“ก้าวไกล” พุ่งปรี๊ด นิด้าโพล เผย สำรวจครั้ง3 สวนทาง “เพื่อไทย” กระแสลดฮวบ

“ก้าวไกล” พุ่งปรี๊ด นิด้าโพล เผย สำรวจครั้ง3 สวนทาง “เพื่อไทย” กระแสลดฮวบ

นิด้าโพล เผย ผลโพล ศึกเลือกตั้ง 66 ครั้งที่3 ปชช. หนุน พิธา นั่ง นายกฯ 35.44% พุ่งเกินเท่าตัว จากสำรวจรอบแรก อุ๊งอิ๊ง 29.20% ลดฮวบเกือบ10% พี่ตู่ 14.84% ทรงตัว ด้าน ส.ส.เขต พท. นำ 38.32% ลดจากครั้งแรก กว่า11% ก้าวไกล พุ่งกว่า16% ปาร์ตี้ลิสต์ พท. ดิ่งเฉียด12% พรรคส้ม พุ่งปรี๊ด กว่า18%

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 3” จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า 

อันดับ 1 ร้อยละ 35.44  ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) 

อันดับ 2 ร้อยละ 29.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) 

อันดับ 3 ร้อยละ 14.84 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) 

อันดับ 4 ร้อยละ 6.76 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) 

อันดับ 5 ร้อยละ 3.00 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ 

อันดับ 6 ร้อยละ 2.48 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) 

อันดับ 7 ร้อยละ 1.80 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) 

อันดับ 8 ร้อยละ 1.68 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) 

อันดับ 9 ร้อยละ 1.36 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.32 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) 

“ก้าวไกล” พุ่งปรี๊ด นิด้าโพล เผย สำรวจครั้ง3 สวนทาง “เพื่อไทย” กระแสลดฮวบ

และร้อยละ 2.12 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.ชลน่านศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม(พรรคไทยภักดี) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) 
นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2566 พบว่า 

ผู้ที่ระบุว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) และนายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า 

อันดับ 1 ร้อยละ 38.32 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 

อันดับ 2 ร้อยละ 33.96 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 

อันดับ 3 ร้อยละ 12.08 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 

อันดับ 4 ร้อยละ 4.28 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 

อันดับ 5 ร้อยละ 2.92 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย 

อันดับ 6 ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ 

อันดับ 7 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย 

อันดับ 8 ร้อยละ 1.56 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ 

อันดับ 9 ร้อยละ 1.24 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.36 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคกล้า พรรคเทิดไท พรรคไทยศรีวิไลย์พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคประชากรไทย

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2566 พบว่า 

ผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคพลังประชารัฐพรรคเสรีรวมไทย พรรคชาติพัฒนากล้า และยังไม่ตัดสินใจ มีสัดส่วนลดลง  ในขณะผู้ที่ระบุว่าพรรคก้าวไกล และพรรครวมไทยสร้างชาติ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น  

ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า 

อันดับ 1 ร้อยละ 37.92 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย   

อันดับ 2 ร้อยละ 35.36 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 

อันดับ 3 ร้อยละ 12.84 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 

อันดับ 4 ร้อยละ 3.32 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 

อันดับ 5 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย 

อันดับ 6 ร้อยละ 1.68 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย 

อันดับ 7 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย 

อันดับ 8 ร้อยละ 1.28 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ 

อันดับ 9 ร้อยละ 1.24 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.40 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคประชาชาติ พรรคกล้า พรรคเทิดไท พรรคไทยศรีวิไลย์พรรคเศรษฐกิจไทย และพรรคพลังสังคมใหม่