โหวตนายกฯ ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.ไม่เห็นชอบ ส่องคอมเมนต์โซเชียล

โหวตนายกฯ ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.ไม่เห็นชอบ ส่องคอมเมนต์โซเชียล

ควันหลง "โหวตนายก" ชื่อของตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กลายเป็นอีกคนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชาวโซเชียลหลังโหวต ไม่เห็นชอบ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

ควันหลง "โหวตนายก" เมื่อวานนี้ (13 ก.ค.2566) ชื่อของตรีนุช เทียนทอง ส.ส.แบ่งเขต พรรคพลังประชารัฐ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กลายเป็นอีกคนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชาวโซเชียลหลังโหวต ไม่เห็นชอบ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

การลงคะแนนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ลำดับที่ 201 นางสาวตรีนุช เทียนทอง หลังลงมติ "ไม่เห็นชอบ" ท่ามกลางชาวโซเชียลที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างดุเดือด บางคนโจมตีไปถึงระบบการศึกษาของประเทศ รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้ที่ดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ. แต่ไม่เข้าเคารพเสียงของประชาชนกันเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม บางคอมเมนต์ก็ออกมาปกป้อง รมว.ศธ. เนื่องจากเธอเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตที่ประชาชนเป็นคนเลือกมา การลงมติ เห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ก็เป็นสิทธิ์ของเธอ 

ด้าน เพจเฟซบุ๊ก นักเรียนเลว ได้โพสต์ภาพของ ตรีนุช เทียนทอง พร้อมระบุข้อความว่า "ไม่เห็นชอบค่ะ" ตรีนุช เทียนทอง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงมติในวาระเลือกนายก พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 13 กรกฎาคม 2566

 

 

โหวตนายกฯ ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.ไม่เห็นชอบ ส่องคอมเมนต์โซเชียล

 

ตรีนุช เทียนทอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

การศึกษา สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่น 18 ระดับปริญญาตรี 2 ใบ คือจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อปี 2535 และ สาขาการเงินการลงทุน จาก Western Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2538 

รวมไปถึงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ใน พ.ศ. 2540

เส้นทางการเมือง 

ตรีนุช เทียนทอง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สระแก้วในครั้งแรก และครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย 

ต่อมา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคประชาราช และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย

ปี 2561 ตรีนุช ได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5

กระทั่งปี 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นนักการเมืองสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้ด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลประกอบจาก

ทวิตเตอร์

เฟซบุ๊ก นักเรียนเลว

wikipedia