กลยุทธ์บ้านใหญ่ "ปิตุเตชะ" เดิมพัน "ระยองคะนองศึก"

กลยุทธ์บ้านใหญ่ "ปิตุเตชะ"  เดิมพัน "ระยองคะนองศึก"

ในทางการเมืองอะไรก็เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับสนามเลือกตั้งระยองซึ่งเป็นขุมกำลังของ“บ้านใหญ่ปิตุเตชะ” มาตั้งแต่รุ่นพ่อ รอบนี้อาจต้องเจอศึกหนักรอบทิศ

ศึกเลือกตั้ง 2566 สนามระยอง ที่รอบนี้จะมี ส.ส.เพิ่มจาก 4 คน เป็น 5 คน ยังถือเป็นเป็นขุมกำลังสำคัญของบ้านใหญ่ “ปิตุเตชะ” ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากสุด

ไล่มาตั้งแต่ยุค “สาคร ปิตุเตชะ”อดีตกำนันตำบลบางบุตร ผู้เป็นพ่อที่โลดแล่นสนามท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน 

ทว่า เมื่อมาถึงการเมืองสนามใหญ่ ดูเหมือนว่าลูกชายทั้ง 3 คนของ “กำนันสาคร” จะมีเส้นทางการเมืองที่แตกต่างกัน 

 “ช้าง” ปิยะ ปิตุเตชะ เริ่มเป็น ส.ส.ระยอง สมัยแรกในปี 2538 ในนามพรรคชาติพัฒนา ในปี 2544 “ปิยะ” ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ระยอง เขต 3 

ขณะที่ “ตี๋” สาธิต ปิตุเตชะ น้องชายเป็น ส.ส.เขต 1 เป็นสมัยแรก ในนามพรรคประชาธิปัตย์ 

ปี 2548 “ปิยะ” เบนเข็มไปที่สนามท้องถิ่น ในตำแหน่งนายกอบจ.ระยอง ส่ง “ธารา ปิตุเตชะ”  น้องชายอีกคนสวมเสื้อไทยรักไทยเป็น ส.ส.สมัยแรกที่เขต 3 ซึ่งเป็นเขตเดิมของตนเอง 

ส่วน “สาธิต” ยังคงรักษาแชมป์เป็น ส.ส.เขต 1 จ.ระยอง ในนาม ปชป. 

กลยุทธ์บ้านใหญ่ \"ปิตุเตชะ\"  เดิมพัน \"ระยองคะนองศึก\"

ต่อมาในศึกเลือกตั้งปี 50 และ 54 ทั้ง “สาธิต” และ “ธารา” ผนึกสู้ศึกเมืองระยอง ในสังกัด ปชป.ปักธงได้ยกจังหวัด จนกระทั่งการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 “สาธิต”นำทีมระยองปักธงได้ 3 เขต จากทั้งหมด 4 เขต คือ เขต 1 สาธิต เขต 2 บัญญัติ เจตนจันทร์ และเขต 3 ธารา 

ขณะที่เขต 4  “วิชัย ล้ำสุทธิ” เจ้าของพื้นที่เดิมถูกขยับขึ้นบัญชีรายชื่อ ปชป. แต่ไม่ได้รับเลือก ขณะเดียว กัน ปชป.ส่ง “รองหมู” กิตติ เกียรติ์มนตรี อดีตรองนายก อบจ.ระยอง ลงชิงเขตดังกล่าวได้คะแนนมาเป็นลำดับ 4 ขณะที่แชมป์ตกเป็นของ “สมพงษ์ โสภณ” จากพลังประชารัฐ 

ศึกรอบนี้ ต้องจับตาการเดินเกมของ “บ้านใหญ่ปิตุเตชะ” ท่ามกลางข่าวคราวการย้ายพรรคของ 3 พี่น้อง ที่ปรากฏออกมาก่อนหน้า ในส่วนของ “นายกช้าง” ก่อนหน้ามีข่าวอาจแยกทางกับน้องชายหันไปร่วมกับทีมบ้านใหญ่ชลบุรี ที่มีข่าวคราวเตรียมย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย

ครั้งนั้น “หมอตี๋” ยอมรับในทำนองว่า “ในอดีตเคยมีแนวทางการทำงานการเมืองต่างกัน หากพี่ชายจะเลือกไปอยู่พรรคใด ก็มิอาจก้าวล่วงได้” 

กลยุทธ์บ้านใหญ่ \"ปิตุเตชะ\"  เดิมพัน \"ระยองคะนองศึก\"  

เช่นเดียวกับ "หมอตี๋ สาธิต" ก่อนหน้ามีข่าวถูกจีบเข้าค่าย “หมอหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ผ่านสายสัมพันธ์อันดีในฐานะ รมว.และรมช.สาธารณสุข ตอกย้ำด้วยภาพร่วมรับประทานอาหารเมื่อเดือน พ.ย.2565 

ก่อนที่ต่อมาตัว “หมอตี๋” จะออกมาปฏิเสธข่าวที่เกิดขึ้น ยืนยันเสียงแข็งเรื่องถูก ภท.ทาบทามว่า  “ไม่มีครับ การเลือกตั้งครั้งหน้าผมก็จะอยู่พรรคประชาธิปัตย์”

ทว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา “หมอตี๋” กลับพูดถึงทิศทางการเมืองในลักษณะทีเล่นทีจริง แต่แฝงไปด้วยนัยสำคัญที่ต้องจับตา 

“ในวันที่ 20 ก.พ.จะประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ว่าจะอยู่พรรคใด แต่วันนี้ยังอยู่ประชาธิปัตย์” หมอตี๋ระบุ 

การผูกขาดสนามระยองมาอย่างยาวนาน ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเคลื่อนเกมของ “3 พี่น้องปิตุเตชะ” ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้แฝงไปด้วยนัยสำคัญทางการเมือง

กลยุทธ์บ้านใหญ่ \"ปิตุเตชะ\"  เดิมพัน \"ระยองคะนองศึก\"

ขณะเดียวกัน ที่ประมาทไม่ได้ คือคู่แข่งจากค่ายการเมืองที่ทยอยเปิดตัวไปก่อนหน้า ทั้ง “พรรคเพื่อไทย” ล่าสุด เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครทั้ง 5 เขต ประกอบด้วย เขต 1 พเนตร วงษ์ไพศาล เขต 2 ภีมเดช อมรสุคนธ์ เขต 3 ชัยณรงค์ สันทัสนะโชค เขต 4 วิเชียร สุขเกิด และเขต 5 วิชัย ล้ำสุทธิ อดีตคนคุ้นเคยค่าย ปชป.ซึ่งรอบที่แล้วเจอแผนดัดหลังด้วยข้อกล่าวหาปันใจให้พรรคอื่น ถูกขยับขึ้นบัญชีรายชื่อ

ขณะที่ “ไทยสร้างไทย” ส่ง  “ศรศักดิ์ รากแก้ว” แนวร่วมเสื้อแดงระยอง อดีตผู้สมัครเพื่อไทย ลงชิงเขต 1 สางแค้น “หมอตี๋” คู่ปรับเก่า รวมถึงเอาคืนพรรคเพื่อไทยที่มีปมค้างคาใจ กรณีไม่ส่งลงสมัครจนต้องย้ายพรรค 

กลยุทธ์บ้านใหญ่ \"ปิตุเตชะ\"  เดิมพัน \"ระยองคะนองศึก\"

ขณะที่คู่แข่งที่ประมาทไม่ได้เช่นกัน คือ “พรรคก้าวไกล”  ก่อนหน้าเปิดตัว “5 ว่าที่ผู้สมัคร” เขต 1 กมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล เขต 2 กฤช ศิลปชัย เขต 3 นครชัย ขุนณรงค์ เขต 4 ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ และเขต 5 สว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ 

การเลือกตั้งปี 2562 พรรคอนาคตใหม่เวลานั้น ทำคะแนนตีตื้นขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 ทุกเขต โดยเฉพาะในส่วนของ ภาณุพงษ์ จาดนอก หรือ “ไมค์ ระยอง” แกนนำม็อบราษฎร ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นแนวหลัง สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ ต่อเนื่องมาจนถึงพรรคก้าวไกลในปัจจุบัน 

กลยุทธ์บ้านใหญ่ \"ปิตุเตชะ\"  เดิมพัน \"ระยองคะนองศึก\"

ก่อนหน้านี้ “ไมค์ ระยอง” ในนามกลุ่มประชาธิปไตยระยอง ออกมาปั่นกระแสต้านพรรคเพื่อไทยกรณีส่ง “วิชัย” ที่เคยเป็นเลขาธิการพรรคไทยภักดี  ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกมองว่า เป็นการส่งสัญญาณปลุกพลัง “โหวตสั่งสอน” ด้วยการเทคะแนนไปที่พรรคก้าวไกลที่เขาสนับสนุนไปในคราวเดียวกัน

อย่างที่รู้กัน ในทางการเมืองเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ ในอดีตก็มีให้เห็นมานักต่อนัก เช่นเดียวกับสนามเลือกตั้งระยองซึ่งเป็นขุมกำลังของของ “บ้านใหญ่ปิตุเตชะ” มาตั้งแต่รุ่นพ่อ รอบนี้อาจต้องเจอศึกหนักจากสารพัดพรรคการเมืองที่จ้องเจาะไข่แดงภาคตะวันออกแบบรอบทิศ