ก้าวไกล จี้ 5ข้อเยียวยาโควิด เร่งจัดหาวัคซีนmRNA-ฉีดแอสต้าตามเป้า 10ล้านโดส

ก้าวไกล จี้ 5ข้อเยียวยาโควิด เร่งจัดหาวัคซีนmRNA-ฉีดแอสต้าตามเป้า 10ล้านโดส

ก้าวไกล จี้ 5ข้อเยียวยาโควิด เร่งจัดหาวัคซีนmRNA-ฉีดแอสต้าตามเป้า 10ล้านโดส

ที่พรรคก้าวไกลนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกลแถลงข้อสั่งการต่อรัฐบาล กรณีการแพร่ระบาดของโควิด - 19ว่า สถานการณ์ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยที่รักษาอยู่เพิ่มขึ้นสะสมรวดเร็วมาก วันที่ 3 ก.ค. มีผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมากถึง 57,470 คน โดยในวันที่ 30 มิ.ย.-3 ก.ค. มีผู้ติดเชื้อใหม่มากกว่าผู้ที่หายป่วยกลับบ้านถึงวันละ 2,371 คน 2,310 คน 2,449 คน และ 3,071 คน ตามลำดับ ดังนั้น รัฐบาลจะปล่อยให้อยู่สภาพเต่าคลานที่ไม่ปรับเปลี่ยนไม่ได้

สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่รอเตียงตกค้างสะสมเป็นจำนวนมาก และกว่าประชาชนจะได้เตียงอาการก็หนักขึ้น ซึ่งสังเกตได้ว่า จำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสนามไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก แต่จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชันมาก

“แพทย์และพยาบาลเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยจำนวนที่มากขึ้น ก็อยู่ในสภาวะ Overload ทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะปล่อยให้สภาพที่จำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าจำนวนผู้ที่หายกลับบ้าน วันละ 2-3 พัน คน ดำรงอยู่ภายใต้นโยบายในการจัดการแบบเดิมไม่ได้” นายวิโรจน์ ระบุ

โฆษกพรรคก้าวไกล ยังตั้งคำถามถึง การส่งมอบวัคซีน AstraZeneca ที่มีกำหนดต้องส่งมอบในเดือน มิ.ย. ที่ 6,333,000 โดส จากข้อมูลที่ปรากฎในระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับโซ่ความเย็น ที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงอว. พบว่ามีการส่งมอบเพียง 5,371,100 โดส เท่านั้น ยังขาดการส่งมอบอีก 961,900 โดส ยอดที่ขาดส่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลจะต้องไปเร่งติดตามมาให้ได้ เพราะหมายถึงเกือบ 1 ล้านชีวิตของประชาชนคนไทย

"ที่น่ากังวลก็คือ ข่าวที่เพิ่มเติมออกมาว่า ตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นไป AstraZeneca Thailand จะเริ่มส่งออกวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ โดย 1 ใน 3 ของกำลังการผลิต จะสำรองไว้ให้กับประเทศไทย นั่นหมายความว่าจากกำลังการผลิต 180-200 ล้านโดสต่อปี หรือ 15-17 ล้านโดสต่อเดือน AstraZeneca Thailand จะส่งมอบให้กับประเทศไทยเพียงแค่ 5-6 ล้านโดสต่อเดือนเท่านั้น"

นายวิโรจน์ ยืนยันว่า ประเทศไทยมีความชอบธรรมที่จะได้รับวัคซีนจาก AstraZeneca Thailand เดือนละ 10 ล้านโดส ส่วนที่เหลืออีก 5-6 ล้านโดส AstraZeneca Thailand จึงสามารถนำไปส่งออกไป การที่ AstraZeneca Thailand จะส่งมอบให้กับประเทศไทยเพียงแค่ 5 ล้านโดสต่อเดือน เป็นการไม่ยุติธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงิน 600 ล้านบาท

จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน รัฐบาลรู้อยู่แก่ใจว่า สถานการณ์การระบาดขณะนี้ ประเทศกำลังเผชิญหน้ากับเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าในพื้นที่ กทม. แล้วถึง 70% และคาดการณ์ว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในพื้นที่ กทม. ในเดือน ก.ค.-ส.ค. นี้ ที่น่ากังวลคือ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญออสเตรเลียที่ระบุว่า เชื้อสายพันธุ์เดลต้าสามารถแพร่จากคนสู่คน โดยใช้เวลาเพียงแค่ 10 วินาที เท่านั้น แต่แทนที่รัฐบาลจะเร่งจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อกลายพันธุ์ โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์เดลต้า รัฐบาลกลับยังคงยืนกรานที่จะจัดซื้อวัคซีน Sinovac

" ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลจึงดึงดันที่จะจัดซื้อวัคซีน Sinovac เพิ่มเติมอีก 28 ล้านโดส ซึ่งหากพิจารณาราคาก็ไม่ใช่ว่าจะถูก จากราคาที่เคยเปิดเผยผ่านสื่อคือ 549.01 บาท จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 64 ที่ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีน Sinovac 500,000 โดส วงเงินรวม 290.24 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าวัคซีน 271.25 ล้านบาท และเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 18.99 ล้านบาท  ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในการฉีดวัคซีน 31.36 ล้านบาท นั่นหมายความว่า วัคซีน 1 โดส จะต้องใช้งบประมาณเท่ากับ 643.2 บาท”"

นายกวิโรจน์ ยังกล่าวว่า ด้วยข้อมูลประสิทธิผลในการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนชนิด mRNA ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่เป็นทางการที่มีอยู่เต็มไปหมดจากทั่วโลก เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะไม่รับรู้ ด้วยเหตุนี้แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนที่ติดตามข้อมูลข่าวสาร จึงมีข้อสงสัยอย่างมากว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เคยกระตือรือร้นที่จะจัดหาวัคซีนชนิด mRNA เลย ไม่เคยที่จะเร่งรัดกดดันให้ AstraZeneca Thailand ส่งมอบวัคซีนให้ครบตามแผนการส่งมอบ

คำถามที่ก้องอยู่ในหัวใจของประชาชนในตอนนี้คือ ทำไมการสั่งซื้อวัคซีนยี่ห้ออื่นจึงไม่เร็วเหมือนกับวัคซีน Sinovac ที่เหมือนไม่มีการติดขัดใดๆ เลย ทุกอย่างผ่านฉลุย รัฐบาลไม่สามารถอ้างได้ว่าความล่าช้านั้นเกิดจากการที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอน เพราะกรณีของวัคซีน  สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วได้คำถามที่ก้องอยู่ในหัวใจของประชาชนในตอนนี้คือ ทำไมการสั่งซื้อวัคซีนยี่ห้ออื่นจึงไม่เร็วเหมือนกับวัคซีน Sinovac ที่เหมือนไม่มีการติดขัดใดๆ เลย ทุกอย่างผ่านฉลุย รัฐบาลไม่สามารถอ้างได้ว่าความล่าช้านั้นเกิดจากการที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอน เพราะกรณีของวัคซีน Sinopharm สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วได้

เรียกร้อง ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งดำเนินการ ตามที่ได้สั่งการไว้

1.การบริหารจัดการวัคซีน ให้ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีน พ.ศ. 2561 ในการบังคับให้ AstraZeneca Thailand ส่งมอบวัคซีนให้เป็นไปตามแผนการส่งมอบเดือนละ 10 ล้านโดส

2.การบริหารจัดการเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ของระบบสาธารณสุข และการดูแลชีวิตของประชาชน  ต้องเร่งดำเนินการมาตรการการกักตัวรักษาตนเอง หรือ Home Isolation โดยมีระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่ติดตามอาการ สั่งจ่ายยาโดยแพทย์ และมีระบบในการจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยถึงบ้าน มีระบบติดต่อฉุกเฉิน (Emergency Call) และมีระบบจัดส่งอาหาร (Food Delivery) ให้กับผู้ป่วยตลอดระยะเวลาที่กักตัวรักษาตนเองที่บ้าน

3.รัฐบาลควรเร่งตรวจเชิงรุกด้วย Rapid Antigen Test พร้อมกับอนุญาตให้ประชาชนได้เข้าถึงชุดตรวจที่ผ่านมาตรฐาน อย. เพื่อตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง เพื่อแยกผู้ติดเชื้อมารักษา สกัดกั้นการระบาด

4.รัฐบาลทราบอยู่แล้วว่า การจัดฉีดวัคซีนที่ล่าช้ามีมูลค่าความเสียหายสูงถึงเดือนละ 200,000 ล้านบาท ดังนั้นสถานการณ์วันนี้หนักกว่ามาก ประชาชนจึงควรได้รับเงินชดเชยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท รวมทั้งชดเชยความเสียหายให้กับผู้ประกอบกิจการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งการยกเว้นค่าน้ำ ค่าไฟ และชดเชยค่าเช่าสถานที่ โดยให้จ่ายชดเชยตามจริง โดยไม่เกินสัดส่วนหนึ่ง เช่น ร้อยละ 20 ของรายได้ ณ เดือนก่อนที่จะมีการระบาดระลอกที่ 3 เป็นต้น สำหรับร้านค้า หรือกิจการที่ถูกปิดไปก่อนหน้านี้ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลชดเชยย้อนหลังด้วย

สุดท้าย ขอเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดหลักเกณฑ์ในการล็อกดาวน์ และผ่อนคลาย โดยคำนึงถึงสถานการณ์การติดเชื้อและขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ แบบเป็นขั้นบันได เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงสถานการณ์ และวางแผนรับมือด้วยตนเองส่วนหนึ่งได้ และมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการคลี่คลาย และบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดด้วย