ศาลรธน.ยืนคำสั่ง "ศักดิ์สยาม" หยุดปฏิบัติหน้าที่ เหตุไม่เข้าข่าย"เพิกถอน"

ศาลรธน.ยืนคำสั่ง "ศักดิ์สยาม" หยุดปฏิบัติหน้าที่  เหตุไม่เข้าข่าย"เพิกถอน"

ศาลรธน.ยืนคำสั่ง "ศักดิ์สยาม" หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี ชี้ "คำอุทธรณ์" ไม่มีข้อเท็จจริงเพิ่มอันเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสารระบุว่าว่า กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 หรือไม่ไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้ นายศักดิ์สยาม ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีตั้งแต่ วันที่ 3 มี.ค.2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยนั้น 

ศาลรธน.ยืนคำสั่ง \"ศักดิ์สยาม\" หยุดปฏิบัติหน้าที่  เหตุไม่เข้าข่าย\"เพิกถอน\"

 

โดยวันที่ 11 เม.ย. 2566 นายศักดิ์สยาม ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 เม.ย.2566 ขอให้เพิกถอนคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี 

แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีตามคําร้องยังไม่ปรากฏ มูลกรณีว่ามีการกระทําใดของผู้ถูกร้องที่จะเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 91 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคําสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และแจ้งให้ นายศักดิ์สยาม ทราบ 

ศาลรธน.ยืนคำสั่ง \"ศักดิ์สยาม\" หยุดปฏิบัติหน้าที่  เหตุไม่เข้าข่าย\"เพิกถอน\" สำหรับคดีนี้ ส.ส.จำนวน 54 คน ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ร้อง) ว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ผู้ถูกร้อง) ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ผู้ถูกร้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วน เป็นการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187

ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 (1) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82