"นิกร" เชื่อ "สภาฯ​" มีปัญหา ถก พ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหาย -ชี้3ทางออก

"นิกร" เชื่อ "สภาฯ​" มีปัญหา ถก พ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหาย -ชี้3ทางออก

"นิกร" ประเมิน สภาฯ มีปัญหา ถกพ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหายแน่ เหตุหลายฝ่ายมองไม่เข้าเงื่อนไขตามรธน. ชี้ 3ทางออก เชื่อ "นายกฯ" ไม่ด่วนยุบสภา ตัดตอนการพิจารณา

นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย ต่อประเด็นถึงสภาฯ เตรียมพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญัติ (พ.ร.บ.)ป้องกันและปราบปรามการทรมาณและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 ในวันพรุ่งนี้ (28 กุมภาพันธ์) ว่า  เรื่องดังกล่าว คณะรัฐมนตรีส่งให้สภาฯ เมื่อเวลาา 16.00 น. ของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ทำให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ต้องรีบบรรจุวาระ ทั้งนี้มีปัญหาต่อาการตีความว่าฉุกเฉิน เร่งด่วนหรือไม่ เพราะพ.ร.ก.ที่ออกมานั้นเป็นประเด็นเล็กๆ เท่านั้น ขณะเดียวกันในการพิจารณาของสภาฯ ตั้งแต่ในชั้นกรรมาธิการที่ฝ่ายข้างมากเป็นฝ่ายรัฐบาล ประเด็นนี้ไม่ใช่ในร่างแร แต่เป็นรายละเอียดที่ผ่านการแก้ไข  หากมีปัญหาร้ายแรงกับประชาชนต้องถูกสกัดไว้ตั้งแต่ชั้นกมธ. และในวาระสอง และวาระสาม แต่พบว่าไม่ถูกสกัดเนื้อหาไว้ ดังนั้นทำให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน โดยปัจจุบันมีการพูดกันว่าอาจนำไปสู่การยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญ

นายนิกร กล่าวด้วยว่าประเด็นที่กำลังจะเกิดขึ้น ตนมองว่ามีทางออก 3 ทาง คือ ทำให้สภาฯ ล่ม เมื่อประชุมไม่ได้รัฐบาลต้องขอเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญ หรือหากไม่อนุมัติต้องมีคนที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญไม่กำหนดว่าบุคคลใดต้องรับผิดชอบ นายกฯ ต้องยุบสภา หรือลาออก แต่เป็นวัฒนธรรมทางการเมือง

 

“หากนายกฯ ลาออกต้องหานายกฯใหม่แต่คนใหม่จะมาอยู่กี่วันถึง 23 มีนาคม ดังนั้นอาจไม่จำเป็น ดังนั้นเหลือแค่การยุบสภา ส่วนทางออกตรงกลางที่คิดว่าดีและเป็นไปได้ ที่ต้องรอดู หากพิจารณาแล้วฝ่ายค้านจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญทันที เพราะใช้เพียง 80 เสียงเท่านั้นโดยขณะนี้ทราบว่าการเข้าชื่อนั้นครบแล้ว หากยื่นศาลต้องรอการพิจารณาไว้ก่อนจนกว่าศาลพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ซึ่งจะพอดีกับสภาฯใหม่ที่จะเข้ามา ส่วนตัวผมเองมองว่าการออก พ.ร.ก.นั้นไม่เข้าข่ายตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวโดยเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่รีบยุบภาก่อนที่สภาฯจะพิจารณาพ.ร.ก.ดังกล่าว แม้ว่าจะมีอำนาจที่ทำได้ เนื่องจากต้องรอศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งให้ตีความเกี่ยวกับการรวมคนต่างด้าวเป็นจำนวนประชากรที่นำไปคำนวณจำนวนส.ส.ใน 8 จังหวัด ในวันที่ 3 มีนาคม อีกทั้งในทางการเมือง หากจะรอการยุบสภาอีก 1 สัปดาห์ ไม่มีผลต่างกับการกำหนดวันเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม.