เปิดยอดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก." เขตไหนมากสุด เช็คที่นี่!

เปิดยอดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก." เขตไหนมากสุด เช็คที่นี่!

เปิดยอด "ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง" ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก.รายเขต พื้นที่ไหนมากที่สุด-น้อยสุด ก่อนถึงวันหย่อนบัตร 22 พ.ค.65 เช็คที่นี่!

นับถอยหลังการเลือกตั้งสมาชิกสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น 4 สนามตั้งแต่ "ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก.นายกเมืองพัทยา-สมาชิกสภาเมืองพัทยา" ในวันที่ 22 พ.ค.65 

ขณะนี้โรดแมพจัดเลือกตั้งในขั้นตอนต่อไปภายหลังเปิดรับสมัครเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 4 เม.ย.65 วันที่ 11 เม.ย.65 จะมีกาศประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครเลือกตั้ง จากนั้นวันที่ 26 เม.ย.65 จะประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต่อมาวันที่6 พ.ค.65 เป็นวันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน 

โดยเฉพาะวันที่ 15-21 พ.ค.65 หรือก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน เป็นช่วงที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้อง แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จากนั้นวันที่ 22 พ.ค.65 เป็นวันเลือกตั้ง "กทม.-พัทยา" ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. 

จากนั้นระหว่างวันที่ 23-29 พ.ค.65 หรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน เป็นข่วงที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อไม่ให้เสียสิทธิต่างๆ อาทิ การรัยสมัครเลือกตั้ง ส.ส. การการดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หรือดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แบ่งเป็น "เมืองพัทยา" บัตรใบแรกเลือกนายกเมืองพัทยา และใบที่สองเลือกสมาชิกสภาเมืองพัทยา ส่วน "กทม." มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบเช่นกัน แบ่งเป็น บัตรใบแรกเลือกผู้ว่าฯ กทม. และใบที่สองเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมานคร 

ขณะนี้เดียวกัน หน่วยงาน กทม.ได้เผยแพร่จำนวนประชากรผู้อาศัยในกรุงเทพฯ มีทั้งหมด 5,523,676 คน แบ่งเป็นเพศชาย 2,590,306 คน และเพศหญิง 2,933,373 คน โดยมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ที่ 4,374,131 คน (ข้อมูลคำนวณถึงวันที่ 22 พ.ค.65) แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 1,996,104 คน และเพศหญิง จำนวน 2,378,027 คน 

หากลงรายละเอียดราย เขตที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 10 อันดับ ดังนี้

1.เขตสายไหม ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 161,186 คน

2.เขตคลองสามวา ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 157,231 คน

3.เขตบางแค ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 155,429 คน

4.เขตบางเขน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 150,172 คน

5.เขตประเวศ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 138,552 คน

6.เขตลาดกระบัง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 137,585 คน

7.เขตหนอกจอก ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 134,444 คน

8.เขตดอนเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 132,724 คน

9.เขตจตุจักร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 126,121 คน

10.เขตหนองแขม ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 122,459 คน

นอกจากนี้สำหรับ เขตที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด 10 อันดับ ดังนี้

1.เขตสัมพันธวงศ์ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 17,316 คน

2.เขตบางรัก ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 29,961 คน 

3.เขตปทุมวัน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 30,993 คน

4.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 32,294 คน

5.เขตพระนคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 35,426 คน

6.เขตราชเทวี ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 48,587 คน

7.พญาไท ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 51,414 คน

8.เขตบางกอกใหญ่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52,614 คน

9.เขตคลองสาน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 53,157 คน

10.เขตวัฒนา ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 55,403 คน

ขณะที่จำนวน "หน่วยเลือกตั้ง" ในกรุงเทพฯ 50 เขตมีทั้งหมด 6,886 แห่ง แบ่งเป็นในอาคาร 2,992 แห่ง และในเต็นท์ 3,964 แห่ง