เสรีรวมไทย ฟุ้ง นโยบายทวงคืน ปตท. ควบรวมการไฟฟ้า3ฝ่าย ผุดโซล่าโรงไฟฟ้าชุมชน

เสรีรวมไทย ฟุ้ง นโยบายทวงคืน ปตท. ควบรวมการไฟฟ้า3ฝ่าย ผุดโซล่าโรงไฟฟ้าชุมชน

"พรรคเสรีรวมไทย" ฟุ้ง นโยบายทวงคืน ปตท. รื้อระบบสัญญาควบรวมการไฟฟ้า 3ฝ่าย สร้างเอกภาพในการบริหาร ผุดโซล่าโรงไฟฟ้าชุมชน

18 ก.พ.2566 พรรคเสรีรวมไทย จัดแถลงเปิดตัว ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ระบบเขตทั่วประเทศและเปิดนโยบายพรรคสิบสี่ข้อที่จะใช้หาเสียงในครั้งนี้

โดย นางสาวนภาพร เพ็ชร์จินดา รองหัวหน้าพรรค ระบุถึงนโนบายพรรคข้อ11.สร้างเขื่อน เพื่อการเกษตร ป้องกันปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม คือ การสร้างเขื่อนขนาดกลาง ขนาดเล็ก และผนังกั้นน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจำกัดการไหลของน้ำในขณะที่เกิดน้ำท่วม ให้สามารถระบายน้ำ และเพื่อการเกษตรในสภาวะแล้ง

ส่วนข้อ12.น้ำมัน ไฟฟ้า ราคาถูก สำหรับประชาชน เช่น การทวงคืน ปตท. ให้กลับมาเป็นของประชาชน ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทั้งการยกเลิกการอ้างอิงราคาตามสิงคโปร์ และการยกเลิกการผสมเอทานอลเมื่อเอลทานอลสูงกว่าน้ำมัน ส่วนไฟฟ้า คือการรื้อระบบสัญญา สร้างโซล่าโรงไฟฟ้าชุมชน และการควบรวมการไฟฟ้า 3 ฝ่าย

สำหรับนโยบายพลังงาน น้ำมัน ไฟฟ้า ราคาถูก สำหรับประชาชนนั้นนับว่า   น้ำมันเป็นต้นทุนหลักที่ทำให้ค่าครองชีพสูง จะทวงคืน ปตท. ให้กลับมาเป็นของประชาชน ที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อให้ ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อคนไทย เพราะปัจจุบัน ปตท.มุ่งแสวงหาผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นอย่างอย่างเดียว   
                                    
ทั้งนี้การซื้อหุ้น ปตท. คืน จะได้อะไร 1. การกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม กำไรทั้งหมดตกเป็นของรัฐ 2.  กำหนดให้เป็นองค์การเพื่อสวัสดิการของรัฐโดยไม่มุ่งหวังกำไรได้ เพราะออกจากตลาดหลักทรัพย์แล้ว   3.  ที่พูดกันว่าบ้านเรามีทั้งก๊าซและน้ำมัน ทำไมคนไทยจึงต้องซื้อแพง บอกเลยว่าเอาจริงๆเราไม่มีทั้งก๊าซและน้ำมัน เพราะ เราขายสัมปทานให้เอกชนและต่างชาติไปหมดแล้ว  แต่เมื่อเราซื้อ ปตท.คืน เราจะกลับมามีทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นอีกครั้ง โดยเราจะไม่ขายสัมปทานอีกต่อไป เราจะให้ ปตท.อยู่ในสถานะเหมือนรัฐทำเอง ได้กำไรเอง    

4.  ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น 21บาท บวกภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม   กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์พลังงาน ค่าการตลาดกว่าจะใช้น้ำมัน บวกไป7รายการนั้น เราสามารถตัดเงินออกได้  เพราะหากต้นทุนน้ำมันแพง รัฐก็พยุงเอง แค่ขาดทุนกำไร แต่ไม่ได้ขาดทุนจริง  5.  ออกกฎหมายเฉพาะ เพื่อบริหาร ปตท.ได้อย่างอิสระ ปลอดจากการเมือง  เพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่แสวงหากำไร

  นางสาวนภาพร กล่าวต่อว่า  ส่วนคำถามที่ว่าจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อ ปตท.มีมูลค่าในตลาดฯกว่า 928,200 ล้านบาทนั้น โดยการทำ Tender ตั้งโต๊ะ เพื่อรับซื้อหุ้นคืน  โดย Free Float  49%  = 454,818 ล้านบาท  (top10 ของผู้ถือหุ้นอื่น มีต่างชาติ   ปตท. กำไร 9หมื่นกว่าล้านบาท  ปันผล 6.20 %ต่อปี)

และอยากให้ดูตัวอย่าง คนที่ซื้อ intuch และ makro เดิมมีเงินสดอยู่นิดเดียว ซื้อแล้วก็เอาหุ้นไปค้ำกับธนาคาร หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์ดีมาก เกรด A,B+ ดอกเบี้ยจึงต่ำ ขนาดเอาเงินปันผลของ intuch / makro ไปจ่ายดอกเบี้ยแล้วยังเหลือไปจ่ายคืนเงินต้น ไปกินโต๊ะจีนแพงๆได้อีก

 

    นอกจากนี้จะตั้งกองทุนเอาเงินไปซื้อหุ้นคืน แล้วเอากำไรผลประกอบการของ ปตท.ไปคืนกองทุน  ปตท.กำไร 9 หมื่นกว่าล้าน กำไรสะสมก็มีอีกเยอะ จากกำไร แค่ 4-5 ปีก็ชำระคืนกองทุนได้หมดแล้ว ผลประกอบการที่ได้ จะถูกนำไปสู่สวัสดิการสังคมด้านอื่นๆ รวมถึงการโอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไปใช้จ่ายค่าน้ำมันที่ปั๊มไหนก็ได้ เพื่อลดปัญหาการกีดกันทางการค้า  โดยยกเลิกการอ้างอิงราคาการนำเข้าจากสิงคโปร์ และยกเลิกการผสมเอทานอลเมื่อราคาเอทานอลในขณะนั้นสูงกว่าน้ำมันฟอสซิล

นางสาวนภาพร ยังระบุอีกว่า  ส่วนเรื่องไฟฟ้านั้น เราต้องจ่ายค่าพร้อมจ่ายให้เอกชน และรับซื้อไฟฟ้าในราคาแพงมานาน ต้องรื้อระบบสัญญาเอกชนกับการไฟฟ้า ที่ไม่เป็นธรรม ปราบทุจริตเชิงนโยบาย   จากรัฐบาลก่อนหน้า ด้วยการทำสัญญารับซื้อไฟฟ้าที่ทั้งแพงและยาวนาน บางบริษัทได้กำไรมหาศาลจนคืนทุนไปแล้ว แต่ก็ยังบังคับขายไฟฟ้าตามสัญญาในราคาแพง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน

“หากเราเป็นรัฐบาล จะเข้าไปตรวจสอบสัญญา ไปดูต้นทุน สืบหาหลักฐาน หากพบมีการทุจริตจะดำเนินคดีและยกเลิกสัมปทานขายไฟฟ้าทั้งหมด  หากมีข้อพิพาท ร้องอนุญาโตตุลาการ ก็จงรู้ไว้ก่อนว่า คู่กรณีคือคนไทยทั้งประเทศ"

อย่างไรก็ตาม ปตท.มีบริษัทลูกอีกหลายบริษัทที่ถือหุ้นอยู่  นอกจากบริหารในเรื่องของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว ปตท.ยังมีบริษัทลูกคือ บ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) หรือ GPSC บริษัทนี้น่าสนใจตรงที่ว่าใช้เงินไม่มาก คือประมาณ 4-5หมื่นล้านบาท ก็สามารถซื้อหุ้นคืนแล้วเอาออกนอกตลาดได้(Free Float 24.75%)

GPSC มีความสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้หลายรูปแบบ เมื่อตกเป็นของรัฐแล้วหากนำไปควบรวมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จะเป็นสุดยอดผู้ผลิตไฟฟ้าที่ไม่หวังผลกำไรชั้นนำของโลก สามารถผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ในราคาถูกได้ โดยในอนาคตเราไม่ต้องซื้อไฟฟ้าแพงๆจากเอกชนบางราย

นางสาวนภาพร กล่าวทิ้งท้ายว่า  ควรควบรวมการไฟฟ้า 3ฝ่าย  การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (ก.พลังงาน) ส่วนภูมิภาค กับ การไฟฟ้านครหลวง(ก.มหาดไทย) wholesale , retail. ค่าใช้จ่ายต่างๆก็ซ้ำซ้อนทำให้เกิดเอกภาพในการบริหารจัดการ  อาจจะให้GPSC มาร่วมบริหารจะเป็นทางเลือกที่ดี   สร้างโซล่าโรงไฟฟ้าชุมชน  กำไรที่เคยเก็บเอาเข้ากองทุนไว้ ให้เอามาลงทุนสร้าง