วิเคราะห์ 2 เหตุผล 'เมืองไทย' หลัง 14 ตุลา ไม่เหมือนเดิม

วิเคราะห์ 2 เหตุผล 'เมืองไทย' หลัง 14 ตุลา ไม่เหมือนเดิม

3 บก.วิเคราะห์ ม็อบ 14 ตุลา จะทำให้ “เมืองไทย” ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป “สังคมแตกแยกทางความคิดรุนแรง-แตกแยกเรื่องวัย” เหตุมีพวก “ค้าม็อบ” ชี้การชุมนุมที่เกิดขึ้นทุกเย็น “สะสมพลัง” รอประเด็นร่วมกลายเป็นม็อบขนาดใหญ่

รายการ “พูดตรง ๆ กับ 3 บก.” ดำเนินรายการโดย นายสมชาย มีเสน นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ ซึ่งออกอากาศเผยแพร่ทาง FB, Yutube กรุงเทพธุรกิจ และ FB, Yutube ฐานเศรษฐกิจ คืนวันศุกร์ที่ 16 ต.ค. 2563 เวลา 21.00 น. ที่ผ่านมา ได้วิเคราะห์การชุมนุมของกลุ่ม “คณะราษฎร 2563” ในวันที่ 14 ต.ค.2563 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

3 บก.ดำเนินรายการในรูปแบบการสนทนากัน เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า เมืองไทยหลังจาก14 ตุลานี้ จะเป็นอย่างไรที่ตั้งคำถามนี้เพราะว่ามีนักธุรกิจหลายคนติดต่อมาถามว่าหลัง 14 ตุลาคม จะเกิดอะไรขึ้น ต่อจากครั้งที่แล้วหลังจาก มุมมองครั้งที่แล้วเรื่อง “ผีเสื้อขยับปีก” หรือ Butterfly Effect ซึ่งหลังจากครั้งที่แล้วสิ่งที่เรากลัวก็กลายเป็นจริง ปรากฏการณ์วันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นปรากฏการณ์แรกของ “ผีเสื้อขยับปีก” เป็นการแสดงปฏิกิริยาของคนกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการนำไปสู่การปฏิรูป 3 ข้อตามความต้องการของเขา ซึ่ง 3 ข้อนั้น ตอนนี้ได้นำไปสู่ความบานปลาย ตอนนี้เขาว่ากันว่า นักธุรกิจ ข้าราชการระดับสูง เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ รวมแล้ว 40-50 คน

ตั้งคำถามแบบเดียวกันว่า ประเทศหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะปฏิกิริยาของม็อบ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า “เกิดเหตุการณ์ ภาพไม่เหมาะสม” และจะยังไงต่อ สิ่งที่ทุกคนกลัวที่สุด ต้องตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ ปรากฏการณ์ม็อบของเด็กจะเดินทางนำไปสู่ แบบเดียวกับ ฮ่องกงเอฟเฟกต์ หรือ ฮ่องกงโมเดลหรือไม่ คิดว่าคล้ายกันหมด ตอนนี้มันจะเลียนแบบอะไรที่มันใช้โมเดลรูปแบบเดียวกัน เพราะเดี๋ยวนี้โลกมันใกล้ชิดมาก มีเกิดที่นั่นก็จะเกิดการเลียนแบบผ่านทางออนไลน์ จะมีบทเรียนผ่าน Social Media เข้ามา

แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องตรงนั้น ที่ผมพูดว่าเมืองไทยหลัง 14 ตุลาคม จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะตอนนี้เกิดการแตกแยกในสังคมไทย วันนั้น 14 ตุลาคมที่ผ่านมา ไม่ใช่แค่ม็อบเดียว มีม็อบ 2 กลุ่ม 1. คือนักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่เรียกว่า “คณะราษฎร 63” ที่ไปร่วมต่อต้านรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์ และกลุ่มหนึ่งที่ใส่เสื้อเหลือง กลุ่มที่ 2 ซึ่งได้ไปดูเบื้องหลังทั้งหมดคือ กลุ่ม กปปส.เดิม คิดว่าใช่หรือไม่ อันนั้นคือกลุ่ม กปปส.แปลงร่าง ที่ดูเหมือนหลายกลุ่ม แต่ที่จริงแล้วก็คือกลุ่ม กปปส.เดิมที่ปฏิเสธไม่ได้เลย เมื่อลองไล่ดู กลุ่มสุวิทย์ ที่เป็นพุทธอิสระก็เป็น กปปส. เดิม กลุ่มไทยภักดีและ หมอวรงค์ กลุ่มหมอเหรียญทอง กลุ่มสุเทพ กลุ่มสถาบันทิศทางไทย ทั้งหมดถึงแม้จะแยกกลุ่ม แต่ก็คือ กลุ่มกปปส. เดิมที่แปลงร่าง

 ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มประชาชนที่ใส่เสื้อเหลืองที่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ มีคนถามเยอะว่ากลุ่ม กปปส.ที่หายไปนานทำไมถึงกลับมา โดยนายสุเทพ อธิบายให้ข่าวว่า มาในฐานะประชาชนพสกนิกรที่จงรักภักดีในสถาบันกษัตริย์ถ้าไปดูภาพมุมสูงจะเห็นว่าฝั่งซ้ายจะเป็นสีเหลืองและฝั่งขวาจะเป็นฝั่งผสมที่ส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ  ซึ่งแสดงตัวว่าไม่ใช่แดง  แต่นัยยะคือพยายามสลัดภาพสีแดงโดยการใส่สีดำในภาพจะเห็นว่ามีการปะทะกันระหว่างสีเหลืองกับสีดำและแดง เชื่อว่าถ้าเป็นประชาชนที่เข้ามาชุมนุมด้วยความบริสุทธิ์โดยไม่มีการเกณฑ์ จะไม่เกิดภาพการปะทะกัน ที่เราพยายามบอกมาตั้งแต่จัดรายการมาว่า ไม่อยากให้คนไทยเกิดความขัดแย้งกัน ไม่อยากเห็นการเกิดสงครามกลางเมืองแต่ในความเป็นจริงตอนนี้ เหมือนอย่างที่ทุกคนคิด ทุกคนตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยตอนนี้มันไม่เหมือนเดิม

 1.มีความแตกแยก แตกต่างทางความคิด ทางความเห็น อย่างรุนแรง แบ่งพรรคแบ่งฝ่ายมาระยะหนึ่ง 2.คือความแตกแยกกันในเรื่อง วัย ที่ต่างกัน ทำให้ความคิดต่างกัน ประเทศเราจะไม่เหมือนเดิม คนบางคนคิดแต่ไม่เคยพูด แต่คนบางคนพูดในสิ่งที่คิด มันไม่เหมือนเดิมเดิมความแตกแยกทางความคิดมันไม่มีปัญหา ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะเปลี่ยนได้ เพราะ “วัย” ที่แตกต่างกันมันต้องใช้เวลาสับเปลี่ยน แต่เพราะมีพวก “ค้าม็อบ” ทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งจะมีทุกครั้งที่ม็อบเกิดขึ้น เราอยากให้ประเทศไทยสงบ แล้วผมก็เชื่อว่ารัฐบาลก็อยากให้ประเทศไทยสงบ  เพราะไม่ว่าฝั่งไหนจะชนะรัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมดสิ่งที่น่ากลัวที่ตั้งข้อสังเกตว่า มันจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว  14 ตุลาฯ ที่มีการขวางขบวนรถ มันเป็นการปลุกพวกอนุรักษ์นิยมให้มากขึ้นกว่าเดิม จากที่มีอยู่แล้ว ให้มีอารมณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมากขึ้น 

ต้องบอกอย่างนี้ว่า “คณะราษฎร์ 63” ที่ไปบังขบวนเสด็จนั้นมิบังควร แต่ว่าคนที่อาศัยเหตุนั้น ไปปลุกเป็นเงื่อนไข สร้างความขัดแย้ง หรือ “ค้าม็อบ” อันนี้ก็ไม่บังควร แต่ทำไมเขาต้องทำ เพราะบางทีเขาไม่อยากให้สงบ จะทำการค้าม็อบไม่ได้ เขาเรียกว่าเป็นธุรกิจหากินกับความขัดแย้ง เพราะหากไม่มีความขัดแย้งก็ค้าม็อบไม่ได้ประเด็นที่เรากำลังถกกันในช่วงแรก เพื่อให้เห็นภาพเดียวกัน เราบอกว่าประเทศไทย หลัง 14 ตุลาฯ จะไปอย่างไร ซึ่งเราเห็นอยู่ตอนนี้ก็คือ 1.สังคมแตกแยกทางความคิด 2.แตกแยกในเรื่องวัย แต่ถ้าประเมินสถานการณ์ของม็อบโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า “คณะราษฎร์ 63” ที่มีการจับกุมหลายๆ คนไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ก่อน 14 ตุลาฯ จับกุมไป 21 คน ในวันหลัง 14 ตุลาฯ  ก็จับกุมไป 23 คน ในระบบม็อบนี้เป็นจุดหนึ่งที่จุดชนวน เพราะหากมีจุดประสงค์เดียวกัน หากฆ่า 10 จะเกิดแสน ซึ่งจะใส่เหตุนี้ในการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ เช่นกันชุมนุมที่แยกราชประสงค์ จะเกิดขึ้นในทุกๆ อย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนก่อตัวเป็นพลังเรียกว่า ก่อไปเป็นจุดๆ จนนำไปสู่การสะสมพลังใหม่อีกรอบจนกว่าสุกงอม จนกว่าจะมีประเด็นร่วม ตอนนี้ม็อบ รัฐธรรมนูญ ก็เป็นประเด็นร่วม แต่ยังไม่เป็นกองใหญ่ แต่ตอนนี้ที่น่ากลัว ก็คือว่าถ้ารัฐบาลนำวิธีการเดิมมาใช้ ที่คิดว่าจัดการ “เด็ดหัว” จับแกนนำ แล้วจะสลายการชุมนุมได้ ตอนนี้ไม่ได้แล้ว

ตอนนี้ทั้งก่อนและหลัง 14 ตุลาฯ จับแกนนำไปแล้วทั้งหมด 44 คน ภาคข้าราชการ ภาคนักการเมือง ภาคนักธุรกิจ ตั้งข้อสังเกตว่า นายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ในเรื่องการเมืองมาหลายระลอก พรก. ฉุกเฉินร้ายแรง เขาอ่านในนัยยะ “ร้ายแรง” หมายถึงมาตรการที่รัฐบาลจะออกจะต้องตอบสนองต่อการประกาศใช้พรก. ฉุกเฉินร้ายแรง ถ้าบังคับใช้ตามกฎหมาย มันจะเป็นอย่างไรในสภาพของม็อบตอนนี้การชุมนุมที่เกิดขึ้นทุกๆ เย็น เรียกว่าการสะสมพลังของม็อบ และม็อบจะรอดูเงื่อนไขของรัฐบาลพลาด จึงจะใช้ประเด็นนั้นมาเป็นประเด็นร่วม 

ถ้าหากไปดูย้อนหลัง ยกตัวอย่างให้ง่ายคือม็อบของ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ชุมนุมกันตั้งแต่ปี 48 ทั้งปี ที่เริ่มจากธรรมศาสตร์ไล่มาเรื่อย แต่ยังไม่มีประเด็นร่วมจนถึงเดือนมกราคม ปี 49 ถึงมีประเด็นร่วมเรื่องการขายหุ้นไม่เสียภาษี  มันจึงเกิดม็อบขนาดใหญ่ขึ้นมา อันนี้จึงพูดว่าเป็นการผสมรวมพลัง เส้นทางนี้เงื่อนไขไม่ได้เกิดขึ้นจากม็อบ แต่เกิดขึ้นจากรัฐบาลเอง ในแง่ของม็อบระหว่างทางตอนนี้เราเห็นปรากฏการณ์หนึ่ง ที่ก่อตัวกันในหลายรูปแบบ และหลายกลุ่ม จนผนึกกำลังกันจนเป็นกลุ่มเดียว ตอนนี้หัวของม็อบหลายคนถูกจับกุม ซึ่งหัวใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีพลังไหม มันจะเกิดโดยธรรมชาติ เมื่อย้อนกลับไปดู 14 ตุลาฯ 16 ตอนนั้น 13 แกนนำถูกจับกุม ซึ่งเป็นแกนนำหลัก ซึ่งตอนนั้นคนก็คิดว่าเมื่อถูกจับกุมแล้วคงจะไม่มีแกนนำอีก

ดังนั้นตอนนี้แกนนำทั้ง 44 คนถูกจับ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผู้นำคนใหม่ขึ้นมา ถามว่า “อีแอบ” ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังจะโพล่ไหม  ...มีโอกาส ถ้ามีเงื่อนไขที่รัฐบาลใช้ความรุนแรง เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องจัดการ  โดยเป็นที่ยอมรับไม่ใช่แค่ม็อบ แต่ต้องรวมไปถึงประชาชนทั้งสังคมด้วย

https://youtu.be/5PkQbJkdf9w