กำลังส่งต่อมรดกอาชีพ ความรู้และความรักในอาชีพให้กับลูกๆ ได้เข้ามาสัมผัสและเรียนรู้กระบวนการเลี้ยงหมู ซึมซับและรักในสิ่งที่ทำเหมือนกับที่เขาได้รับจากพ่อสมจิตเช่นกัน