“ผู้นำฝ่ายค้าน” บทพิสูจน์ “ชลน่าน” ลบครหา “ดีลลับ”-กู้หน้า “เพื่อไทย"

“ผู้นำฝ่ายค้าน” บทพิสูจน์ “ชลน่าน” ลบครหา “ดีลลับ”-กู้หน้า “เพื่อไทย"

งานสภาฯ ด้านการตรวจสอบรัฐบาล ทั้ง การอภิปรายทั่วไป - การอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะเป็น เวทีบทพิสูจน์ บทบาท "ชลน่าน ศรีแก้ว" ฐานะผู้นำฝ่ายค้านคนใหม่ ที่ไม่ใช่แค่หวังผล โชว์ฝีปาก แต่ต้องเป็นการกู้หน้า "เพื่อไทย" กู้ชื่อ ฝ่ายค้านในเวทีเลือกตั้งครั้งหน้า

        ประวัติศาสตร์การเมืองไทย จารึกไว้แล้วว่า “นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว” ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย คือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 9 ต่อจาก “สมพงษ์​ อมรวิวัฒน์" ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย

 

        หลังเจ้าตัวเข้ารับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 มกราคม 2565 โดยมีสักขีพยานเป็น ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน และข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาฯ

“ผู้นำฝ่ายค้าน” บทพิสูจน์ “ชลน่าน” ลบครหา “ดีลลับ”-กู้หน้า “เพื่อไทย\"

        ถือเป็นเรื่องต้องจับตาต่อไปในบทบาท “ผู้นำฝ่ายค้าน” ว่า จะพลิกฟื้น กู้ความเชื่อมั่น ในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาฯ ตรวจสอบรัฐบาลให้พ้นจากข้อครหา “ดีลลับ-ดีลพิเศษ” ได้หรือไม่

 

        กับงานที่จะเป็นบทพิสูจน์ ชิ้นแรก คือ การอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ที่เตรียมนัดยื่นญัตติ ต่อ “ชวน หลีกภัย” ประธานสภาฯ ในวันพรุ่งนี้

 

        ตามผลหารือของแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านเมื่อ 19 มกราคม กำหนดประเด็นอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติใน 3 ประเด็นหลัก คือ 

 

        1. วิกฤติสินค้าราแพง 2. วิกฤติโรคระบาด ทั้ง โควิด-19 และ โรคระบาดสัตว์ 3. วิกฤติการเมืองและการปฏิรูปการเมือง การกระจายอำนาจ

        และ อีก 1 ประเด็นที่เป็นปลายเปิดไว้ เพื่อรอจังหวะ หากเรื่องที่ตั้งโจทย์ เช่น เหมืองทองอัครา ปัญหาชาวประมง การใช้งบไม่เหมาะสม มีเรื่องทำให้อุณหภูมิทางการเมือง และสังคมร้อนฉ่า เชื่อว่าจะถูกยกมาเป็น หัวข้ออภิปรายเพิ่มเติม

“ผู้นำฝ่ายค้าน” บทพิสูจน์ “ชลน่าน” ลบครหา “ดีลลับ”-กู้หน้า “เพื่อไทย\"

 

        แม้การอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติจะไม่มีผลชี้วัดด้วยการลงมติจาก “สมาชิกแห่งสภาฯ” ทว่า ญัตติที่ฝ่ายค้านขอเปิดประชุม จะเป็นเวทีฉากใหญ่ที่ “ขุนพลฝ่ายค้าน” จะโชว์ให้ประชาชนได้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาล ต่อการบริหารประเทศ แก้ปัญหาให้ประชาชน และฟื้นฟูประเทศจากวิกฤติต่างๆ

 

        ที่หวังผลไว้ในรอบนี้คือ ขยี้ความเจ็บช้ำของประชาชน เพิ่มความโกรธแค้นในรัฐบาล ที่ตั้งต้นมาจากการปฏิวัติ และ ไม่ให้ความไว้วางใจ คืนสู่การบริหารประเทศอีก ในการเลือกตั้งครั้งถัดไป

 

        นอกจาก “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะเป็น “ตำบลกระสุนตก” ในการเปิดเวทีอภิปรายทั่วไปครั้งนี้

 

        สิ่งที่ “ฝ่ายค้าน” จะพลาดไม่ได้คือ การฉายภาพความขัดแย้งของ “พรรคร่วมรัฐบาล” ทั้งจาก “แกนนำพรรคประชาธิปัตย์” กับ “แกนนำพรรคพลังประชารัฐ” หรือจาก “พรรคภูมิใจไทย” ที่นำไปสู่จุดวิบัติของปัญหาทางเศรษฐกิจ-สังคม

“ผู้นำฝ่ายค้าน” บทพิสูจน์ “ชลน่าน” ลบครหา “ดีลลับ”-กู้หน้า “เพื่อไทย\"

        เพื่อสะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของรัฐบาลชุดปัจจุบัน แบบครบเครื่อง

 

        อย่างไรก็ดี การอภิปรายหลายครั้งที่ผ่านมา แม้ “พรรคเพื่อไทย” จะทำการบ้านมาดี จั่วหัวการซักฟอกแต่ละครั้งแบบหวือหวา แต่พอขึ้นเวทีอภิปราย น้ำหนักเบาหวิว

        จนมีคนมองว่า การอภิปรายของ “ส.ส.เพื่อไทย" เหมือนกับ “ตีงูให้หลังหัก” ไม่สามารถลดเครดิต “รัฐบาล” ได้จริง

 

        ซึ่งผลงานนี้ชี้วัดได้จากผลการเลือกตั้งซ่อมใน 8 พื้นที่ ทั้ง ลำปาง เขต 4 เมื่อ 20 มิ.ย.63, เชียงใหม่ เขต 8 , นครปฐม เขต 5 , ขอนแก่น เขต 7 , กำแพงเพชร เขต 2  , นครศรีธรรมราช เขต 3  , สงขลา เขต 6 และ ชุมพร เขต 1 ที่คนของ “พรรคฝ่ายค้าน”​ ไม่เคยเอาชนะ “ฝ่ายรัฐบาล” ได้สักพื้นที่

“ผู้นำฝ่ายค้าน” บทพิสูจน์ “ชลน่าน” ลบครหา “ดีลลับ”-กู้หน้า “เพื่อไทย\"

        มิหนำซ้ำ ยังปล่อยให้ “ลูกพี่ใหญ่ จากพรรครัฐบาล” แว้งมาลักเสียงของฝ่ายค้านไปได้อีกในหลายครั้งหลายครา

 

        ดังนั้น บทบาทของ “ชลน่าน” ภายใต้หมวกของผู้นำฝ่ายค้าน คงไม่ใช่แค่การได้ชื่อว่าเป็น “ผู้นำ” เท่านั้น แต่ต้องเป็น “เสาหลัก” ของพรรคฝ่ายค้าน ที่จะพลิกฟื้นความเชื่อมั่น และศรัทธาให้กลับคืนมา

 

        ด้วยการใช้เวทีของสภาฯ ให้เป็นเหมือนเวทีเดียวกันกับการแข่งขันเลือกตั้ง โดยมีเวทีการเลือกตั้งซ่อม กทม.เขต 9 และลำปาง เขต 4 เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ.