หลักสูตร iCPCJ โดย TIJ เปิดข้อเสนอ แก้ 4 ปัญหา พัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

หลักสูตร iCPCJ โดย TIJ เปิดข้อเสนอ แก้ 4 ปัญหา พัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

TIJ เปิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แก้ 4 ประเด็นปัญหา ผ่านมุมมองผู้เรียนหลักสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ iCPCJ เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทยให้ดียิ่งขึ้น

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ เปิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จาก 4 ประเด็นปัญหา โดยยึดหลัก "กระบวนการยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" แนวคิดที่ถูกผลักดันจากหลักสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ iCPCJ

พร้อมถกประเด็นที่ยังเป็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย ทั้งในด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะ การใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก การสร้างโอกาสแก่ผู้ก้าวพลาดกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน ไปจนถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมในเวทีสาธารณะว่าด้วยการส่งเสริมความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (TIJ-UNODC Public Forum : People-centred justice solutions)

หลักสูตร iCPCJ โดย TIJ เปิดข้อเสนอ แก้ 4 ปัญหา พัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

ประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม หรือส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่น่าสนใจจากมุมมองของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร iCPCJ รุ่นแรก ประกอบด้วย

  • ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กติดผู้ต้องขังที่ต้องมาอยู่ในเรือนจำร่วมกับผู้ใหญ่ทั้งที่ไม่ได้กระทำผิดใดๆ เป็นปัญหาที่สังคมมองข้ามมาตลอด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กติดผู้ต้องขัง (Getting the Right Start : Recognizing the Rights of the Children of Prisoners) ได้สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการยุติธรรมที่ทางเลือกมากกว่าเรือนจำในการจัดการปัญหาและลดผลกระทบดังกล่าว ผ่านมาตรการที่ไม่ใช่การคุมขังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม
  • ปัญหาเด็กและเยาวชนผู้ก้าวพลาด ที่นับวันจะมีสถิติการกระทำผิดซ้ำสูงขึ้น สู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการช่วยเยาวชนผู้ก้าวพลาดกลับคืนสู่สังคม ด้วยเครื่องมือประเมินตามหลัก Good Lives Model (Supporting the effective reintegration of young offenders under with assessment tool under the with assessment tool under the Good Lives Model) เพื่อนำไปสู่การสร้างโอกาสให้กับผู้ก้าวพลาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • ปัญหาการบำบัดแก้ไขเยาวชนผู้ก้าวพลาด หลังพบข้อมูลว่า เมื่อนำเยาวชนเหล่านี้เข้าสู่การจองจำในลักษณะการควบคุมตัว กลับมีสถิติการกระทำผิดซ้ำอยู่ในอัตราที่สูง จึงเสนอแนวทางการตั้ง "ศูนย์ฝึกเอกชน" ที่เปลี่ยนจากรั้วและการคุมขัง ไปเป็นการทำความเข้าใจปัญหาและพัฒนาศักยภาพเยาวชนกลุ่มนี้ในหัวข้อ "บ้านพระพร ยุติธรรมนำร่องของความร่วมมือ" โดยใช้มูลนิธิบ้านพระพร เป็น sandbox ของศูนย์ฝึกเอกชนทดลองประสานงานกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้ช่วยปรับเปลี่ยน แก้ไข เยียวยาเยาวชนที่ก้าวพลาดให้กลับคืนสู่สังคม
  • ปัญหา "หลอกโอนเงินทางออนไลน์" ที่ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ประชาชนล้วนตั้งคำถามกับหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ถึงความสามารถในการจัดการกับกลุ่มมิจฉาชีพ นำไปสู่ข้อเสนอแนะ หัวข้อ เปลี่ยนเหยื่อเป็นผู้ล่าแก๊งคอลเซนเตอร์ (Winning the People’s battle against phone scams in Thailand)

การนำเสนอผลงานทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการอนุวัตมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม หรือ iCPCJ ซึ่งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรและผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่บุคลากรจากหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม องค์การระหว่างประเทศ และผู้นำจากองค์กรภาคเอกชนที่ทำงานขับเคลื่อนเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียน และกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ในมุมมองใหม่ เช่น แนวคิดเชิงออกแบบ แนวคิดเชิงระบบ หรือการออกแบบนโยบายด้วยแนวคิดการออกแบบเกมเพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน และบรรทัดฐานของสหประชาชาติ หรือกรณีศึกษาที่ดีจากต่างประเทศ มาพัฒนาเป็นข้อเสนอและแนวปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการนำ "มาตรฐานสากล" มาปรับใช้กับกระบวนการยุติธรรมในบริบทของประเทศไทย ภายใต้แนวคิดหลักที่เรียกว่า การสร้างกระบวนการยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

หลักสูตร iCPCJ โดย TIJ เปิดข้อเสนอ แก้ 4 ปัญหา พัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

ทั้งนี้ ภายในเวทีสาธารณะ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ที่ปรึกษา TIJ และประธานที่ปรึกษาหลักสูตร iCPCJ เปิดประเด็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยกล่าวว่า หลักสูตรเกิดขึ้นจากความตั้งใจร่วมกันระหว่าง TIJ และ UNODC ในการออกแบบพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะในแวดวงกระบวนการยุติธรรม เพื่อนำมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในบริบทระบบยุติธรรมทางอาญาของไทย สิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับผู้เข้าร่วมหลักสูตรนอกเหนือจากองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นตามยุคสมัยแล้ว การได้แลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นปัญหาเชิงนโยบายต่างๆ กับบุคลากรในระบบยุติธรรมด้วยกันเองหรือบุคลากรจากภาคส่วนอื่นๆ นับเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย และได้สังเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ร่วมกันต่อไป

หลักสูตร iCPCJ โดย TIJ เปิดข้อเสนอ แก้ 4 ปัญหา พัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

นอกจากนี้ Jeremy Douglas ผู้แทน UNODC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค ยังได้เน้นย้ำถึง ความสำคัญของการนำมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

หลักสูตร iCPCJ โดย TIJ เปิดข้อเสนอ แก้ 4 ปัญหา พัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

ปิดท้ายด้วยบทสรุปจาก ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการ TIJ ที่มองว่าการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบ และผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและพลังความคิดจากมุมมองของผู้เข้าร่วมหลักสูตรทุกท่าน ซึ่งจากการเรียนที่ผ่านมา พบว่า ผู้เข้าร่วมหลักสูตรมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนากระบวนการความยุติธรรมทางอาญา การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดในกระบวนการยุติธรรมด้วยมุมมองใหม่ และเสริมสร้างมุมมองให้เป็นไปตามแนวคิด "ความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือ people-centred justice"

แม้ว่าปัญหาใน กระบวนการยุติธรรม ไทยจะมีอีกหลากหลายมิติ แต่หลักสูตร iCPCJ จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและบูรณาการการเรียนการสอนที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องให้มีองค์ความรู้ และแนวคิด โดยยึดถือหลัก "ประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ผ่านการ "ร่วมเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมสร้างแนวทาง ร่วมเพิ่มพลังกระบวนการยุติธรรม" เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป