"ปธ.วุฒิสภา" ตำหนิ "จนท." เขียนสรุปร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ให้ "ส.ว." ผิด

"ปธ.วุฒิสภา" ตำหนิ "จนท." เขียนสรุปร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ให้ "ส.ว." ผิด

"วุฒิสภา" เสียงเอกฉันท์ เห็นชอบร่างแก้ไขพ.ร.บ.เครื่องราชฯ หลังตั้งกมธ.เต็มสภาฯ พล "ส.ว." โวย เจ้าหน้าที่เขียนเอกสารสรุปเนื้อหาผิด "พรเพชร" ต้องตำหนิกลางที่ประชุม

          ที่ประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้ลงมติเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่...) พ.ศ...  ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 194 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง หลังจากที่ใช้เวลาพิจารณา 3 วาระรวด และใช้กรรมาธิการพิจารณาแบบเต็มสภา

 

 

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในระหว่างการพิจารณาในวาระสอง เรียงตามลำดับมาตรานั้น พบข้อผิดพลาด ที่ทำให้นายพรเพชร ต้องตำหนิเจ้าหน้าที่ในที่ประชุมว่า "สงสัยทำไม เจ้าหน้าที่ของเรา เขียนมาตราผิดแล้วนำมาแจก ทั้งนี้ไม่เคยมีการแก้ไขมาโดยตลอดตั้งแต่ชั้นสภาผู้แทนราษฎร”

 

            ทั้งนี้กรณีดังกล่าวเกิดจากกกรณีที่กำหนดให้ร่างกฎหมายมีผลบังคับใช้ ตามเนื้อหากำหนดให้มีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่รายงานที่เจ้าหน้าที่เสนอต่อส.ว. เพื่อใช้พิจารณาประกอบการพิจารณา ได้เขียนเนื้อหาที่ไม่ตรงกับเนื้อความดังกล่าว ทำให้การอภิปรายของนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ส.ว. ต้องผิดไปจากเนื้อหาของกฎหมาย และเขียนเนื้อความว่า บังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้ว 90 วัน และเรียกร้องให้มีการขอโทษจากเจ้าหน้าที่. 

         ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับสาระสำคัญดังกล่าว มีสาระสำคัญให้ยกเลิก มาตรา 9 และ มาตรา 10 ของ พ.ร.บ.เครื่องราชฯ พ.ศ.2484 ที่กำหนดต่อการสืบตระกูลเครื่องราชฯ ที่เป็นบุตรชายผู้สืบตระกูล ต่อจากบิดาผู้ที่ได้รับเครื่องราชฯ เสียชีวิต

 

             นอกจากนั้นยังกำหนดบทคุ้มครองผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ด้วยว่า  ให้ผู้ที่รับเครื่องราชฯ ตามมาตรา 9 และ มาตรา 10 ของพ.ร.บ.เครื่องราชฯ พ.ศ.2484 ก่อนวันที่ร่างพ.ร.บ.ที่แก้ไข ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามพ.ร.บ.เครื่องราชฯ พ.ศ.2484 ที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

             ทั้งนี้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฐานะตัวแทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา  ว่า เมื่อร่างแก้ไขบังคับใช้ สิ่งที่หายไปคือ การสืบตระกูล แต่ไม่กระทบต่อพระราชอำนาจพระราชทาน ทั้งนี้บทเฉพาะกาลมาตรา 4 จึงต้องเขียนไว้ ส่วนกรณีที่การสืบตระกูลสิ้นสุด ยกเว้นคนที่ได้เป็นคนสุดท้ายก่อนที่กฎหมายใช้บังคับ เมื่อกฎหมายใช้บังคับ คนที่อยู่ในลำดับหลังปู่หรือบิดาเสียชีวิต อนาคตต้องพระราชทานสืบตระกูลรอตามลำดับ เมื่อกกฎหมายที่แก้ไข บังคับใช้ การสืบตระกูลไม่เกิดขึ้นและลบลำดับทันที ยกเว้นคนที่ได้รับพระราชทานสืบตระกูล รายสุดท้าย เมื่อปี 2550