"โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง"

"โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง"

กรมป่าไม้ มอบโล่"ซีพีเอฟ" ร่วมฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ "โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง"

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจากกรมป่าไม้ ในฐานะผู้ช่วยเหลือราชการกรมป่าไม้ ประจำปี 2564  สาขาการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ จากการดำเนินโครงการ "ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" จังหวัดลพบุรี   ช่วยอนุรักษ์  ฟื้นฟู และปลูกป่าเพิ่มเติม 6,971 ไร่ สู่เป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทย และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

กรมป่าไม้ จัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ125 ปี  คล้ายวันสถาปนากรมป่าไม้  โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานและมีพิธีมอบโล่ ให้แก่บุคคลและหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์แก่กรมฯ ประจำปี 2564  ณ ห้องประชุม 1 อาคารเทียมคมกฤส  กรมป่าไม้  ซึ่งในปีนี้ ซีพีเอฟ ได้รับคัดเลือกให้รับโล่ในฐานะผู้ช่วยเหลือราชการกรมป่าไม้ สาขาการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ จากการดำเนินโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง  จ.ลพบุรี

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ จึงได้บูรณาการความร่วมมือ 3 ประสานกับกรมป่าไม้ และชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า 6,971 ไร่  ในโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  และมีส่วนร่วมดำเนินการครบทั้งกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฯในปี 2559 สำรวจพื้นที่ ศึกษารูปแบบการปลูกป่า การวางแผนปลูกป่า ดูแลให้ต้นไม้ในพื้นที่เติบโต จนถึงกระบวนการเก็บข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบ  โดยมีจิตอาสาซีพีเอฟติดตามการดำเนินโครงการฯอย่างใกล้ชิด จนถึงปัจจุบันสภาพผืนป่ากลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่เติบโตขึ้นสามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์

\"โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง\"

นอกจากนี้ ผืนป่าแห่งนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า สามารถเป็นต้นแบบให้กับการฟื้นฟูผืนป่าอื่นๆของประเทศ จากการใช้การปลูกป่าใน 4 รูปแบบ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ช่วยย่นระยะเวลาการฟื้นฟูป่าได้เร็วกว่าปล่อยให้ฟื้นเองตามธรรมชาติ โดยที่ซีพีเอฟเข้ามาช่วยดูแลการปลูกป่า การจัดการเรื่องระบบน้ำเพื่อช่วยให้ต้นไม้ในพื้นที่เติบโต เพิ่มอัตราการรอดของต้นไม้ที่ปลูกได้เกือบ 100%

 

โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง นอกจากช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทยแล้ว  ยังสนับสนุนเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือเครือซีพีที่มีเป้าหมายปลูกต้นไม้ 10 ล้านต้น มู่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 และเป็นโครงการที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)ในประเด็นClimate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ  Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน ./