จุดเสี่ยงคว่ำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ‘4 ด่าน’ แนวสกัดกู้ 5 แสนล้าน

จุดเสี่ยงคว่ำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ‘4 ด่าน’ แนวสกัดกู้ 5 แสนล้าน

แนวทาง ที่ "รัฐบาล" จะออก พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อใช้นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ดูๆแล้วไม่ง่าย เพราะมีจุดเสี่ยงคว่ำนโยบาย จากแนวสกัด 4 ด่าน สตง.- กกต. -ป.ป.ช. -ศาลรธน.

“เพื่อไทย” พรรคแกนนำรัฐบาลประกาศจุดยืนชัดเจน ต้องเดินหน้าผลักดันนโยบายแจก 10,000 บาทดิจิทัลวอลเล็ตให้สำเร็จ เพราะเป็นนโยบายหลักของพรรค ที่เป็นเดิมพันทางการเมืองทั้งปัจจุบันและอนาคต

เมื่อรัฐบาลเข้าที่เข้าทาง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจก 10,000 บาทดิจิทัลวอลเล็ต จึงถูกทวงถามทันที แต่ปัญหาคือหลายฝ่ายในสังคมรุมตั้งคำถามถึงที่มาของงบฯ และผลกระทบจากการสร้างหนี้อนาคต

"ทีมเพื่อไทย” พยายามหาทางเค้นงบประมาณที่ซ่อนอยู่ในรายจ่ายประจำปีฯ แต่ไม่สามารถหาเงินมหาศาล 5 แสนล้านบาท มาดำเนินโครงการได้ กระทั่งต้องยอมผิดคำพูด ที่ว่าจะไม่กู้เงินมาดำเนินโครงการ 

นายกฯเศรษฐา ทวีสิน ตัดสินใจประกาศว่า แหล่งเงินจะมาจากการออก พ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ส่งผลให้เกิดแรงหนุน-แรงต้านทางการเมืองออกมาสองทิศสองทาง

จุดเสี่ยงคว่ำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ‘4 ด่าน’ แนวสกัดกู้ 5 แสนล้าน

เมื่อแหล่งของเงินจะต้องกู้ ดังนั้นกระบวนการจึงต้องผ่านการออกกฎหมาย ด้วยการตรา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินวงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่ 12 ซึ่งมี "พนัส สิมะเสถียร" เป็นประธานคณะ พิจารณาตามกระบวนการ ก่อนจะเห็นชอบและส่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณา

โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มได้ในช่วงสัปดาห์กลางเดือน ธ.ค. ระหว่างวันที่ 13 - 22 ธ.ค. ซึ่งคล้อยหลังจากที่เปิดสมัยประชุม สภาฯ ในวันที่ 12 ธ.ค. พร้อมกับเปิดให้สภาฯ พิจารณาวาระแรก 1-2 วัน ก่อนจะลงมติว่ารับหลักการหรือไม่ โดยเชื่อว่าจะไม่มีอุปสรรค เพราะรัฐบาลกุมเสียงข้างมากเกินครึ่งไว้ในมือ

เมื่อสภาฯลงมติรับหลักการแล้ว ต้องตั้ง “กรรมาธิการ” (กมธ.) พิจารณา เพื่อเข้าสู่การพิจารณารายมาตราว่ามีประเด็นใดจะปรับแก้ไขตามคำแปรญัตติของ “สส.” หรือไม่ ซึ่งขั้นตอนในสภาฯ ชุดที่ผ่านมา พบว่าจะใช้เวลาสั้นสุดที่ 7 วัน จุดเสี่ยงคว่ำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ‘4 ด่าน’ แนวสกัดกู้ 5 แสนล้าน

 

ส่วนภาพรวมการพิจารณาในชั้น กมธ. หากมีความจำเป็นเร่งด่วน และเนื้อหาไม่มาก สามารถย่นเวลาให้เร็วที่สุดได้ 20-25 วัน แต่หากมีเนื้อหาที่จำเป็นต้องถกเถียง และแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่าย อาจยึดกรอบเวลาปกติคือ 30-45 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน

*จับตาชั้น กมธ.ต้องเร่งให้เสร็จ

ปัจจัยระยะเวลาจะเร็วหรือช้าของชั้นกมธ.นั้น ที่ผ่านมาขึ้นอยู่กับความจำเป็นของรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งในคำประกาศเบื้องต้นของรัฐบาล คือต้องการให้เริ่มใช้ พ.ค.2567 ดังนั้นอาจจำเป็นต้องเร่งกระบวนการในกมธ.ให้สั้นที่สุด เผื่อเวลาถูกยื้อในชั้นถัดไป

เมื่อกมธ.พิจารณาแล้วเสร็จต้องส่งให้ สภาฯ พิจารณาวาระสอง คือพิจารณารายมาตรา ว่าจะเห็นด้วยกับ กมธ.เสียงข้างมากที่เสนอหรือไม่ ก่อนจะเข้าสู่วาระสาม คือเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับ ขั้นตอนนี้หากใช้เสียงข้างมากนำไป อาจถกเถียงกันสั้นสุดแค่ครึ่งวัน หรือวันเต็มๆ

จุดเสี่ยงคว่ำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ‘4 ด่าน’ แนวสกัดกู้ 5 แสนล้าน

เมื่อขั้นตอนนี้สามารถผ่านได้ โดยเสียงข้างมากของฝ่ายรัฐบาลได้ ต้องส่งร่างพ.ร.บ.กู้เงินให้ “วุฒิสภา” พิจารณาอีกชั้น โดยขั้นตอนของ วุฒิสภามีกติกา กรอบเวลาชัดเจน คือ ร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน 

เว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ แต่ไม่เกิน 30 วัน หากพิจารณาไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ให้ถือว่าวุฒิสภา “เห็นชอบ”

*ลุ้นแก้เนื้อหาวาระ 3 ยืดเวลา

ส่วนขั้นตอนพิจารณาให้ทำเป็น 3 วาระ คือวาระหนึ่ง คือพิจารณาและลงมติว่าจะรับร่างพ.ร.บ.ไว้พิจารณาหรือไม่เห็นชอบกับ สภาฯ วาระสอง พิจารณาร่าง พ.ร.บ. โดย กมธ.ที่วุฒิสภาตั้งขึ้น หรือ กมธ.เต็มสภา ในกรณีพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ที่กมธ.พิจารณาแล้วเสร็จ ให้เรียงลำดับมาตราจนจบร่าง และพิจารณาสรุปได้อีกครั้ง เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ แต่จะแก้ไขเนื้อความไม่ได้ นอกจากที่เห็นว่ายังขัดแย้งกัน

และวาระสาม ลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับ กรณีเห็นชอบโดยไม่แก้ไขใดๆ ให้ส่งไปยังสภาฯ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนประกาศใช้เป็นกฎหมาย หรือกรณีเห็นชอบแต่แก้ไขต้องให้สภาฯ เห็นชอบตามที่วุฒิสภาแก้ไขก่อน จึงดำเนินขั้นตอนต่อไป

แต่หากสภาฯไม่เห็นชอบกับที่วุฒิสภาแก้ไข ให้ตั้ง “กมธ.ร่วมกัน” เพื่อพิจารณาอีกครั้ง และส่งให้แต่ละสภาฯ เห็นชอบอีกครั้ง หากมีสภาฯใดไม่เห็นชอบให้ ยับยั้ง ร่างพ.ร.บ.นั้นไว้ เป็นเวลา 180 วัน จึงให้สภาฯ หยิบยกมาพิจารณายืนยันอีกครั้ง

จุดเสี่ยงคว่ำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ‘4 ด่าน’ แนวสกัดกู้ 5 แสนล้าน

ในกรณีที่ “วุฒิสภา” ไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพ.ร.บ.ไว้ และส่งคืนไปยังสภาฯ โดยมีเงื่อนไข สภาฯต้องพักร่าง พ.ร.บ.ไว้ 180 วันก่อนจะหยิบยกมายืนยันด้วยเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของสส.ที่มีอยู่

*ลุ้น สว.ชี้ขาดให้ทัน พ.ค.2567 

ดังนั้น ในชั้นของวุฒิสภา หาก ร่างพ.ร.บ.เงินกู้เคลียร์ประเด็นคาใจได้ ทั้งในแง่ “เหตุผล-ความจำเป็น” ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายวินัยการเงินการคลังได้ รวมถึงไม่มีเหตุใดต้องแก้ไข-ปรับปรุง เวลาที่พิจารณาสั้นสุด คือ 30 วัน หรือไม่เกิน 60 วัน “ร่างกฎหมาย” จะเข้าสู่กระบวนการประกาศใช้ได้ทันตามกรอบของรัฐบาลในเดือนพ.ค.2567

หาก “รัฐบาล” เคลียร์ไม่ชัด และมีประเด็นที่นำไปสู่การ “เห็นแย้ง” ของ สว. จนกลายเป็น “ถูกแก้ไข” เวลาต้องถูกยืดออกไปอีก 2 เดือน หรือหากเกิดกรณี สว. “ไม่เห็นชอบ” ร่างกฎหมายนั้นจะถูกขยายออกไปอย่างน้อย 6-8 เดือน

*แนวสกัด ด่านตรวจสอบ 3 องค์กร

ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวจาก “แนวต้าน” ในภาคประชาสังคม ยังคงมีกระแสอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขณะนี้มีภาพการจ้องจับผิด โดยผนวกความเข้ากับ “กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 53” ว่าด้วยเหตุผลของการ “ตรากฎหมาย” รวมถึงเนื้อความของ “รัฐธรรมนูญ” ที่กำหนดไว้ในมาตรา 245 ที่ให้ 3 องค์กร คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  คณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตรวจสอบความเสี่ยงของนโยบายแจกเงินดิจิทัล ที่อาจกระทบ และเกิดความเสียหายต่อการเงินการคลังของรัฐ หากพบให้ส่งรายงานความเห็นไปยัง รัฐบาล-สภา-ภาคประชาชน ได้รับทราบ

จุดเสี่ยงคว่ำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ‘4 ด่าน’ แนวสกัดกู้ 5 แสนล้าน

แม้บทบัญญัติของ มาตรา 245 จะไม่กำหนด “บทลงโทษ” เอาไว้ ทว่าหลายฝ่ายตีความว่ารัฐบาลไม่ควรฝืน เนื่องจาก มาตรานี้กำเนิดขึ้น เพราะโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างผลเสียหายต่อการเงินการคลังของประเทศ และคนที่ดำเนินการเรื่องนี้ โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงที่เกิดขึ้น มีสิทธิต้องคดี ถูกศาลพิพากษาจำคุก ซึ่งตัวอย่างก็มีให้เห็นมาแล้ว

* เสี่ยงสะดุดชั้นศาลรัฐธรรมนูญ

 จะเห็นได้ว่าความเคลื่อนไหวของ แนวรบ-แนวต้าน ในทุกประเด็นมี “กลุ่มนักร้อง” ทยอยยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีการออก พ.ร.บ.กู้เงิน ปมความจำเป็นเร่งด่วน หรือเข้าขั้ววิกฤต ที่จำเป็นต้องออกกฎหมายกู้เงินแล้วหรือไม่

ดังนั้นหนทางของ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท แม้รัฐบาลจะครองเสียงข้างมากในสภาฯ และได้ใจ สว.บางส่วน แต่ใช่ว่า จะผ่านด่านต่างๆ ไปได้โดยง่าย เพราะนอกจากสภาฯแล้ว ปลายทางที่ยังมี “3 องค์กร” ตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 245 และ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ชี้ขาดในชั้นสุดท้าย

ชะตาของรัฐบาลเพื่อไทย และนายกฯเศรษฐา ยังต้องฝ่าอีกหลายด่าน กว่าโครงการแจก 10,000 ดิจิทัลวอลเล็ตจะผ่าน ออกมาเป็นผลงาน “รัฐบาลเพื่อไทย”.