3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’ 33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

สมรภูมิเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ. 76จังหวัด พรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย เป็นพรรคการเมืองที่กวาดนายก อบจ.ได้มากฝ่ายละ 20 จังหวัด ขณะที่ขุมกำลังเครือข่ายบ้านใหญ่ กินรวบนายก อบจ.ได้ถึง 33 จังหวัด

KEY

POINTS

  • นายก อบจ. 76 จังหวัด ค่ายแดง พรรคเพื่อไทยป้องกันแชมป์ นายก อบจ.ไว้ได้ 12 จังหวัดจากชัยชนะ 20 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นภาคอีสานและภาคเหนือ
  • เครือข่ายสีน้ำเงิน "ภูมิใจไทย" กวาดนายก อบจ. 20 จังหวัด แข็งแกร่งในเกมท้องถิ่นรักษาแชมป์ได้ 17 จังหวัด ยึดฐานที่มั่นในภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้บางจังหวัด
  • เลือกตั้งท้องถิ่น เกมถนัดของเครือข่าย "บ้านใหญ่" ที่ทรงพลังการจัดตั้ง กินรวบนายก อบจ.ได้มากถึง 33  จังหวัด
  • จับตากระดานเลือกตั้งท้องถิ่นต่อยอดให้เครือข่ายบ้านใหญ่ในการเลือกตั้งระดับชาติ สร้างพลังต่อรองตัวแปรในการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต
  • พรรคประชาชน พ่ายแพ้อิทธิพลของ "บ้านใหญ่" ส่งผู้สมัคร นายก อบจ. 17 จังหวัด ได้เพียง 1 จังหวัด คือ จ.ลำพูน วีระเดช ภู่พิสิฐ 

จบศึกเลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด 1 ก.พ. 2568 พิสูจน์ได้ชัดว่าระบอบ “บ้านใหญ่” ยังคงแข็งแกร่งฝังรากลึกในการเมืองท้องถิ่น ยิ่งนับรวมกับยอด 29 จังหวัดที่เลือกตั้งก่อนครบวาระ ก็พบว่า “ขุมพลังบ้านใหญ่” กินรวบนายก อบจ.ไปถึง 33 จังหวัด

ส่วนใหญ่ “ก๊กบ้านใหญ่” ฝังตัวอยู่กับเครือข่ายพรรคขนาดกลางและเล็กอย่าง รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ ประชาชาติ ชาติไทยพัฒนา ขณะที่บางจังหวัดมีแอบอิงเป็นพันธมิตรค่าย “เพื่อไทย” และ “ภูมิใจไทย”

76 จังหวัด สมรภููมิ อบจ. พรรคเพื่อไทย กวาดไป 20 จังหวัด รักษาพื้นที่ได้ 12 จังหวัด มีหน้าใหม่ 11 คน ในจำนวนหน้าใหม่นี้ยังสามารถรักษาพื้นที่ให้กับพรรคได้ด้วย

ขณะที่ขุมกำลังเครือข่ายสีน้ำเงิน “ภูมิใจไทย” กวาดไปพอๆ กับ ค่ายแดง 20 จังหวัด รักษาแชมป์ในพื้นที่ 17 จังหวัด ได้นายก อบจ.หน้าใหม่ 8 คน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2570 สองขั้วการเมือง ทั้ง “แดง” และ “น้ำเงิน” ย่อมมีพลังจัดตั้งหนุนส่งให้ได้ สส.เป็นกอบเป็นกำ ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ขณะที่ภาคใต้ ระบอบบ้านใหญ่ไม่มีที่ยืนให้กับ “พรรคเพื่อไทย”และ“พรรคประชาชน”

ก๊กแดง-แรงดัน “ทักษิณ”

โฟกัสชัยชนะศึกนายก อบจ. 1 ก.พ.2568 และก่อนครบวาระของค่ายแดง พรรคเพื่อไทยป้องกันแชมป์ไว้ได้ 12 จังหวัดจากชัยชนะ 20 จังหวัด ในจำนวนนี้ “ทักษิณ ชินวัตร”อดีตนายกฯ ขึ้นปราศรัยใน 7 จังหวัดที่ประสบชัยชนะ คือ อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ ลำปาง หนองคาย นครพนม และมหาสารคาม

ส่วนเวทีที่ทักษิณขึ้นปราศรัยและแพ้ คือ ลำพูน เชียงราย ศรีสะเกษ บึงกาฬ แสดงให้เห็นว่า ทักษิณและเพื่อไทยพ่ายให้เครือข่ายสีน้ำเงินมากที่สุด และพลาดท่าให้พรรคประชาชน 1 จังหวัด

ดังนั้น การเลือกตั้งใหญ่ในปี 2570 “ทักษิณ” คงต้องขยับหมากด้วยตัวเองมากขึ้น เพราะในฐานะ สทร. ตั้งเป้า“เพื่อไทย”ต้องได้ 200 ที่นั่ง

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

สำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.1 ก.พ. เพื่อไทยรักษาแชมป์เก่าไว้ได้ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ พิชัย เลิศพงศ์อดิศร จ.ลำปาง ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร จ.แพร่ อนุวัธ วงศ์วรรณ จ.น่าน นพรัตน์ ถาวงศ์ จ.นครราชสีมา ยลดา หวังศุภกิจโกศล

พร้อมกับยึดพื้นที่ใหม่มาได้ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.สกลนคร นฤมล สัพโส จ.หนองคาย วุฒิไกร ช่างเหล็ก จ.มหาสารคาม พลพัฒน์ จรัสเสถียร จ.นครพนม อนุชิต หงษาดี จ.ปราจีนบุรี ณภาภัช อัญชสาณิชมน

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

สำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.ก่อนครบวาระ ปี 2565-2567 เพื่อไทยรักษาแชมป์เก่าไว้ได้ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ยโสธร วิเชียร สมวงศ์ จ.ขอนแก่น วัฒนา ช่างเหลา ในนามอิสระ พรรคเพื่อไทย สาย 2 ส.สนับสนุน

จ.พะเยา ธวัช สุทธวงศ์ ตัวแทน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า พรรคกล้าธรรรม จ.สุโขทัย มนู พุกประเสริฐ ตัวแทนบ้านใหญ่ “เทพสุทิน” จ.อุดรธานี ศราวุธ เพชรพนมพร จ.อุตรดิตถ์ ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา จ.อุบลราชธานี กานต์ กัลป์ตินันท์

ส่วนพื้นที่ใหม่ที่ยึดมาได้ ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล จ.ร้อยเอ็ด เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ จ.กาญจนบุรี ประวัติ กิจธรรมกูลกิจ

ก๊กน้ำเงินศัตรูก๊กแดง

ทางด้านพรรคภูมิใจไทยและเครือข่าย กวาดเก้าอี้นายก อบจ.สีน้ำเงินมาได้ 20 จังหวัด ทั้งจากการเลือกตั้งก่อนครบวาระ 11 จังหวัด และหลังครบวาระอีก 9 จังหวัด แม้ภูมิใจไทยจะไม่ได้ส่งผู้สมัครเป็นทางการ แต่พฤตินัยอยู่ฉากหลังชัดเจน

เครือข่ายสีน้ำเงินพลังยังแกร่งในการจัดตั้ง โดยในจำนวนชัยชนะ ยังรักษาแชมป์เดิมในฐานที่มั่นไว้ได้ 17 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้บางจังหวัด

ประกอบด้วย จ.นครสวรรค์ พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ จ.อ่างทอง สุรเชษฐ์ นิ่มกุล จ.พระนครศรีอยุธยา สมทรง พันธ์เจริญวรกุลจ.ปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง จ.อุทัยธานี เผด็จ นุ้ยปรี จ.สุรินทร์ ธัญพร มุ่งเจริญพร จ.เลย ชัยธวัช เนียมศิริ จ.ตาก อัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ จ.ชัยภูมิ สุรีวรรณ นาคาศัย จ.ระนอง สีหราช สรรพกุล จ.นครศรีธรรมราช วาริน ชิณวงศ์

ต้องยอมรับว่า “ครูใหญ่” ต้องวางหมากนี้ไว้ เพื่อรองรับการเลือกตั้งสนามใหญ่ปี 2570 โดยตั้งเป้าพา “อนุทิน ชาญวีรกูล” ขึ้นแท่นเป็น “นายกฯ หนู” ให้ได้ ภายใต้สมการ พรรคสีน้ำเงินต้องได้ สส.ไม่ต่ำกว่า 100 ที่นั่ง เพื่อสร้างพลังอำนาจต่อรองทางการเมือง

ปลายทางค่ายสีน้ำเงิน ย่อมมีโอกาสเป็นรัฐบาลได้ใน 2 สูตรคือ 1.เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเอง  2.ขอร่วมรัฐบาลกับพรรคแกนนำ

สนามเลือกตั้งปี 2570 อาจได้เห็นค่ายแดงและค่ายน้ำเงิน กัดฟันกอดคอกันต่อไป และโดดเดี่ยวค่ายส้มเช่นเดิม แม้ผู้นำจิตวิญญาณแห่งค่ายแดง จะส่งสัญญาณถึงลูกพรรค ตั้งเป้า 200 โดยไม่ต้องการพรรคร่วมรัฐบาลจำนวนมาก จนสร้างอำนาจต่อรองขับเคลื่อนผลงาน

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

“บ้านใหญ่”สาขาพรรคการเมือง

ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ แบ่งปันกันไป ได้แก่ พรรครวมไทยสร้างชาติ คว้าไปได้ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.พัทลุง วิสุทธิ์ ธรรมเพชร จ.สุราษฎร์ธานี โสภา กาญจนะ จ.ชุมพร  นพพร อุสิทธ  จ.เพชรบุรี ชัยยะ อังกินันทน์  จ.ภูเก็ต เรวัต อารีรอบ

พรรคกล้าธรรม 2 จังหวัด จ.หนองบัวลำภู ศรัณยา สุวรรณพรหม และ จ.สมุทรสงคราม เจษฎา ญาณประภาศิริ

พรรคชาติไทยพัฒนา 2 จังหวัด จ.สุพรรณบุรี อุดม โปร่งฟ้า จ.นครปฐม จิรวัฒน์ สะสมทรัพย์

พรรคประชาชาติ 2 จังหวัด จ.นราธิวาส นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน จ.ยะลา นายมุขตาร์ มะทา

ก๊กบ้านใหญ่ท้องถิ่นนิยมล้มยาก

สำหรับ"เครือข่ายบ้านใหญ่" เป็นก๊กการเมืองที่ล้มได้ยากในเกมท้องถิ่น ในการเลือกตั้งครั้งนี้ สามารถรักษาฐานที่มั่นนายก อบจ.ได้ไว้ 33 จังหวัด โดยแบ่งเป็นการเลือกตั้ง 1 ก.พ. กวาดไปได้ 25 จังหวัด และในการเลือกตั้งก่อนครบวาระอีก 8 จังหวัด

โดยสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้ 20 จังหวัด และมีนายก อบจ.หน้าใหม่เพิ่มอีก 7 จังหวัด ซึ่งเป็นหน้าใหม่สายตรงบ้านใหญ่ที่อยู่ฉากหลัง 

กลุ่มรักษาแชมป์เก่า ได้แก่ จ.ชลบุรี วิทยา คุณปลื้ม จ.ระยอง ปิยะ ปิตุเตชะ จ.จันทบุรี ธนภณ กิจกาญจน์ จ.ตราด วิเชียร ทรัพย์เจริญ จ.ฉะเชิงเทรา กลยุทธ ฉายแสง จ.สิงห์บุรี ศภวัฒน์ เทียนถาวร จ.สมุทรสาคร  อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ จ.นนทบุรี พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ จ.สระบุรี  สัญญา บุญ-หลง

จ.ปัตตานี เศรษฐ์ อัลยุฟรี จ.แม่ฮ่องสอน  อัครเดช วันไชยวงศ์ จ.ตรัง  บุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ จ.พังงา  บำรุง ปิยนามวาณิช จ.สงขลา สุพิศ พิทักษ์ธรรม จ.สมุทรปราการ สุนทร ปานแสงทอง จ.นครนายก นิดา ขนายงาม จ.มุกดาหาร  วีระพงษ์ ทองผา

ขณะที่เครือข่ายบ้านใหญ่ทรงพลังล้มยาก ที่เลือกตั้งก่อนครบวาระ ปี 2566 -2567 จ.สระแก้ว ฐานิสร์ เทียนทอง จ.ชัยนาท จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา จ.พิษณุโลก มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ จ.ราชบุรี วิวัฒน์ นิติกาญจนา จ.เพชรบูรณ์ อัครเดช ทองใจสด จ.กำแพงเพชร สุนทร รัตนากร

“ก๊กบ้านใหญ่” จัดเป็นก๊กการเมืองที่แตกกระจาย ต่างสังกัดพรรคท้องถิ่นนิยม สังกัดพรรคการเมืองใหญ่ พรรคขนาดกลางและเล็ก ทำการเมืองในรูปแบบบ้านใหญ่นิยม

ในการเมืองระดับชาติ ก๊กบ้านใหญ่มี สส.สังกัดพรรคการเมือง อาศัยยอด สส.สร้างแต้มต่อรองไปถึงเก้าอี้รัฐมนตรี

จุดแข็งของการเมือง“บ้านใหญ่นิยม” ใช้กำลังจัดตั้ง บวกพลังกระสุนของตัวเอง เอาชนะการเมืองที่อิงกับพลังกระแส หากไม่พ่ายให้พลังกระแสระดับชาติ การเมืองบ้านใหญ่ไม่มีคำว่า “สูญพันธุ์”

ปรากฎการณ์“บ้านใหญ่”เจาะลำพูน

พรรคประชาชน แพ้อิทธิพลเกมจัดตั้งบ้านใหญ่ เครือข่ายท้องถิ่นนิยมที่ฝังรากลึกในแต่ละจังหวัด ส่งผู้สมัครลงนายก อบจ.17 จังหวัด พลาดเป้าได้มา 1 ที่นั่ง จ.ลำพูน คือ โกเฮง วีระเดช ภู่พิสิฐ ผู้สมัครหน้าใหม่ ลูกชาย ประเสริฐ ภู่พิสิฐ อดีตนายก อบจ.ลำพูน และอดีตประธานหอการค้า จ.ลำพูน เอาชนะบ้านใหญ่แชมป์เก่า อนุสรณ์ วงศ์วรรณ จากพรรคเพื่อไทย ที่โหนพลังปราศรัย “นายใหญ่”

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

ศึกนายก อบจ.76 จังหวัด แม้พรรคที่ประสบความสำเร็จในศึกการเมืองระดับชาติได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะชนะศึกเลือกตั้งท้องถิ่นที่วัดกันด้วย “กำลังจัดตั้ง” รวมถึงอาวุธหนักอย่าง “กระสุน” ซึ่งเข้าตำรา “ชนะในศึกสมรภูมิ แต่กลับแพ้ในศึกสงคราม”

พลังอิทธิพลของบ้านใหญ่ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ท้องถิ่น แต่พวกเขายังสร้างฐานการเมืองระดับชาติคู่ขนาน ดังนั้นนักการเมืองบ้านใหญ่ ย่อมมีผลสำคัญยิ่ง ต่อสมการการเมืองระดับชาติ อย่างปฏิเสธไม่ได้ 

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

เครือข่ายบ้านใหญ่ ชนะเลือกตั้ง 33 จังหวัด 

ชลบุรี วิทยา คุณปลื้ม  (รักษาแชมป์)
ระยอง ปิยะ ปิตุเตชะ  (รักษาแชมป์)
จันทบุรี ธนภณ กิจกาญจน์ (รักษาแชมป์)
ตราด นายวิเชียร ทรัพย์เจริญ (รักษาแชมป์)
ฉะเชิงเทรา กลยุทธ ฉายแสง (หน้าใหม่)

สิงห์บุรี ศภวัฒน์ เทียนถาวร (รักษาแชมป์)
สมุทรสาคร อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ (รักษาแชมป์)
นนทบุรี พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ (รักษาแชมป์)
สระบุรี สัญญา บุญ-หลง (รักษาแชมป์)

ปัตตานี  เศรษฐ์ อัลยุฟรี (รักษาแชมป์) (แชมป์4สมัย)
แม่ฮ่องสอน อัครเดช วันไชยวงศ์ (รักษาแชมป์)
ตรัง บุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ (รักษาแชมป์) พี่ชาย สมชาย โล่สถาพรพิพิธ สายพรรคประชาธิปัตย์

พัทลุง วิสุทธิ์ ธรรมเพชร (รักษาแชมป์) สายพรรครวมไทยสร้างชาติ
ภูเก็ต เรวัต อารีรอบ (รักษาแชมป์) สายพรรครวมไทยสร้างชาติ
ประจวบคีรีขันธ์ สราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ (รักษาแชมป์) สายตรง เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
พังงา บำรุง ปิยนามวาณิช (หน้าเก่า ชนะ)  สายพรรคพลังประชารัฐ

สงขลา สุพิศ พิทักษ์ธรรม (หน้าใหม่)  (รักษาแชมป์ให้ประชาธิปัตย์)  สาย เดชอิศม์ ขาวทอง จับมือ นิพนธ์ บุญญามณี)
สมุทรปราการ สุนทร ปานแสงทอง  (หน้าใหม่) /(รักษาแชมป์ให้บ้านใหญ่อัศวเหม)
สุราษฎร์ธานี โสภา กาญจนะ (หน้าใหม่ ) สายพรรครวมไทยสร้างชาติบ้านใหญ่กาญจนะ
นครนายก นิดา ขนายงาม (หน้าใหม่) ตัวแทนบ้านใหญ่ สัญญา บุญ-หลง ผนึกค่าย แดง -น้ำเงิน 
มุกดาหาร นายวีระพงษ์ ทองผา  (หน้าใหม่ ) บ้านใหญ่ทองผา สายพรรคพลังประชารัฐ พี่ชายวิริยะ ทองผา สส.มุกดาหาร พปชร.

สุพรรณบุรี อุดม โปร่งฟ้า (หน้าใหม่) (รักษาแชมป์) สายศิลปอาชา-โพธสุธน 
นครปฐม จิรวัฒน์ สะสมทรัพย์ (รักษาแชมป์) บ้านใหญ่สะสมทรัพย์ที่ยังทำการเมืองระดับชาติกับ พรรคชาติไทยพัฒนา
นราธิวาส นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน (รักษาแชมป์) พรรคประชาชาติ
ยะลา นายมุขตาร์ มะทา (รักษาแชมป์) พรรคประชาชาติ

สระแก้ว ฐานิสร์ เทียนทอง อิสระ (พรรคพลังประชารัฐ) (หน้าใหม่ รักษาแชมป์)สายบ้านใหญ่ ขวัญเรือน เทียนทอง
ชัยนาท จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา  (หน้าใหม่) /(รักษาแชมป์บ้านใหญ่นาคาศัย)

พิษณุโลก มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ กลุ่มพลังพิษณุโลก   (รักษาแชมป์)

ชุมพร นพพร อุสิทธ พรรครวมไทยสร้างชาติสนับสนุน (รักษาแชมป์)

ราชบุรี วิวัฒน์ นิติกาญจนา ตระกูลนิติกาญจนา ได้ย้ายสส.อยู่พรรคกล้าธรรม (รักษาแชมป์)

เพชรบุรี ชัยยะ อังกินันทน์  พรรครวมไทยสร้างชาติสนับสนุน (รักษาแชมป์)

เพชรบูรณ์ อัครเดช ทองใจสด ในนามอิสระ เครือข่ายพรรคพลังประชารัฐ (รักษาแชมป์)

กำแพงเพชร สุนทร รัตนากร ในนามอิสระ พรรคพลังประชารัฐ พี่ชาย “วราเทพ รัตนากร” (รักษาแชมป์)

พรรคกล้าธรรม

หนองบัวลำภู ศรัณยา สุวรรณพรหม (หน้าใหม่) 
สมุทรสงคราม เจษฎา ญาณประภาศิริ  (หน้าใหม่)  

พรรคประชาชน

ลำพูน วีระเดช ภู่พิสิฐ 

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

เพื่อไทย 20 จังหวัด รักษาแชมป์ 12 จังหวัด

เชียงใหม่ พิชัย เลิศพงศ์อดิศร (ทักษิณ ปราศรัยชนะ) / (รักษาแชมป์)
ลำปาง ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร (ทักษิณ ปราศรัยชนะ) / (รักษาแชมป์) 
แพร่ อนุวัธ วงศ์วรรณ (รักษาแชมป์)
น่าน นพรัตน์ ถาวงศ์ (รักษาแชมป์)
นครราชสีมา ยลดา หวังศุภกิจโกศล  (รักษาแชมป์)
สกลนคร นฤมล สัพโส (หน้าใหม่)
หนองคาย วุฒิไกร ช่างเหล็ก (ทักษิณ ปราศรัยชนะ) /(หน้าใหม่)
มหาสารคาม พลพัฒน์ จรัสเสถียร  (ทักษิณ  ปราศรัยชนะ)/ (หน้าใหม่)
นครพนม อนุชิต หงษาดี (ทักษิณ ปราศรัยชนะ) / (หน้าใหม่)
ปราจีนบุรี ณภาภัช อัญชสาณิชมน  (หน้าใหม่)

กาฬสินธุ์ เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล (หน้าใหม่)
ร้อยเอ็ด เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ (หน้าใหม่ )
กาญจนบุรี ประวัติ กิจธรรมกูลกิจ กลุ่มพลังกาญจ์ สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน (หน้าใหม่ /ป้องกันแชมป์ให้ พท.)

ยโสธร วิเชียร สมวงศ์ พรรคเพื่อไทย กลุ่มเพื่อไทยอีสานใต้ “กัลป์ตินันท์” (รักษาแชมป์)
ขอนแก่น วัฒนา ช่างเหลา ในนามอิสระ พรรคเพื่อไทย สาย 2 ส.ให้การสนับสนุน (หน้าใหม่) 
พะเยา ธวัช สุทธวงศ์   ตัวแทน ร.อ.ธรรมนัส พรรคกล้าธรรรม พันธมิตรพรรคเพื่อไทย (หน้าใหม่/ ป้องกันแชมป์)

สุโขทัย มนู พุกประเสริฐ  ตัวแทนบ้านใหญ่ “เทพสุทิน”  (รักษาแชมป์)

อุดรธานี ศราวุธ เพชรพนมพร  (หน้าใหม่ /ป้องกันแชมป์) (ทักษิณ ปราศรัยจังหวัดแรกชนะ)
อุตรดิตถ์ ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา กลุ่มรักอุตรดิตถ์บ้านเรา  (รักษาแชมป์)
อุบลราชธานี กานต์ กัลป์ตินันท์ (รักษาแชมป์) (ทักษิณ ปราศรัยชนะ)

3 ก๊กฝังลึก ศึก‘ท้องถิ่นนิยม’   33 อบจ.บ้านใหญ่ สมการรัฐบาล

เครือข่ายน้ำเงิน ภท.ชนะ 20 จังหวัด รักษาแชมป์ 17 จังหวัด

ศรีสะเกษ วิชิต ไตรสรณกุล (รักษาแชมป์) (ทักษิณปราศรัยแพ้)
บุรีรัมย์ ภูษิต เล็กอุดากร (รักษาแชมป์)
บึงกาฬ แว่นฟ้า ทองศรี (รักษาแชมป์) (ทักษิณ ปราศรัยแพ้)
อำนาจเจริญ พนัส พันธุ์วรรณ  (หน้าใหม่ / ป้องกันแชมป์ให้ ภท.)
ลพบุรี อรพิน จิระพันธุ์วาณิช (รักษาแชมป์)
พิจิตร กฤษฏ์ เพ็ญสุภา (หน้าใหม่) (หลานประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) (ป้องกันแชมป์ให้เครือข่ายน้ำเงิน)
เชียงราย อทิตาธร วันไชยธนวงค์  (รักษาแชมป์) (ทักษิณปราศรัยแพ้)
กระบี่ สมศักดิ์ กิตติธรกุล (รักษาแชมป์)
สตูล สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ (รักษาแชมป์)

นครสวรรค์ พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ กลุ่มนครสวรรค์บ้านเรา บ้านใหญไทยเศรษฐ์ สนับสนุน (รักษาแชมป์)
อ่างทอง สุรเชษฐ์ นิ่มกุล กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด ตัวแทนบ้านใหญ่ “ปริศนานันทกุล”  (รักษาแชมป์)
พระนครศรีอยุธยา สมทรง พันธ์เจริญวรกุล ในนามอิสระ  (รักษาแชมป์)
ปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง กลุ่มคนรักปทุม(รักษาแชมป์)
อุทัยธานี เผด็จ นุ้ยปรี กลุ่มคุณธรรม  บ้านใหญ่ไทยเศรษฐ์ สนับสนุน (รักษาแชมป์)

สุรินทร์ ธัญพร มุ่งเจริญพร ในนามอิสระ  (หน้าใหม่ / ป้องกันแชมป์)
เลย ชัยธวัช เนียมศิริ กลุ่มพัฒนา ตัวแทนบ้านใหญ่ “ทิมสุวรรณ”  (หน้าใหม่ ป้องกันแชมป์)
ตาก อัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ กลุ่มพัฒนาตาก (หน้าใหม่  ป้องกันแชมป์ให้ ทวีเกื้อกูลกิจ สะใภ้ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูล อดีตนายก อบจ.ตาก)
ชัยภูมิ สุรีวรรณ นาคาศัย ในนามอิสระ อดีตอดีตที่ปรึกษา “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็นภรรยาของ “สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์” สส.ชัยภูมิ พรรคภูมิใจไทย (หน้าใหม่)
ระนอง สีหราช สรรพกุลกลุ่มระนองก้าวหน้า  (หน้าใหม่)
นครศรีธรรมราช วาริน ชิณวงศ์ ทีมนครเข้มแข็ง (หน้าใหม่)

นายก อบจ.หน้าใหม่ (1 ก.พ. 68  47 จังหวัด)

ลำพูน - วีระเดช ภู่พิสิฐ (พรรคประชาชน)
พิจิตร - กฤษฎ์ เพ็ญสุภา (บ้านใหญ่ภัทรประสิทธิ์  ภูมิใจไทย)
นครนายก - นิดา ขนายงาม (อิสระ บ้านใหญ่บุญ-หลง)
สุพรรณบุรี - อุดม โปร่งฟ้า (ชาติไทยพัฒนา)
สุราษฎร์ธานี - โสภา กาญจนะ (รวมไทยสร้างชาติ)
หนองคาย - วุฒิไกร ช่างเหล็ก  (เพื่อไทย)
อำนาจเจริญ -  พนัส พันธุ์วรรณ  (ภูมิใจไทย)
หนองบัวลำภู - ศรัณยา สุวรรณพรหม  (กล้าธรรม)
สมุทรสงคราม - เจษฎา ญาณประภาศิริ (กล้าธรรม)
นครพนม - อนุชิต หงษาดี (เพื่อไทย)
สกลนคร - นฤมล สัพโส (เพื่อไทย)
มหาสารคาม - พลพัฒน์ จรัสเสถียร (เพื่อไทย)
ฉะเชิงเทรา - กลยุทธ ฉายแสง (พันธมิตร เพื่อไทย รวมพลังบ้านใหญ่แปดริ้ว)
มุกดาหาร - วีระพงษ์ ทองผา  (พลังประชารัฐ)
สงขลา - สุพิศ พิทักษ์ธรรม (ประชาธิปัตย์)
สมุทรปราการ - สุนทร ปานแสงทอง  (บ้านใหญ่อัศวเหม)