ไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564

ไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564

กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมยาใหม่ในปี 2565

ไบเออร์ แถลงผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2564 เป็นอีกหนึ่งปีที่สร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 4.8% และมียอดขายมากกว่า 5.8 พันล้านยูโร ภูมิภาคนี้มีสัดส่วนของยอดขายกว่า 1 ใน 3 ของยอดขายกลุ่มของไบเออร์ทั่วโลก เมื่อปลายเดือนเมษายน 2565

 

แม้จะมีความท้าทายจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลไม่รวมประเทศจีนและญี่ปุ่นก็เติบโตที่ 1-2% ในตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลี และไต้หวัน นอกจากนั้นประเทศที่มียอดขายเติบโตยังมาจากเอเชียใต้อีกด้วย โดยประเทศอินเดียมีการเติบโต 11% และปากีสถาน 2% ในขณะที่กลุ่มประเทศในอาเซียนมีการเติบโตเฉลี่ย 9% ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ดร.อิง เฉน หัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการการค้ากลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ปี 2564 เป็นปีที่ประสบความสำเร็จสำหรับไบเออร์ ฟาร์มาซูติคอล เนื่องจากเรามุ่งเน้นและดำเนินการในเรื่องสำคัญๆ นั่นก็คือ การส่งมอบยาทั้งที่เป็นนวัตกรรมใหม่และยาที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยในเอเชียแปซิฟิก แม้จะมีความท้าทายจากการระบาดใหญ่ก็ตาม การเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเราเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการส่งมอบคุณค่าของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของเราให้กับผู้ป่วยโรคต่างๆ ซึ่งมีความต้องการในระดับสูงแต่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง”

 

ในปี 2565 ไบเออร์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราเติบโตยอดขายกลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลทั่วโลกประมาณ 3-4% ตามการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนและพอร์ตโฟลิโอ แนวโน้มตลาดสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นไปในเชิงบวก โดยตามการคาดการณ์ของ IQVIA ตลาดฟาร์มาซูติคอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ว่านี้จะเติบโตประมาณ เฉลี่ย 4-5% ในช่วงปี 2564 ถึง 2565

 

การศึกษาวิจัยทางคลินิกต่างๆ ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน

สำหรับไบเออร์ ได้ดำเนินการด้านการพัฒนายาของไบเออร์อย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการพัฒนาประมาณ 50 โครงการในระยะที่ 1 ถึง 3 ของการพัฒนาทางคลินิก ซึ่งมีหลายโครงการที่มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โรคไตจากเบาหวาน และภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่มีความต้องการทางการแพทย์ที่สูงสำหรับประชากรสูงอายุในภูมิภาคนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงกิจกรรมการพัฒนาทางคลินิกของไบเออร์ โดยมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกอย่างต่อเนื่อง 46 โครงการที่ดำเนินการในภูมิภาคนี้ตลอดปี 2563 และ 2564 โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการศึกษาวิจัยด้านมะเร็งวิทยา

ไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564

“สำหรับโครงการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาที่มีความสำคัญระดับโลก 3 โครงการ ได้แก่ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว โรคไตเรื้อรัง (CKD) ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื้องอกระยะแพร่กระจายที่มีฟิวชั่นของยีน NTRK และมะเร็งต่อมลูกหมากที่ไม่ลุกลามนั้น นอกจากนั้น ด้วยโมเดลดิจิทัลที่ทันสมัย ทำให้การมีส่วนร่วมทำได้มากขึ้นและสะดวกสบายมากขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างข้อมูลเพื่อติดตามและพัฒนาผลการรักษาของผู้ป่วย” ดร.แคทเธอรีน โดโนแวน หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

ไบเออร์ยังส่งเสริมความร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกเพื่อเร่งการสร้างนวัตกรรมสำหรับการพัฒนายาใหม่ๆ ด้วยการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board) ตั้งแต่ปี 2550 ไบเออร์ยังคงขยายความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้ลงทุนไปแล้ว 27 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในโครงการต่างๆ กับสถาบันและองค์กรในสิงคโปร์ที่ทำงานด้านการวิจัยทางคลินิกและการวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับโรคมะเร็งและโรคหัวใจและหลอดเลือด

ไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564

นอกจากนั้นในการแถลงข่าว Breakthrough Innovation Forum ครั้งล่าสุด ไบเออร์ได้ประกาศว่าจะเร่งการลงทุนโดยบริษัทการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก Leaps by Bayer ด้วยเงินทุนมากกว่า 1,300 ล้านยูโร จนถึงสิ้นปี 2567

 

กว่า 50 ปีมาแล้วที่ไบเออร์ให้การสนับสนุนโปรแกรมการศึกษาและการวางแผนครอบครัวโดยคำนึงถึงสิทธิเป็นพื้นฐานในกว่า 130 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการเพิ่มการเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดที่ทันสมัย และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) ให้เข้าถึงผู้หญิงกว่า 7 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิกในปี 2564

 

ด้วยความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพสตรี บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะให้ผู้หญิง 100 ล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงการวางแผนครอบครัวภายในปี 2573 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ตัวอย่างโครงการที่สำคัญได้แก่ โครงการ “Better Life Farming” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย โดยร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรไม่แสวงหากำไร Mercy Corps มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้ความรู้และจัดให้มีการเข้าถึงการคุมกำเนิดที่ทันสมัยแก่สตรีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมตามชนบทในเมืองบันดุง ชวาตะวันตก และนูซาเติงการาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย

 

ไบเออร์ดำเนินโครงการสนับสนุนในแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือสตรีที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่สร้างความเจ็บปวดที่พบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ถึง 10% ทั่วโลก ซึ่งมีผู้หญิงเป็นจำนวนมากที่ไม่พยายามเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากมีความเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ ผู้หญิงจำนวนมากยังประสบกับ ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) ซึ่งเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายของผู้หญิง โดยที่รังไข่ผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (ฮอร์โมนเพศชาย) ในปริมาณมาก ซึ่งปกติแล้ว ฮอร์โมนชนิดนี้มักพบในผู้หญิงในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

 

“ด้วยความเป็นผู้นำในด้านการดูแลสุขภาพสตรี กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ ยังคงสนับสนุนผู้หญิงทั่วเอเชียแปซิฟิกในการวางแผนครอบครัว และยังให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนต่างๆ ของวงจรชีวิตการเจริญพันธุ์อีกด้วย เรามุ่งมั่นทุ่มเทในโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยต่างๆ เพื่อเปลี่ยนกระบวนการรักษา จากการดูแลรักษาตามอาการเจ็บป่วยแบบดั้งเดิมและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นหลัก ไปสู่การดูแลเพื่อป้องกันโรคที่ให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางที่มีความยั่งยืนมากขึ้น” ดร.อิง เฉน กล่าว