‘วีวอช’ ถอดรหัส กลโกง-ซื้อเสียง ‘ประชาธิปไตย’ บนแดนอันตราย

‘วีวอช’ ถอดรหัส กลโกง-ซื้อเสียง ‘ประชาธิปไตย’ บนแดนอันตราย

เวที วีวอช ได้สังเคราะห์ปรากฎการณ์ "ซื้อเสียง" ที่เกิดขึ้น โดยมุมมองจาก "ปัญญาชนหัวก้าวหน้า" วิเคราะห์ว่า คือสัญญาณอันตรายที่อาจเรียก "อำนาจนอกระบบ" ฟื้นคืน

KEY

POINTS

Key Point :

  • เครือข่ายประชาชนที่สังเกตการณ์การเลือกตั้ง อย่าง "วีวอช" สะท้อนปรากฎการณ์ซื้อเสียงที่ผ่านมา
  • จับทางได้ว่า มีทั้งคนที่มองว่าเป็นเรื่องปกติ และเป็นความอันตราย
  • ฝ่ายที่มองเป็นความปกติ เพราะมองในมุมการเมืองเชิงอุปถัมภ์
  • ขณะที่ฝ่ายที่มองว่าเป็นปัญหา คือ ต้นตอที่จะทำให้ "อำนาจนอกระบบ"  ฟื้นกลับมา เพราะมีข้ออ้างจาก "นักการเมืองเลว"

วีวอช  หรือ เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย จัดเวทีเสวนาออนไลน์  เรื่อง "ตกลงเรามองอย่างไร กับการซื้อเสียงในปัจจุบัน ?” หลังจากที่ประเทศไทย ผ่านพ้นการเลือกตั้งมาทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับเทศบาลตำบล จนถึง เลือกตั้ง สส. (กรณีเลือกซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่าง) และ การเลือกกันเองของ สว.

ในเวทีออนไลน์ของวีวอช นั้น ได้ตั้งประเด็นให้ “นักวิชาการ” ที่พวกเขาเรียกว่าเป็น “ปัญญาชนคนรุ่นใหม่”  วิพากษ์ต่อกรณี การซื้อสิทธิ ขายเสียง ที่กระแสในพื้นที่มองต่างมุม และแบ่งเป็น 2 ฝั่ง โดยฝั่งแรกมองว่า ไม่เป็นเรื่องปกติ และเห็นว่าควรเแก้กฎหมายให้การซื้อเสียงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

ขณะที่อีกฝั่งมองว่าเป็นปัญหา โดยเฉพาะ ปัญหาใหญ่ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย 

โดย “พงศธร กันทวงค์”  นักกิจกรรมกลุ่มคบเพลิง ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ที่มีคณาจารย์ทำวิจัยเผยแพร่ ว่า การซื้อเสียง หรือ ความพยายามซื้อเสียง ถือเป็นการให้ผลประโยชน์เฉพาะหน้าและไม่สามารถตัดออกจากบริบทของการเมืองไทยได้ โดยการเลือกตั้งเมื่อปี2562 และนับจากนั้นพบการซื้อเสียงมากขึ้น  ทว่ามีความน่าสนใจว่า การตัดสินใจเลือก สส. ของประชาชน หากยกตัวอย่างว่ามี นักการเมืองแข่งขันกัน 3 คน มีนักการเมืองที่ซื้อเสียง 2 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและให้อะไรมากกว่า กับนักการเมือง 1คนที่มีอุดมการณ์ แต่ไม่ซื้อเสียง เท่ากับชาวบ้านไม่ได้ผลประโยชน์อะไร

“จากการการศึกษาในการเลือกตั้ง อบจ.อุบลราชธานี พบว่า หลายคนเชื่อว่ามีการซื้อเสียง แต่คนที่ไม่ซื้อนั้น มีมุมให้มองว่าเขาดีพอให้เขาเลือกหรือไม่ หากมองประชาธิปไตยเป็นกระบวนการ มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีฝ่ายค้านคอยตรวจสอบ แต่ทำได้แบบกระท่อนกระแท่น แม้มีนักการเมืองทำหน้าที่ที่ทำให้ระบบไปต่อได้ แต่ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งคงไม่มีใครอยากชนะด้วยการนำเงินมาโปรยเล่นจำนวนมาก”  นักกิจกรรมทางการเมือง ระบุ

พงศธร ยังมองด้วยว่า ในการเลือกตั้งท้องถิ่น มีนักวิชาการไปศึกษา พฤติกรรมของคนเลือกตั้ง พบว่า ในการเลือกตั้งระดับเทศบาลที่มีขนาดใหญ่ มักจะเลือกนโยบายมากกว่าบุคคล แต่ในระดับเทศบาลขนาดเล็ก เช่น เทศบาลตำบล พบว่าจะเลือกตัวบุคคลสูงมากกว่านโยบาย

‘วีวอช’ ถอดรหัส กลโกง-ซื้อเสียง ‘ประชาธิปไตย’ บนแดนอันตราย นอกจากนั้นแล้วในประเด็นที่สังคมที่มองการซื้อเสียงไม่ถูกต้องนั้น “นักกิจกรรมที่คร่ำหวอดในพื้นที่อีสาน” ให้ทัศนะด้วยว่า “มีการถกเถียงว่า คนที่มักถูกซื้อเสียง คือ คนจน และคนที่ไม่เห็นด้วย ที่เรียกว่าเป็นพวกก้าวหน้ากลับไปชี้หน้าด่า  ทั้งที่ควรเชียร์ให้พรรคการเมืองที่ตัวเองสนับสนุนควรทำนโยบายเศรษฐกิจปากท้อง ทั้งนี้ในโครงสร้างหรือการออกแบบทางการเมือง กฎหมาย ส่งผลต่อพฤติกรรมคน ที่ไปชี้หน้าว่าเขาโง่ จะมีอะไรที่เป็นข้อเสนอที่ดีกว่า หรือการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ดีกว่าหรือไม่” 

ขณะที่ในมุมของตัวแทนคณะก้าวหน้า อย่าง “จักรพล ผลละออ” สมาชิกคณะก้าวหน้า มองว่า การเมืองเรื่องการซื้อเสียง มีพลวัต ที่ไม่ได้หยุดแค่การจ่ายเงินเท่านั้น  โดยตั้งแต่การเลือกตั้ง ปี2562 พบว่าการซื้อเสียงมีนวัตกรรม  เช่น จ่ายเงินส่วนหนึ่งก่อน แล้วให้ผู้ที่ไปใช้สิทธิถ่ายรูปบัตรลงคะแนนในคูหา จากนั้นส่งกลุ่มไลน์ เพื่อรับเงินส่วนที่เหลือ ซึ่งการเลือกตั้งเทศบาลรอบล่าสุด พบข่าวว่ามีคนพยายามถ่ายรูปในหน่วยเลือกตั้ง เมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ระบุว่าต้องส่งให้เป็นหลักฐาน เท่ากับว่า คนที่ยอมให้ซื้อเสียงต้องยืนยันด้วย

‘วีวอช’ ถอดรหัส กลโกง-ซื้อเสียง ‘ประชาธิปไตย’ บนแดนอันตราย

“กลไกการซื้อเสียงมีพลวัต ทั้ง ซื้อเสียงเพื่อไม่ให้ลงคะแนน ซื้อเพื่อยึดบัตรประชาชนไปลงคะแนนแทน หรือการสวมสิทธิ์ เป็นส่วนของการโกงเลือกตั้งโดยกรรมการประจำหน่วย ขีดคะแนนผิดโดยจงใจ รู้เห็นกับหัวคะแนนเพื่อเวียนเทียนในกันหน่วยเลือกตั้งเป็นรูปแบบโกงเลือกตั้งและซื้อเสียงอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผมยืนยันว่าการซื้อเสียงนั้นผิดหลักการประชาธิปไตย หากดูตามระบอบการปกครองและปฏิญญาสากลที่ต้อง ฟรี และแฟร์” 

จักรพล ยังสะท้อนมุมมองด้วยว่า การซื้อเสียงมีส่วนที่เป็นเครือข่ายอุปถัมภ์ หากพิจารณาประวัติศาสตร์การเมืองไทย ช่วง ปี 2520 เป็นระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ มีชนชั้นนำเป็นผู้ปกครอง

หลังรัฐประหาร 2534 ถือเป็นยุคธนกิจการเมือง  นักการเมืองบ้านใหญ่ มีบทบาทต่อการซื้อเสียง แม้ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ได้ครองอำนาจ แต่การแบ่งมุ้งการเมือง พรรคการเมืองไม่มีความเป็นอยู่ที่เป็นจริง มีการจัดสรรงบประมาณ วิ่งงบ ผันงบประมาณเข้าไปในเขตเลือกตั้ง เพื่อใช้งบเป็นฐานส่งตัวเองกลับมาดำรงตำแหน่งต่อ ทำให้คนยอมรับไม่ได้กับระบอบดังกล่าว

และช่วง รัฐธรรมนูญ 2540 ผู้คนต่อต้านการซื้อเสียงและต่อต้านนักการเมืองโดยมีองค์กรอิสระ แต่การต้องการให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง ทำให้เกิดรัฐบาลไทยรักไทย สมัยทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นประชาธิปไตยอำนาจนิยม ส่วนหลังการรัฐประหาร 2549 ถือเป็นยุคต่อต้านประชาธิปไตย รวมถึงช่วงรัฐประหาร 2557 

นักวิชาการคณะก้าวหน้า กล่าวด้วยว่าสำหรับระบบเลือกตั้งมีการปรับรูปแบบที่แตกต่างออกไป โดยรัฐธรรนูญมา 2560 แบบจัดสรรปันส่วนผสม มีพรรคเล็กๆเข้ามาสภาฯ ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เน้นแข่งขันระบบเขต เพราะมีบัตรเลือกตั้งใบเดียว ทั้งที่มีสส. 2 แบบ ทำให้ระบบมุ้งกาารเมืองเข้มแข็งและหัวคะแนนมีอิทธิพล ทั้งนี้ปี2566 แก้กลับไปใช้แบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนด ทั้งนี้ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การซื้อเสียงมีผลต่อผลเลือกตั้ง ทำให้ สส.บัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยถึงได้คะแนนสูง แต่เมื่อดูจากเขตพบว่าคนที่ได้รับเลือกไม่ใช่คนของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล 

‘วีวอช’ ถอดรหัส กลโกง-ซื้อเสียง ‘ประชาธิปไตย’ บนแดนอันตราย

“มีเรื่องเล่าว่าบ้านใหญ่ มีการจ่ายเงินซื้อเสียง แต่เมื่อมีบัตรเลือกตั้งสองใบ ดังนั้นจึงมีการขอ ระบบเขตให้เขา แต่พรรคจะให้ใครก็แล้วแต่ ทำให้ประชาชนมีทางเลือก ไม่ได้ขายเสียงให้ทั้งหมด เพราะบัตรพรรคยังให้กับพรรคที่ชอบได้"

ทั้งนี้ "จักรพล" ยังสะท้อนมุมมองในแง่ของการมองสู่อนาคต ว่า สิ่งที่เป็นข้อเสนอคือ ควรกลับมาพิจารณาอีกครั้งในประเด็นซื้อเสียง วาที่กรรมนักการเมืองเลว สะท้อนคุณค่าของนักการเมือง และมองว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐที่เลว สะท้อนว่าฝั่งอนุรักษที่ต่อต้านประชาธิปไตย พยายามเรียกร้องสิ่งที่ดีกว่าเดิม หากฝ่ายก้าวหน้ากลัวการพูด ถึงการซื้อเสียงเพราะนำไปสู่การรัฐประหาร การไม่พูดเท่ากับเปิดโอกาสให้อำนาจนอกระบบกลับมา

พร้อมกันนั้นได้เสนอ ทางออก 2 ทาง คือ  1.ต้องอยู่บนข้อเท็จจริง ว่ามีนักการเมืองไม่ดี หรือ มีการทุจริตอยู่จริง  และต้องเปลี่ยนปฏิบัติการของฝ่ายอนุรักษนิยมที่สนับสนุนการรัฐประหาร เป็นพลังการเมืองของฝ่ายก้าวหน้าบอกคนในสังคมว่าการแก้ปัญหาการซื้อเสียง หรือระบบการเมืองที่ไม่มีประสิทธิภาพ แก้ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยได้ 

“โครงสร้างของรัฐธรมนูญ2560 คือ ต่อต้านนักการเมือง พยายามล้อมกรอบคนที่มาจากการเลือกตั้ง จนทำกฎหมายล้ำเส้นการตรวจสอบนักการเมือง ไปเป็นการจับผิด ดังนั้นแง่กฎหมายต้องแก้ให้ถอยแดนออกไป แต่ไม่ใช่ถอยจนให้นักการเมืองทำอะไรก็ทำได้ ทำทุจริตหว่านซื้อเสียง ได้” 

และ 2. คือ  ต้องสร้างความคิดร่วมและเจตจำนงร่วมของประชาชน รณรงค์ต่อต้านการซื้อเสียง เพื่อไม่ให้เกิดวาที่กรรมที่ฝ่ายอนุรักษนิยมฉวยไปใช้เพื่อปฏิเสธระบอบประชาธิปไตยอีก

‘วีวอช’ ถอดรหัส กลโกง-ซื้อเสียง ‘ประชาธิปไตย’ บนแดนอันตราย

ขณะที่ประเด็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ อย่างที่คนเข้าใจว่า “ผู้แทนรากหญ้า” นั้น “จักรพล” มองว่า  ปัจจุบันระบบอุปถัมภ์ไปไกลกว่าการแจก แต่คือการสร้าง เช่น บ้านใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ชาวบ้านเจอพายุ สมัยก่อนแค่แจกถุงยังชีพ แต่ปัจจุบันสร้างบ้านใหม่ให้ทั้งหลัง  ซึ่งเปลี่ยนระบบความสัมพันธ์ สู่เศรษฐกิจการเมือง ดังนั้นนักการเมืองที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน  มีแต่ไปพูดนั้น จะชนะเลือกตั้งได้อย่างไร 

“ผมเชื่อว่ามีทางชนะเลือกตั้ง เพราะหากเห็นว่าประชาธิปไตยที่มีต้นทุน มีการใช้ทรัพยากรสูง จำเป็นต้องมีพรรคที่เป็นมวลชนเร่งปฏิกิริยา หากให้มีแต่พรรคบ้านใหญ่แข่งกันไป แข่งยังไงก็ไม่รู้จบ ต้นทุนสูงขึ้น ไปแปรงบประมาณในสภา เอางบลงพื้นที่ เก็บเข้ากระเป๋า รอยิงกระสุน ทำให้นักการเมืองต้องจ่ายเงินมากขึ้น ลองดูว่าหากมีนักการเมืองที่ไปหาเสียง และยังขอข้าวชาวบ้านกิน ได้ไปอยู่ในสภาฯ เข้าไปเป็นรัฐบาลสักรอบ และผลักนักการเมืองซื้อเสียงออกจากระบบให้ไปเป็นฝ่ายค้าน”จักรพล กล่าวทิ้งท้าย.

ทั้งนี้ในวงเสวนา ได้มองในมุมคิดที่มี “บางฝ่าย” พยายามแก้กฎหมายเพื่อให้การซื้อเสียงทำได้ ว่า เป็นสิ่งที่อันตรายต่อระบบประชาธิปไตยที่ออกแบบให้การเลือกตั้งนั้นต้อง “ฟรี และ แฟร์” เพราะหากเปิดช่องเท่ากับว่า จะไม่มีเสียงบริสุทธิ์ใดเหลืออยู่ในการเลือกตั้งแบบไทยๆ.