คว่ำ “ลดสเปก” ผู้ก่อตั้งพรรค  ปฏิบัติการณ์ “ตัดไฟ แต่ต้นลม"

คว่ำ “ลดสเปก” ผู้ก่อตั้งพรรค  ปฏิบัติการณ์ “ตัดไฟ แต่ต้นลม"

จับตาการพิจารณา ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง วันนี้ แม้จะเป็นหัวข้อที่ดูไม่สำคัญ คือ ลดเสปก ผู้ก่อตั้งพรรคการเมือง แต่สาระล้วนมีผลต่ออนาคตทางการเมือง ของผู้นำปัจจุบันอย่างยิ่ง

        ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องที่จะผ่านไปได้ง่ายๆ สำหรับการแก้ไข “คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม” ของผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมือง ตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... ที่กรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. จะพิจารณาและลงมติชี้ขาดในวันนี้

 

        เพราะเนื้อหาที่ถูกเสนอแก้ไข ตามคำเสนอของใน “ร่างแก้ไข” ฉบับ “อนันต์ ผลอำนวย” ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ พบว่ามีรายละเอียด ซับซ้อน เกินกว่าเจตนาเปิดโอกาสให้ “ประชาชน” มีส่วนร่วมทางการเมืองได้กว้างขวาง

คว่ำ “ลดสเปก” ผู้ก่อตั้งพรรค  ปฏิบัติการณ์ “ตัดไฟ แต่ต้นลม\"

        แม้เนื้อหาที่แก้ไข จะมีสาระที่เสนอให้ลดข้อจำกัด ใน 4 ประเด็น คือ 

 

        1. อายุผู้ร่วมก่อตั้งพรรค จากเดิมต้องอายุ 20ปี ลดให้เหลือ 18 ปี 

 

        2. ฐานคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค เดิมกำหนดให้นำคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม เช่นเดียวกับผู้สมัครส.ส และผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 

 

        3. เลิกข้อห้ามผู้ที่ถูกห้ามดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง 

 

        และ 4. เลิกบทบัญญัติว่าด้วยทุนประเดิมพรรค ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ที่ผู้ร่วมจัดตั้งต้องจ่าย ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ความหมายเชิงลึก มีมากกว่านั้น

        สำหรับไฮไลต์ที่ต้องจับตาในการพิจารณาของ "กมธ.” คือ การลดสเปก ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ที่ให้ใช้ มาตรา 96 ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 

 

        คือ เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช อยู่ระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีถึงที่สุดหรือไม่ ถูกคุมขัง วิกลจริต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ แทน แทนมาตรา 98ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ลงสมัคร ส.ส. ได้แก่ (1) (2) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (14) (16) (17) หรือ (18)

        โดย กมธ.มีความเห็นแย้งและแตกต่างกัน ทำให้ในวงประชุมต้องถกกันถึง 2 รอบ ก่อนให้คณะทำงานของกมธ.ฯ ยกร่างเนื้อหากลับมานำเสนอ โดยแจกแจงรายละเอียด รวม14 ประเด็น

คว่ำ “ลดสเปก” ผู้ก่อตั้งพรรค  ปฏิบัติการณ์ “ตัดไฟ แต่ต้นลม\"

        ผลการพิจารณาในชั้นคณะทำงาน มีประเด็นที่เป็นข้อยุติแล้ว คือ 

        1. ข้อห้ามตาม มาตรา 98 (7) ที่ห้ามผู้ต้องโทษจำคุก และยังไม่พ้นโทษไม่ถึง 10 ปี ร่วมก่อตั้งพรรค แก้ไขลดหย่อนให้ ใช้เกณฑ์พ้นโทษมาแล้ว 5 ปี 

         2. ห้ามคนทุจริตเลือกตั้งตามคำพิพากษา ตาม (11) 3.มาตรา 98 (14) คงหลักการห้าม ส.ว. หรือ ส.ว.ที่พ้นตำแหน่งไม่เกิน 2 ปี เช่นเดียวกับ (16) ที่ห้ามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการองค์กรอิสระ ร่วมก่อตั้งพรรค และ (9) ห้ามคนที่ถูกพิพากษาว่าร่ำรวยผิดปกติหรือจำคุกตามความผิดว่าด้วยการปราบโกง

 

        นอกจากนั้น ใน (10) ที่รวมข้อห้ามของบุคคลที่กระทำความผิดใน 6 กฎหมาย คณะทำงานได้แยกประเด็นออกเป็นข้อย่อย ซึ่งมีข้อสรุปที่ จะยังห้ามคนผิดฐานฟอกเงิน ค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด ร่วมก่อตั้งพรรค แต่กรณีฉ้อโกงประชาชน การพนัน ผิดในตำแหน่งราชการ พนักงานของรัฐ ยังต้องกำหนดเกณฑ์และเขียนรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะมีขอบเขตแค่ไหน

คว่ำ “ลดสเปก” ผู้ก่อตั้งพรรค  ปฏิบัติการณ์ “ตัดไฟ แต่ต้นลม\"

         ส่วนประเด็นที่ต้องการอภิปรายและใช้การลงมติชี้ขาด อาทิ (1) ติดยาเสพติดให้โทษ (5) อยู่ระหว่างระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราวหรือเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (6) ต้องคำพิพากษาจำคุกหรือถูกขุมขังโดยหมายศาล (17) อยู่ระหว่างห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องรอการอภิปรายและลงมติตัดสินอีกครั้ง

 

         สำหรับทิศทางของเรื่องนี้ แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ “กมธ.ซีกฝ่ายค้าน” สนับสนุนทุกข้อ “กมธ.ซีกฝ่ายรัฐบาล” เห็นด้วยบางข้อ


           ส่วน “กมธ.ซีก ส.ว.” ภาพรวมไม่เห็นด้วยทุกข้อ และสะท้อนความกังวลว่าจะนำไปสู่ 1. การขัดหลักการ 2.เปิดช่องลบล้างคำสั่งศาล ที่ลงโทษ “นักการเมือง” และ 3.ทำให้พรรคการเมืองซึ่งตั้งใหม่ ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ร่วมอุดมการณ์ หากตัด “การลงขันทุนประเดิม” เพราะคือจะเปิดช่องให้“นายทุน” ฮุบพรรค และทำให้ “คนๆ เดียว” มีอำนาจเหนือสมาชิก

 

         ทว่า การตัดสินในแต่ละประเด็น ยังจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และถอดความของบทบัญญัติว่า จะหมายความว่าเอื้อประโยชน์ให้ “นักการเมืองที่ถูกลงโทษ” ในคดีการเมือง ซึ่งเป็นฝ่ายที่ “ผู้มีอำนาจ” ไม่ต้องการ เข้ามาโลดเล่นในเวทีการเมืองระดับชาติหรือไม่

คว่ำ “ลดสเปก” ผู้ก่อตั้งพรรค  ปฏิบัติการณ์ “ตัดไฟ แต่ต้นลม\"

         หากคำตอบของประเด็นนี้ คือระแวง และหวาดกลัวว่าจะเป็นหนทางอิสระให้มี “คนขวางทางเข้าสู่อำนาจ” ของ 
“ขั้วอำนาจปัจจุบัน” ดังนั้นทิศทางที่พอเดาได้ คือใช้เสียงข้างมาก“คว่ำ”ในชั้นกรรมาธิการ น่าจะดีที่สุด.