"นักกฎหมาย" ชี้ "พิธา" โอกาสรอดปมถือหุ้นสื่อมีน้อย ย้ำ รธน. ห้ามเด็ดขาด

"นักกฎหมาย" ชี้ "พิธา" โอกาสรอดปมถือหุ้นสื่อมีน้อย ย้ำ รธน. ห้ามเด็ดขาด

"นักกฎหมาย" แจงปมถือครองหุ้นสื่อ "พิธา" มากน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ เป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาด โอกาสรอดคดีน้อย

วันที่ 13 พฤษภาคม 2566 จากการถือครองหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ถูกนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติเป็นบุคคลต้องห้ามใช้สิทธิสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 98(3) แห่งรัฐธรรมนูญ 

ล่าสุด ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน ถึงประเด็น คำวินิจฉัยศาลฎีกาที่ระบุว่า การถือหุ้นจำนวนน้อยไม่มีอำนาจบริหารจัดการบริษัท จะเป็นช่องทางรอดคดีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือไม่นั้น ตนเคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน จะต้องบอกก่อนว่า ไม่เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจในการเลือกตั้งในวัน 14 พ.ค. คำถามที่สื่อมวลชนถาม เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ตนจะอธิบายข้อกฎหมายให้ฟัง เห็นหลายคนออกมาให้ความเห็นทั้งทนายความ นักกฎหมายและผู้สมัคร ส.ส.ตามความถนัดของตน คลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง ทำให้ประชาชนสับสน เป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ การให้ความเห็นของตนไม่ถือว่า เป็นการชี้นำ กระบวนการสืบสวนหรือการไต่สวน และวินิจฉัยชี้ขาดของ กกต.เพราะกระบวนการไต่สวนของ กกต.มีกฎหมาย มีระเบียบและมีขั้นตอนการพิจารณา ต้องใช้เวลา แต่ไม่เกินหนึ่งปี จะต้องเป็นไป ตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน และวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2566  หาก กกต.รับคำร้องเรียน จะต้องวินิจฉัยก่อนว่า คดีมีมูลหรือไม่ อย่างไร หากรับเป็นคดีเลือกตั้ง หากคดีมีมูล จะต้องให้โอกาสนายพิธาฯ ฝ่ายผู้ถูกร้องชี้แจงข้อเท็จจริง หาก นายพิธาฯได้รับเลือกตั้ง เป็น ส.ส.อำนาจวินิจฉัยชี้ขาด เป็นอำนาจวินิจฉัยเป็นของศาลรัฐธรรมนูญ โดย กกต.สามารถยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 82 วรรคท้าย 

เจตนารมณ์แท้จริงของของรัฐธรรมนูญการ มาตรา 98(3) เป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาด โดยมีเจตนารมณ์ห้ามมิให้ผู้สมัคร ส.ส. เข้าไปแทรกแซง ครองงำ หรือบ่งการสื่อมวลชนเพื่อป้องกันมิให้ใช้สื่อมวลชนที่ตนเองเป็นเจ้าของโน้มน้าวหรือชักจูงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อันก่อให้เกิดความได้เปรียบ/เสียเปรียบในการเลือกตั้ง ส.ส.และป้องกันมิให้ ส.ส.ใช้กิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนที่ตนประกอบกิจการอยู่เพื่อประโยชน์ของตนอันมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.รวมทั้งคุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารได้โดยอิสระ 

ประเด็น เป็นเจ้าของหรือถือครองหุ้นสื่อของผู้สมัคร ส.ส.ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริง แบ่งเป็น 2 กรณี (1)เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท (2) เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นใน บมจ. ตลาดหลักทรัพย์เพื่อเก็งกำไร 

กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นกรณีถือครองหุ้นสื่อ บริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบัน บริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) ถูกถอดจากตลาดหลักทรัพย์แล้ว แต่สถานะยังประกอบกิจการอยู่ แต่ถือว่าประกอบกิจการเป็นรูปแบบนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน ตนจะยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2565 ระหว่าง ประธานรัฐสภา ผู้ร้อง พลโทพงศกร รอดชมภู กับพวก รวม 33 คน ผู้ถูกร้อง โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยสาระสำคัญ ให้ถือการประกอบกิจการแท้จริง โดยไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ทั่วไปของการจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ส่วนประเด็นการถือหุ้นใน บมจ.หรือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้สมัครซื้อหุ้นหรือตกทอดมาทางมรดก ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงใหม่ ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานมาก่อน ที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งที่ ลต.สสข.24/2566 ในคดีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ผู้สมัคร ส.ส. ปชป.นครนายก เขต 2 วินิจฉัยที่ว่า “การถือหุ้นจำนวนน้อยไม่มีอำนาจบริหารจัดการหรือไปสั่งการให้ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองอันเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองอื่น เนื่องจากไม่ใช้เจ้าของหรือมีจำนวนหุ้นในจำนวนมากพอที่จะสามารถกระทำเช่นนั้นได้” ตรงนี้ เป็นการตีความวินิจฉัยของศาลยุติธรรม

 โดยหยิบข้อเท็จจริงมาตีความตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เป็นความเห็นเฉพาะคดี ไม่ผูกพันศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการตีความข้อกฎหมายกฎหมายแม่บท รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะต้องวินิจฉัยตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ห้ามผู้สมัคร ส.ส. ถือครองหุ้นสื่อ ไม่ว่ามากน้อยเพียงใด เป็นบทห้ามเด็ดขาด ไม่ใช่บทตีความขยาย จะต้องตีความโดยเคร่งครัด ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแท้จริง ตนจะยกข้อเปรียบเทียบ คำสั่งของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งที่ 1706/2562 ระหว่าง ผู้อำนวยการเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร ผู้ร้อง นายภูเบศร์ เห็นหลอด ผู้คัดค้าน เทียบเคียงกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2565 ผลทางคดีแตกต่างกัน แม้นายภูเบศร์ฯจะประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง แต่ในหนังสือบริคณฑ์สนธิ ระบุวัตถุประสงค์ประกอบกิจการวิทยุหรือโทรทัศน์ จดทะเบียนวัตถุประสงค์ทั่วไป ไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าของหรือถือครองหุ้นสื่อ วินิจฉัยขาดคุณสมบัติ สมัครเป็น ส.ส.

ส่วนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2565 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงการประกอบกิจการแท้จริง แม้จะมีวัตถุประสงค์ทั่วไปเหมือนกับนายภูเบศร์ฯ ก็ตาม ผลคดีต่างตรงกันข้ามกัน แตกต่างกันชัดเจน แต่ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 วรรคท้าย ย่อมเด็ดขาดผูกพันศาลยุติธรรม โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้ศาลรัฐธรรมนูญให้ถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม 

ข้อเท็จจริง การถือครองหุ้นสื่อ บจม.ไอทีวี ในขณะที่ยังดำเนินกิจการอยู่และมีรายได้ จะเป็นตัวชี้ขาดพร้อมกับใบอนุญาตสื่อโทรทัศน์ ที่ บจม.ไอทีวี หากยังถือครองใบอนุญาตอยู่ โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจากแบบ สสช.1 ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆหรือไม่ อย่างไร อำนาจการในกำกับควบคุมกิจการ ในการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยหลักธรรมชาติ จะเป็นไปได้อย่างไร ผู้ซื้อหุ้นเก็งกำไร จะไปกำกับ สั่งการ ควบคุมกิจการของบริษัทที่เสนอขายหุ้นได้อย่างไร เพราะซื้อขายหุ้นและถือครองหุ้นเพื่อเก็งกำไร ตามจำนวนมากน้อยและกลไกตลาดหลักทรัพย์ เพียงบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน)ถูกถอดจากตลาดหลักทรัพย์ แต่หุ้นดังกล่าว ยังสามารถจำหน่ายได้ การถือครองหุ้นนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นการซุกหุ้นสื่อ มาตั้งแต่เป็น ส.ส.สมัยที่ผ่านมา

หาก กกต. ตรวจสอบเจอ น่าจะถูกเชือดตั้งแต่สมัยที่ผ่านมา แต่กระนั้น กระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้นภาคประชาชน เป็นข้อดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น การถือครองหุ้นสื่อมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะ รัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) ประกอบ พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 42(3) เป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาด ไม่ใช่บทข้อสันนิษฐานของกฎหมาย เพราะฉะนั้น การถือหุ้นสื่อมวลชนเพียงหุ้นเดียวย่อมขาดคุณสมบัติ ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่า การสั่งการ ควบคุมในการถือครองหุ้นสื่อสัดส่วนน้อยไม่มีอำนาจไปสั่งการบริษัทฯ เป็นการวินิจฉัยเฉพาะคดี ไม่ผูกพันให้ศาลรัฐธรรมนูญให้ถือตาม หากพิจารณาถึงข้อกฎหมาย หากคดีของนายพิธาฯ ขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญ หากพูดภาษาชาวบ้านว่า โอกาสรอดคดีน้อยน้อย หรือว่าแทบไม่มีโอกาสเลย ส่งผลกระทบต่อสถานะความเป็น ส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ย้อนหลังไปถึงเมื่อครั้ง สถานะความเป็น ส.ส.ครั้งแรกในปี 2562 ทั้งจะส่งผลรุกลามเป็นลูกโซ่ในปัญหาความชอบด้วยกฎหมายการลงนามในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล ส่งผู้สมัคร ส.ส.ทั้งสองระบบ ของพรรคก้าวไกลโดยตรงอีกด้วย