เปิด "เกมสภาฯ" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”

เปิด "เกมสภาฯ" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”

แม้ "พรรคก้าวไกล" จะมั่นใจ ไม่มีถอยว่า ส่ง "พิธา" สู่การโหวตนายกฯ ได้ ทว่า ปมที่เป็น "ชนักปักหลัง" คือช่อง ที่เปิดให้ "เกมสภาฯ" เล่นงานได้

ยามนี้ “พรรคก้าวไกล” ยังมั่นใจว่าจะเสนอชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” แคนดิเดตนายกฯ ขึ้นสู่ด่าน “ท้าชิง” นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ได้

หลังจากที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตีตกคำร้องของ “เหล่านักร้อง” ด้วยเงื่อนไขเกินระยะเวลา

แต่ยังต้องลุ้นด่าน “151” ที่ กกต.ตั้งเรื่องตรวจสอบ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 151 กรณีที่รู้ว่าตนเองขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม แต่ยินยอมให้พรรคเสนอชื่อลงเลือกตั้ง โดยมาตรานี้ มีบทกำหนดโทษ ทั้งจำคุก ทั้งปรับ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

 

แม้มาตรา 151 จะมีบทลงโทษที่รุนแรงถึงขั้นจำคุก ที่จะส่งผลต่อการตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งในอนาคต แต่ตามกลไก และ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ยังไม่ใช่ "เงื่อนตาย”

 

หากพิจารณาบัญญัติส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม” ของนายกฯ ที่เชื่อมโยงกับ ผู้สมัคร ส.ส. และ ส.ส. แม้มี หลายมาตราที่กำหนดสเปกนายกฯ แต่ต้องเป็นความผิดขั้นสุดเท่านั้น เช่น จำคุก พ้นจากตำแหน่ง ถูกเพิกถอนสิทธิสมัคร ถูกสั่งให้พ้นจากราชการ เป็นต้น

 

และแม้มาตรา 98 ที่กำหนดให้เป็นคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามสำคัญ ที่ “พิธา” ติดล็อก คือ (3) ว่าด้วยการ ถือหุ้นในกิจการสื่อฯ ในชั้นนี้ยังไม่มีองค์กรอิสระใดที่ชี้ขาดว่า เข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามตามนั้น 

เปิด \"เกมสภาฯ\" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”

ดังนั้น ทีมกฎหมายก้าวไกลจึงเชื่อว่า จะสามารถส่ง พิธา สู่เวทีรัฐสภาได้ และ 7 พรรคร่วมรัฐบาลไม่เบี้ยวโหวต เทเสียง 312 เสียงเต็ม พ่วงกับพรรคเล็ก 4 เสียง

 

ผสมกับ “พลังมวลชน” นอกสภาฯ กดดัน ส.ว.ให้โหวตตามผลเลือกตั้งได้สำเร็จ  ลมอาจเปลี่ยนทิศหนุนส่งให้พิธานั่งเก้าอี้นายกฯ ได้นานพอ เพื่อให้พรรคก้าวไกลบรรลุโจทย์ “เปลี่ยนประเทศ”

 

ทว่า การหวังผลแห่งอนาคต ตามที่ก้าวไกลต้องการ เอาเข้าจริง ก็ยังมีด่านที่ต้องพิจารณา

 

ตามคำให้สัมภาษณ์ ของ “วิษณุ เครืองาม” ปรมาจารย์ด้านกฎหมายของหลายรัฐบาล เมื่อ 13 มิถุนายน สำทับเมื่อ 14 มิถุนายน ต่อ ความรับผิดชอบสูงสุด ก่อนทูลเกล้าฯ ชื่อนายกรัฐมนตรีที่ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ในฐานะผู้ทูลเกล้าฯ และสนองพระบรมราชโองการต้องพิจารณา โดยหลักการที่สำคัญ คือ ต้องเข้มงวด กวดขัน ตรวจสอบให้เรียบร้อย

เปิด \"เกมสภาฯ\" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”

 

ตามขั้นตอนการโหวตนายกฯ นั้น ประธานรัฐสภามิอาจระงับยับยั้งได้โดยอำนาจของประมุขนิติบัญญัติ แต่ทำได้เมื่อมี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือ 50 คนจากสมาชิกของสภาฯ 500 คน เข้าชื่อร้องให้ตรวจสอบคุณสมบัติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82

 

ตามการปฏิบัติที่ผ่านมาของ “ชวน หลีกภัย” อดีตประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นบุรุษไปรษณีย์ เพื่อส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ หลังตรวจสอบความถูกต้องแล้ว

 

ทั้งนี้ “ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ” มองในประเด็นนี้ว่า ในขั้นตอนปฏิบัติอาจเกิดขึ้นได้ หลังจากที่มีการประชุมสภาฯ ครั้งแรก ที่ให้ ส.ส.กล่าวคำปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ เพราะจะถือว่ามีสถานะเป็น ส.ส.โดยสมบูรณ์ ทั้ง “กลุ่มผู้ยื่นคำร้อง” และ “ส.ส.ผู้ถูกร้อง”

ทว่า การส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่ โดย บุคคลที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาฯ ซึ่งรอการโปรดเกล้าฯ นั้น ยังไม่เคยเกิดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่อาจต้องรอให้โปรดเกล้าฯ ประธานสภาฯ เกิดขึ้นเสียก่อน

 

ถึงกระนั้น การส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยคุณสมบัติ ส.ส.ยังสามารถเกิดขึ้น ก่อนนัดประชุมรัฐสภาเพื่อ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะมีจังหวะรอเรียกประชุมรัฐสภา ในห้วง 3-5 วัน

 

ประเด็นที่ถูกคาดการณ์ทั้งหมดจะถูก“เร่ง” หรือ“ยื้อ” เพื่อให้เข้าทางฝ่ายการเมืองใด ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯว่าเป็นคนของใคร

เปิด \"เกมสภาฯ\" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”

สำหรับประเด็น คุณสมบัติของ พิธา ที่ “ติดล็อก” แน่นอนว่า จะถูกใช้เป็นเหตุผล ผสมข้ออ้างที่มีน้ำหนักมากพอ ที่ ส.ว.จะไม่ไว้วางใจให้เป็นนายกฯ เหมือนครั้งที่ยกมาเป็นข้ออ้างไม่โหวตให้ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ตอนปี 2562

 

ความเคลื่อนไหวของวุฒิสภา ล่าสุด “เสรี สุวรรณภานนท์” ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่ติดตามสถานการณ์การเมืองใกล้ชิด ระบุถึงประเด็นการโหวตนายกฯว่า หลักๆ ต้องพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม นโยบายพรรคที่สังกัด รวมพฤติกรรมอื่นประกอบ 

เปิด \"เกมสภาฯ\" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”

จากการติดตามพบว่า “พิธา" ยังไม่เหมาะที่จะเป็นนายกฯ ส่วนใครหลายคนบอกว่า เขาชนะเลือกตั้งเลือกตั้งมานั้น เป็นคนละขั้นตอนกับการเลือกตั้ง เพราะหลังได้รับเลือกตั้งแล้ว ต้องถูกตรวจสอบ ทั้งในชั้นของ กกต. และสภาฯ เพื่อไม่ให้มีปัญหา

สอดคล้องกับ การส่งสัญญาณจาก “พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์” ส.ว.สายเพื่อนประยุทธ์ ที่ให้สัมภาษณ์ในวันที่ม็อบเสื้อเหลืองตบเท้าให้กำลังใจ ส.ว. เมื่อต้นสัปดาห์ ว่า

"ที่บอกว่าเสียงอันดับหนึ่งเป็นนายกฯ หลายท่านเข้าใจผิด เสียงส่วนใหญ่กับเสียงส่วนน้อย เป็นขั้นตอนของการเลือกตั้ง แต่ตอนนี้ไม่มีเสียงส่วนใหญ่ ยังไม่รู้ว่าใครเป็นเสียงส่วนใหญ่ เป็นแค่การวางแผนกันเท่านั้น คนที่ได้รับเลือกตั้งมามากเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่”

เปิด \"เกมสภาฯ\" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”

สะท้อนให้เห็นความชัดเจนว่า ลำพังแค่ปลุก “ด้อมส้ม” เป็นพลังกดดันทางการเมืองนั้น ไม่ง่าย เพราะ “พิธา” ที่ถูกเสนอชื่อ ยังเคลียร์ ตัวเองไม่สะเด็ดน้ำ

 

แม้ก้าวไกลจะมองว่า พวกเขายังมีทางสู้ เพราะการเลือกนายกฯ ไม่ถูกล็อกด้วยเงื่อนไขด้านเวลา แต่หากยังยื้อ เท่ากับ “การตั้งรัฐบาล” ถูกยื้อ

 

และมวลชนกดดัน กกต. ให้เร่งประกาศผลเลือกตั้งโดยเร็ว เพื่อหวังผลต่อการจัดตั้งรัฐบาล อาจย้อนมาเป็นคำถามให้ “ก้าวไกล” พิจารณาตัวเองเสียใหม่ ก็เป็นได้.

เปิด \"เกมสภาฯ\" ขวาง “พิธา-ก้าวไกล”