"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

ผังเมือง คำคุ้นหูที่เคยได้ยินเมื่อจะทำการซื้อ-ขายที่ดิน ขออนุญาตก่อสร้างบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ โรงแรม โรงงาน เป็นต้น พร้อมกับศัพท์วิชาการเกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง ระยะถอยร่น ผังสีการใช้ที่ดินเขตอนุรักษ์ ฯลฯ แท้ที่จริงแล้วในทุกตารางนิ้วของประเทศไทยได้ถูก"วางแผน" และ "กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน" เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับประโยชน์สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

"ผังเมือง" มีหลายประเภท หลายระดับ แต่ส่วนใหญ่ที่มักเป็นประเด็นพูดถึงกัน คือผังที่ใช้บังคับทางกฎหมาย ได้แก่ "ผังเมืองรวม"ซึ่งตามหลักการเป็นแผนผัง นโยบาย โครงการ และมาตรการควบคุม โดยทั่วไปในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด เป็นกรอบชี้นำทางกายภาพ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกำกับการพัฒนาพื้นที่ให้เติบโตอย่างเหมาะสม โดยผ่านกระบวนการทางวิชาการ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย มุ่งประสานประโยชน์โดยรวมระหว่างประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย บนพื้นฐานที่มิได้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

การวางและจัดทำผังเมืองรวม จะต้องสอดคล้องกับผังนโยบายระดับภาคและผังนโยบายระดับจังหวัด ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนด โดยมีแนวทางการปฏิบัติที่ยึดหลักวิชาการ เทคนิคการวางผังและการบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยดำเนินการบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน นั่นหมายความว่า ในขั้นตอนการดำเนินงานหลักของการจัดทำผังเมืองรวม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน รวม 8 ขั้นตอน ทั้งการดำเนินการวางผัง(ขั้นตอนที่ 1-6) และการออกกฎหมาย(ขั้นตอนที่ 7-8) ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งยื่นคำร้องเมื่อไม่ตรงตามความต้องการได้

"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

เริ่มจากการสำรวจ กำหนดเขตผัง วิเคราะห์และจัดทำร่างผังเมืองรวมโดยเจ้าหน้าที่ทีมนักผังเมือง นักวิเคราะห์ผังเมือง และช่างจัดทำ แผนที่ลงไปทำงานภาคสนามเพื่อสำรวจพื้นที่ในด้านกายภาพ การใช้ที่ดินอาคาร ทั้งนี้ ข้อมูลแนวเขตที่ดินที่นำมาจัดทำแผนที่มาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น แนวเขตการปกครองมาจากกรมการปกครองเขตป่าไม้ตามกฎหมายมาจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติฯ เขต สปก. มาจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เขตทหารมาจากกระทรวงกลาโหม เขตโบราณสถานมาจากกรมศิลปากร เป็นต้น รวมทั้งต้องจัดเก็บข้อมูลประชากร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับนโยบาย แผนงาน โครงการของรัฐและเอกชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เช่นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางราง โครงการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก โครงการอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำและชายฝั่งทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติการผังเมืองพ.ศ. 2562 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ทีมนักผังเมืองจะลงพื้นที่ไปจัดประชุมกับประชาชนเจ้าของพื้นที่ ผู้บริหารท้องถิ่น และส่วนราชการเพื่อขอรับฟังความต้องการและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ แล้วนำมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาการให้เป็นไปตามมาตรฐานทางผังเมือง เพื่อจัดทำร่างของแผนผังและข้อกำหนด แล้วนำกลับไปประชุมกับประซาชนในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นจะนำไปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อกลั่นกรองตรวจสอบให้ถูกต้อง แล้วนำไปปิดประกาศ 15 วัน เพื่อให้ประชาชนร่วมแสดงข้อคิดเห็นและแสดงสิทธิ์การยื่นคำร้องเป็นหนังสือสงวนสิทธิ์ไว้ ขั้นตอนต่อไปจะเสนอคณะกรรมการผังเมือง ให้ความเห็นชอบเพื่อนำร่างผังไปปิดประกาศ 90 วัน กรณีมีคำร้องจะนำคำร้องมาพิจารณาด้วย จากนั้นจะเป็นการดำเนินการเพื่อออกเป็นกฎหมายแล้วประกาศใช้บังคับ หลังจากผังประกาศใช้บังคับ จะมีการประเมินผล ผัง ซึ่งประชาซนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อประเมินผลผังได้ด้วย

"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

"ผังเมือง" เพื่อประโยชน์ของประชาชน

นอกจากกระบวนการจัดทำผังเมืองรวมข้างต้นจะเป็นไปตามขั้นตอนและองค์ประกอบ ที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 กำหนดไว้แล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงการสร้างความสมดุล ของ 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือข้อมูลข้อเท็จจริงที่ผ่านการวิเคราะห์ตามหลักวิซาการทางผังเมือง ส่วนที่สอง คือนโยบายแผนการพัฒนาตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่น และส่วนที่สาม ซึ่งสำคัญมากคือความต้องการของประชาชนในพื้นที่และผู้มีส่วนได้เสีย โดยนักผังเมืองจะบูรณาการทั้งสามส่วนให้สมดุลกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนส่วนรวม ปัจจุบัน ได้มีการวางผังเมืองรวมเมือง/ชุมซนแล้ว จำนวน 570 อำเภอ(582 ผัง) ทั้งนี้ มีเป้าหมายดำเนินการให้ครอบคลุม 878 อำเภอ ส่วนที่เหลืออีก 308 อำเภอ จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในปี พ.ศ. 2573 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างกระบวนการจัดทำผัง อาจปรากฏว่ามีกลุ่มผู้มีส่วน ได้เสียออกมาเคลื่อนไหว คัดค้าน เนื่องจากเกิดความสงสัยหรือต้องการความชัดเจนในบางประเด็น หรือไม่เห็นด้วยกับแผนผังการใช้ที่ดินที่จัดทำ เช่น คัดค้านการกำหนดที่ดินประเภอุตสาหกรรมฯ คัดค้าน การกำหนดที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ ไม่เห็นด้วยกับแนวถนนตามแผนผัง ไม่เห็นด้วยกับข้อห้ามการประกอบกิจการบางประเภทในข้อกำหนด ฯลฯ เป็นต้น กรมโยธาธิการและผังเมืองพร้อมรับฟังความคิดเห็นของคนทุกกลุ่ม เพื่อทบทวน ตรวจสอบข้อมูล และชี้แจงให้พี่น้องประชาชนได้เกิดความกระจ่าง เกิดความโปร่งใส มิได้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ผังเมืองรวมเป็นกฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม และการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง