10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน "ศึกใน-ศึกนอก" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน "ศึกใน-ศึกนอก" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

เจาะ 10 ไฮไลท์เด่น "การเมือง" ปี 2564 ก่อนก้าวข้ามสู่ปี 2565 กับสถานการณ์ร้อน "ศึกใน-ศึกนอก" รัฐบาลปะทุเดือดตลอดปี

ตั้งแต่เข้าปีที่ 3 การบริหารประเทศในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ภายหลังผ่านการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2562 กลายเป็นขวบปี 2564 ที่มีสถานการณ์ร้อนแรงทางการเมือง โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2563

ไม่ใช่แค่การชุมนุมประท้วงรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่ในปี 2564 ยังมีการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งสื่อมวลชนรัฐสภายกให้เป็น "เหตุการณ์เด่นแห่งปี" ต่อกระแสข่าว "แผนกบฎการเมืองล้มนายกรัฐมนตรี" เมื่อช่วงปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลฝ่ายค้านยื่นซักฟอก 6 รัฐมนตรี 

เมื่อไฮไลท์สำคัญกลับอยู่ที่นอกห้องประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อมีรายงานข่าวว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น เดินสายล็อบบี้ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ให้ลงมติไม่ไว้วางใจพล.อ.ประยุทธ์ แต่ความลับนี้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน กลายเป็นข่าวใหญ่โต ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ลูกพรรคเดินเกมล็อบบี้ส.ส.ในพรรคของตัวเอง เพื่อโค่นล้มนายกรัฐมนตรี

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

แรงเสียดทานทางการเมือง ครม.ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นสถานการณ์ที่น่าจับตาเพียงอย่างเดียว  "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวม 10 เหตุการณ์การเมืองร้อนตลอดปี 2564 ซึ่งมีทั้งสถานการณ์ "ศึกใน-ศึกนอก" ก่อนก้าวข้ามสู่ปี 2565 ซึ่งจะเป็นปีสุดท้ายในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ จนไปถึงสิ้นสุดวาระวันที่ 23 มี.ค.2566

1.นายกฯ ปลด "ธรรมนัส-นฤมล" พ้น ครม.

เป็นอาฟเตอร์ช็อคทางการเมืองลูกใหญ่ในปี 2564 ต่อจากกระแสเดินเกมล็อบบี้ ส.ส.รัฐบาล ให้ลงมติไม่ไว้วางใจนายกฯ โดยเมื่อวันที่ 9 ก.ย.2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตอนหนึ่งว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กราบบังคมทูลว่า สมควรให้รัฐมนตรีบางคนพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เพื่อความเหมาะสมและบังเกิดประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ร.อ.ธรรมนัสพรหมเผ่า พ้น รมช.เกษตรและสหกรณ์ พ่วงด้วย นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ พ้น รมช.แรงงาน ทำให้จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีมาดำรงตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ และรมช.แรงงาน 

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

2.สภาล่มฯ 8 ครั้ง

ใครจะเชื่อว่าการประชุมรัฐสภาที่มีตัวแทน ส.ส.อาสาเข้าไปทำหน้าที่ "ผู้แทนราษฏร" จะมีเหตุการณ์ "สภาล่ม" ในปี 2564 มากที่สุดถึง 8 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขจำนวนสภาล่มมากที่สุดตั้งแต่มีสภาชุดนี้ ภายหลังการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.2562 โดยเหตุการณ์สภาล่มในปี 2564 มีดังนี้

ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 30 มิ.ย.2564 ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่...) พ.ศ... 

ครั้งที่สอง วันที่ 1 ก.ค.2564 ระหว่างจะพิจารณาญัตติด่วนแก้โควิด

ครั้งที่สาม วันที่ 10 ก.ย.2564 ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... 

ครั้งที่สี่ วันที่ 17 ก.ย.2564 ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

ครั้งที่ห้า วันที่ 3 พ.ย. 2564 ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพยาน 

ครั้งที่หก วันที่ 17 พ.ย. ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (ฉบับที่...) พ.ศ.... 

ครั้งที่เจ็ด วันที่ 15 ธ.ค. ระหว่างการพิจารณาร่าง   พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 

ครั้งที่แปด วันที่ 17 ธ.ค. ระหว่างพิจารณารายงานผลพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ 

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

3.ม็อบชุมนุมใหญ่ยาวข้ามปี

การชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2564 ยังต่อเนื่องข้ามปีตั้งแต่ปี 2563 นอกจากเป็นการเคลื่อนไหวประท้วงต่อต้านรัฐบาลแล้ว ในปี 2564 แกนนำผู้ชุมนุมได้ยกระดับการเรียกร้องแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งเป็นคดีที่แกนนำผู้ชุมนุมถูกเรียกข้อกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาทิ พริษฐ์ชิวารักษ์ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อานนท์ นำภา 

ขณะเดียวกันในปี 2564 ยังมีแนวร่วมชุมนุมเกิดขึ้นเคลื่อนไหวหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มคาร์ม็อบ นำโดย นายสมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มไทยไม่ทนฯ โดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ กลุ่มประชาคนไทย โดนนายนิติธร ล้ำเหลือ หรือกลุ่มทะลุแก๊ซ ซึ่งชุมนุมที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง มีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนและผู้ชุมนุมหลายเหตุการณ์

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

4.ตีตกร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับ "Re-Solution"

เป็นเหตุการณ์สำคัญต่อการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ที่เสนอโดยกลุ่ม Re-Solution และประชาชนที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งร่วมกันลงรายชื่อขอแก้ไรัฐธรรมนูญจำนวน 135,247 คน โดยเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ประชุมร่วมรัฐสภา มีมติ 473 ต่อ 206 และงดออกเสียง 6 เสียง ไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ "Re-Solution" เนื่องจากเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภา แต่เหตุการณ์ในครั้งนั้นเรียกเสียงฮือฮา จากกรณีมีเสียงที่รับหลักการจาก 3 ส.ว. ประกอบด้วย นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นายมณเฑียรบุญตัน และนายพิศาล มาณวพัฒน์

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

5.พิพากษาคดี 38 แกนนำ กปปส.ในคดีชุมนุมเมื่อปี 2556-2557 

เป็นการต่อสู้คดีมายาวนานหลายปี จนวันที่ 24 ก.พ.2564 ศาลอาญาพิพากษาคดีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการกลุ่มกปปส. กับพวกรวม 39 คน ในคดีกระทำความผิดชุมนุมเมื่อปี 2556-2557 อาทิ ร่วมกันกบฏ, อั้งยี่, ซ่องโจร, กระทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือความไม่สงบ, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ, ยุยงให้ร่วมกันหยุดงาน , ร่วมกันบุกรุก, สนับสนุนกบฏ, ขัดขวางการเลือกตั้งฯ ซึ่ง พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ แกนนำกปปส.โดยเป็นจำเลยที่ 11 ได้เสียชีวิตแล้วทำให้เหลือผู้ที่ถูกพิพากษาเหลือ 38 คน

สำหรับจำเลย 3 ใน 38 มีชื่อผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 3 คนประกอบด้วย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจฯ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ และนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ซึ่งทั้ง 3 รายต้องพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีทันที ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 160 (7) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 166 (7)

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 5 กปปส. ประกอบด้วย นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ให้พ้นจากเก้าอี้ ส.ส. ภายหลังถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

6.ม็อบชุมนุม 10 ส.ค.2553 "ล้มล้างการปกครองฯ 

เหตุการณ์นี้มาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 พ.ย.2564 กรณีที่นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของกลุ่มแกนนำแนวร่วม “ม็อบราษฎร” ได้แก่ นายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก และน.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จากการปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2563 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่ 

ในคดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พฤติการณ์ในการปราศรัยของผู้ถูกร้องที่ 1-3 ในวันที่ 10 ส.ค.2563 และพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องที่1-3 ต่อเนื่อง แสดงให้เห็นมูลเหตุจูงใจของผู้ถูกร้องที่ 1-3 ว่าการใช้สิทธิหรือเสรีภาพโดยมีเจตนาซ่อนเร้นในการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มิใช่เป็นการปฏิรูป และเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต มีการละเมิดกฎหมาย มีมูลเหตุจูงใจล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

7.รับฟ้อง "วิรัช รัตนเศรษฐ" ประธานวิปรัฐบาล คดีทุจริตสนามฟุตซอล จ.นครราชสีมา

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นวันที่ 2 พ.ย.2564 เมื่อศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง มีคำสั่งประทับรับฟ้องนายวิรัชรัตนเศรษฐ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และประธานวิปรัฐบาล กับพวกรวม 87 คน ในคดีทุจริตสนามฟุตซอล จ.นครศรีธรรมราช ในสมัยที่นายวิรัชยังเป็น ส.ส.สังกัดพรรคเพื่อไทย ทำให้นายวิรัชต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 11 

ไม่ใช่แต่นั้นในปีนี้ "วิรัช" ยังติดชื่อเป็น "ดาวดับแห่งปี" จากการตั้งฉายาโดยสื่อมวลชนรัฐสภา ประจำปี 2564 ในฐานะอดีตประธานวิปรัฐบาลซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาท สมาชิกทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างให้ความเชื่อถือและความเกรงใจ แต่ปรากฎว่าบทบาทของนายวิรัช ในฐานะประธานวิปรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมา การควบคุมส.ส.ภายในพรรคพลังประชารัฐ และส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธภาพ หลายครั้งเกิดเหตุความขัดแย้งระหว่างส.ส.ภายในพรรคพลังประชารัฐ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

8.แก้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2564 

เป็นความชัดเจนในการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญในสภาต่อการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และกำหนดสัดส่วน ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งเว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 21 พ.ย.2564 

สำหรับสาระของรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่1) พ.ศ.2564 มีเนื้อหาสำคัญดังนี้ 

มาตรา 83 ให้สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก จำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และ สมาชิกมาจากเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และให้มีบัตรเลือกตั้ง2ใบ

มาตรา 86 ว่าด้วยการกำหนดจำนวน ส.ส.พึงมีแต่ละจังหวัด ได้แก้ไขตัวเลข ส.ส. ให้สอดคล้องกับจำนวนเขต 400 เขต 

มาตรา 91 ว่าด้วยการคำนวณสัดส่วนผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง โดยระบุให้ใช้คะแนนที่พรรคได้รับเลือกตั้งรวมกันทั้งประเทศ มาคำนวณเพื่อแบ่งจำนวน ผู้ได้รับเลือกตามสัดส่วนที่สัมพันธ์กับคะแนนรวมของพรรค และให้ผู้ที่อยู่ในบัญชีผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงลำดับหมายเลข

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564 9.ชิงเปิดนโยบายผู้สมัครเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. 

การเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นถัดไปนั้น ถูกโฟกัสไปที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ภายหลังว่างเว้นการเลือกตั้งทิ้งระยะห่างจัดเลือกตั้งมานาวนานกว่า 8 ปีเศษ ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2556 แต่ขณะนี้กระแสเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.กลับมาคึกคักอีกครั้ง ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์ เปิดตัว "ดร.เอ้" สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าสู่สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. รวมแล้วมีผู้ประกาศตัวลงสมัครรับเลือกตั้งขณะนี้ 3 คน ประกอบด้วย 1.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สังกัดอิสระ เปิดตัว 30 พ.ย.2562 2.รสนา โตสิตระกูลสังกัดอิสระ เปิดตัว 13 ธ.ค.2562 และ 3.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เปิดตัว 13 ธ.ค.2564 

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564

ขณะที่ "พรรคก้าวไกล" ซึ่งเป็นพรรคที่มาจากพรรคอนาคตใหม่ มีคะแนนป๊อบปุล่าโหวตมากที่สุดในกรุงเทพฯ เมื่อการเลือกตั้ง 24 มี.ค.2564 จะนัดหมายเปิดตัวผู้สมัครในวันที่ 23 ม.ค.2565 โดยมีกระแสข่าวว่า จะเคาะเลือกนายสันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ การเงิน ผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยี อีคอมเมิร์ซชื่อดัง บุตรชายนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ให้ลงมาสมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามของพรรคก้าวไกล 

10.เปิดตัวพรรคการเมืองหน้าใหม่

ตลอดปี 2564 ถือว่าเป็นปีที่มีการเปิดตัวพรรคการเมืองหน้าใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นไปตามกระแสข่าวเตรียมพร้อมการเลือกตั้งในปี 2566 หรือรองรับหากมีเหตุยุบสภาในปี 2565 ซึ่งในปี 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมืองอาทิ พรรคไทยสร้างไทย เมื่อวันที่ 2 ก.ค. พรรคไทยภักดี เมื่อวันที่ 4 พ.ย. พรรคไทยสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.เป็นต้น

10 ไฮไลท์เด่นการเมืองร้อน \"ศึกใน-ศึกนอก\" รัฐบาล ปะทุเดือดตลอดปี 2564