ศธ.ผุดครูระบบปิด พร้อมมอบทปอ.มรภ.ยกเครื่องหลักสูตรครู

ศธ.ผุดครูระบบปิด พร้อมมอบทปอ.มรภ.ยกเครื่องหลักสูตรครู

ศธ.มอบ ทปอ.มรภ. ยกเครื่องหลักสูตรครู เน้นพร้อมทำงาน คาดเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ ภายในเดือนส.ค.2560 นี้ พร้อมผุดผลิตครูระบบปิดเพิ่มอีก40%

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตนได้มอบหมายให้ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย (ทปอ.มรภ.) ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้เข้มข้น สามารถผลติครูออกมาพร้อมสำหรับการทำงานทันที โดยตั้งใจจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในการผลิตครูให้ได้ภายในเดือนสิงหาคม ปีการศึกษา2560ขณะเดียวกันยังมีแนวคิด เดินหน้าผลิตครูในระบบปิดเพิ่มขึ้นอีก40%ของอัตราเกษียณอายุราชการในแต่ละปี จากเดิมที่เริ่มมีการผลิตครูระบบปิดแล้ว ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นไปแล้วจำนวน25%รวมเป็น65%ส่วนที่เหลือ อีก35%ให้เป็นการผลิตในระบบเดิม ที่ต้องสอบสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ส่วนหนึ่งเพื่อเปิดช่องให้ผู้ที่ไม่ได้จบจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สามารถมาสมัครเป็นครูได้ด้วย

ทั้งนี้ การผลิตครูทุกวันนี้ เป็นระบบเปิด ใครจะเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ก็มาสมัคร ทำให้ปีหนึ่งมีผู้ที่จบในคณะดังกล่าวถึง60,000คน จบมาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้เป็นครูหรือไม่เพราะต้องไปสอบแข่งขันเพื่อเป็นครูผู้ช่วยอีกรอบหนึ่ง แต่ประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศสิงคโปร์ สามารถผลติครู ได้โดยมีเพียงสถาบันเดียว โดยทุกคนที่เข้าเรียน รู้ตัวว่า เมื่อจบแล้วจะต้องออกไปเป็นครู ทำให้นักศึกษามีการเตรียมตัว ตั้งใจเรียนมีความพร้อมออกมาเป็นครูได้ทันที สำหรับประเทศไทย วิชาชีพที่มีการผลิตในระบบปิด คือ ทหาร และแพทย์ ผู้ที่จบออกมาค่อนข้างจะมีคุณภาพ พร้อมทำงาน ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะขยายจำนวนการผลิตครูในระบบปิด เพิ่มขึ้นอีก40%หรือประมาณ6,000ต่อปี

“การผลิตครูในระบบปิด จะแตกต่างกับโครงการผลิตครูฯ ตรงที่ ไม่มีทุนการศึกษา ให้และไม่กำหนดให้ต้องกลับไปเป็นครูในภูมิลำเนาของตัวเอง แต่จะมีอัตราว่างรองรับ เมื่อเรียนจบแล้วสามารถเป็นครูได้ทันที อย่างไรก็ตาม การผลิตครูในระบบปิดยังเป็นเพียงแนวคือเบื้องต้น ซึ่งต้องหารือกับผู้เกี่ยวข้องให้รอบด้าน หากจะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา2560ศธ. ก็จะต้องนำตัวเลขอัตราเกษียณ ในอีก5ปีข้างหน้า มาจัดสรรโควตา การผลิตครูให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ตามนี้ศธ.ก็สามารถสนับสนุนงบประมาณ ได้ชัดเจนขึ้น ไม่ใช้เงินเป็นเบี้ยหัวแตก ขณะที่มหาวิทยาลัยเอง ต้องพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง ให้สามารถผลิตครูที่มีคุณภาพ ในแต่ละสาขา”รมว.ศึกษาธิการกล่าว ศธ. กล่าว