"วันป่าไม้โลก" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ

"วันป่าไม้โลก" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ

21 มีนาคม "วันป่าไม้โลก" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างงาน สร้างอาชีพให้ชุมชน

วันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ตรงกับวันป่าไม้โลก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สานต่อโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าต้นน้ำและป่าชายเลนเข้าสู่ระยะที่สอง ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานของการร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เผยผลสำเร็จของโครงการฟื้นฟูป่า ส่งผลเชิงบวกครอบคลุมมิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพ ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชน        

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารควบคู่กับการมีส่วนร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ โดยได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ทั้งป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ ซึ่งปัจจุบัน ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทยไปแล้วรวมมากกว่า10,000 ไร่ พร้อมกันนี้มีการติดตามและประเมินผลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการที่ดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยรอบ พบว่าโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลนที่บริษัทฯ ดำเนินการ ส่งผลเชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

\"วันป่าไม้โลก\" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ    

ซีพีเอฟ ติดตามและประเมินผลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน รวมทั้งโครงการที่ต่อยอดจากการปลูกป่า ทั้งการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชุมชน และการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ประกอบด้วย โครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน พื้นที่ จ.ระยอง และพื้นที่ จ.สมุทรสาคร และโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสัก ต่อยอดสู่โครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืดและโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติ โดยทั้งโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน และโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง เป็นโครงการระยะยาวที่มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน

\"วันป่าไม้โลก\" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ          

ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ด้านเศรษฐกิจ ทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งมาจากการท่องเที่ยว รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ค่าแรงจากการจ้างงานในชุมชน เพาะกล้า ปลูกป่า รวมทั้งมีแหล่งอาหารที่มั่นคงของชุมชนเพิ่มขึ้น ด้านสังคม ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตด้านสังคมดีขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยรักษาและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นกำแพงธรรมชาติช่วยป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ด้านป่าต้นน้ำ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งในปี 2564 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ให้การรับรองพื้นที่ปลูกป่าโซนส่งเสริมการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ 1,500 ไร่ ของโครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 18,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์    

นายวุฒิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ ยังได้กำหนดนโยบายความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า 100% เป็นหนึ่งในนโยบายด้านความยั่งยืนของ ซีพีเอฟ เพื่อร่วมปกป้องและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นไปตามเป้าหมายกลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action ที่ยึด 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง  สังคมพึ่งตน และ ดิน น้ำ ป่าคงอยู่ โดยเสาหลักด้าน ดิน น้ำ ป่าคงอยู่ มีเป้าหมายสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ การรักษาและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ยังสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาติ (SDGs) ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการใช้้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก            

\"วันป่าไม้โลก\" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ซีพีเอฟ สานต่อโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลนเข้าสู่ระยะที่สอง โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟู พื้นที่ยุทธศาสตร์รวม 20,000 ไร่ ผ่านการดำเนินโครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง เพิ่มเติมพื้นที่อนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการไปแล้ว 5,971 ไร่ เป็น 6,971 ไร่ และโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน มีพื้นที่อนุรักษ์ จ.ระยอง 614 ไร่ และมีเป้าหมายฟื้นฟูและปลูกป่าใหม่ (ระยะที่ 2 ระหว่าง ปี 2562-2566 ) 54 ไร่ พื้นที่จ.สมุทรสาคร มีพื้นที่อนุรักษ์ 604 ไร่ มีเป้าหมายฟื้นฟูและปลูกป่า (ระยะที่ 2) 266 ไร่ โดยในปีนี้ได้ขยายพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ต.ท่าพริก จ.ตราด และเตรียมขยายพื้นที่ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าที่ จ.กำแพงเพชร อีกด้วย

\"วันป่าไม้โลก\" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ \"วันป่าไม้โลก\" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ \"วันป่าไม้โลก\" CPF ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำ-ป่าชายเลน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ