เปิดกำแพงประวัติศาสตร์ 4,681ทหารกล้า พลีชีพเพื่อชาติ ราชบัลลังค์ ประชาชน

เปิดกำแพงประวัติศาสตร์ 4,681ทหารกล้า พลีชีพเพื่อชาติ ราชบัลลังค์ ประชาชน

“วันกองทัพไทย” และ“วันกองทัพบก” เป็นวันที่สำคัญยิ่งของเหล่าทหาร ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณบูรพกษัตริย์และบรรพชนที่เสียสละปกป้องแผ่นดินไทย ดำรงเอกราชเป็นราชอาณาจักรไทยจวบจนทุกวันนี้

"18 มกราคม" นอกจากจะเป็น "วันกองทัพไทย" พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) นำ ผบ.เหล่าทัพ - ผบ.ตร. กระทำพิธีบวงสรวงพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นมหาราช 9 พระองค์ พร้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช องค์วีรกษัตริย์ไทยและวางพวงมาลาสักการะดวงวิญญาณนักรบไทยที่ปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้เป็นมรดกมาจนถึงทุกวันนี้ ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติแล้ว

ยังเป็น "วันกองทัพบก" โดยปีนี้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหาบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธาน โดยมีพิธีสักการะพระชัยมงคลภูมิ และพิธีถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 บริเวณลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 จากนั้นเป็นพิธีสงฆ์ ที่กองบัญชาการกองทัพบก

จากนั้นเป็นประธานพิธีสวนสนามกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล ศูนย์การทหารม้า จ.สระบุรี  โดยเป็นการสวนสนามเต็มรูปแบบของหน่วยทหารในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 11, มณฑลทหารบกที่ 18 และมณฑลทหารบกที่ 13 ประกอบด้วย 4 กองบังคับการกรม 16 กองพันสวนสนาม รวมกำลังพล 2,846 นาย และมีงานเลี้ยงในช่วงค่ำ

เปิดกำแพงประวัติศาสตร์ 4,681ทหารกล้า พลีชีพเพื่อชาติ ราชบัลลังค์ ประชาชน


ในวันที่ 19 ม.ค. จะมีงานเลี้ยงกำลังพลภายในกองทัพบก โดยใช้พื้นที่บริเวณกำแพงประวัติศาสตร์กองท้พบก ตามนโยบาย พล.อ.ณรงค์พันธ์  สั่งการให้ก่อสร้างเมื่อไม่นานมานี้ พร้อมจารึกชื่อ 4,681ทหารกล้า ที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต ปกป้องผืนแผ่นดินไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมประกอบด้วย

1.สงครามโลกครั้งที่ 1 เสียชีวิต 19 นาย 

สยามได้ส่งกองกำลังทหารอาสาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อ พ.ศ. 2461 โดยได้ปฏิบัติภารกิจด้วยความกล้าหาญ ฝรั่งเศลได้มอบเหรียญครัวซ์ เดอ แกรร์ ประดับธงชัยเฉลิมพล ครั้นเมื่อสงครามยุติลงในปี พ.ศ.2462 กองทหารอาสาได้ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะที่ ฝรั่งเศล อังกฤษ และเบลเยี่ยม อีกทั้งสยามยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ ตลอดจนสามารถแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมจนเป็นผลสำเร็จ

2. กรณีพิพาทอินโดจีน จำนวน 129 นาย

ในห้วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้ตอบโต้การรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศล พ.ศ.2483 อันมีวีรกรรมการรบที่สำคัญ เช่น การรบที่บ้านพร้าว และการรบที่หมู่บ้านตำหนักพระแสง เมื่อกรณีพิพาทอินโดจีนยุติลงใน พ.ศ 2484 ด้วยการจัดทำข้อตกลงพักรบและการลงนามในอนุสัญญาสันติภาพ จึงกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นใหม่ โดยไทยได้รับดินแดนบางส่วนกลับคืนมาจากฝรั่งเศล

3.สงครามมหาเอเชียบูรพา เสียชีวิต จำนวน 684 นาย 

ในห้วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่น เปิดแนวรบในนามสงครามมหาเอเชียบูรพา รุกเข้าดินแดนไทย เมื่อ พ.ศ.2484 เพื่อผ่านไปยังอาณานิคมอังกฤษ ณ.เวลานั้นไทยยินยอมลงนามในกติกาสัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น และส่งกำลังทหารเข้าร่วมปฏิบัติการ เมื่อสงครามยุติใน พ.ศ.2488 ไทยคืนดินแดนที่ได้มาจากกรณีพิพาทอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศล รวมทั้งได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

เปิดกำแพงประวัติศาสตร์ 4,681ทหารกล้า พลีชีพเพื่อชาติ ราชบัลลังค์ ประชาชน


4.สงครามเกาหลี เสียชีวิตจำนวน 130 นาย

ไทยส่งกำลังทหารเข้าร่วมกับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในนามของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี เมื่อ พ.ศ.2493 ซึ่งทหารไทยได้ปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญที่เขาพอร์คชอป จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "พยัคฆ์น้อย" ภายหลังการลงนามในความตกลงสงบศึกระหว่างฝ่ายกองบัญชาการสหประชาชาติและฝ่ายเกาหลีเหนือและจีน ไทยคงกำลังทหารไว้ 1 กองร้อย จนถึงปี 2515

5.สงครามเวียดนาม เสียชีวิตจำนวน 527 นาย

สถานการณ์ภายในเวียดนามที่ทวีความรุนแรงขึ้นในห้วงสงครามเย็น รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการทหาร ไทยจึงได้จัดกำลังเข้าร่วมปฏิบัติการภายใต้พิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาการป้องกันและร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2510 อันมีวีรกรรมการรบที่สำคัญ เช่น การรบที่ฟุกโถ และการรบที่ล็อคแอน หลังจากสงครามเวียดยามยุติลงใน พ.ศ.2516 กองทัพบกได้ขยายกำลัง จนมีความพร้อมในการรักษาสมดุลในเสถียรภาพของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

เปิดกำแพงประวัติศาสตร์ 4,681ทหารกล้า พลีชีพเพื่อชาติ ราชบัลลังค์ ประชาชน

6.การป้องกันประเทศ  เสียชีวิตจำนวน 348 นาย

กองทัพบกเป็นกลไกหลักสำคัญในการเตรียมกำลังและใช้กำลังทางบกสำหรับป้องกันประเทศด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน  รวมทั้งการลักลอบนำเข้าสิ่งเสพติด สินค้าหลีกเลี่ยงภาษี ตลอดจนการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพื่อดำรงไว้ อธิปไตย ผลประโยชน์ของชาติ และความปลอดภัยของประชาชน อันมีวีรกรรมการรบที่สำคัญ เช่น 
การรบบ้านโนนหมากมุ่น  การรบที่เขาพนมปะ การรบบ้านร่มเกล้า

7.การป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2508-2517 เสียชีวิตจำนวน 2,216 นาย

สถานการโลกในยุคสงครามเย็น ประเทศไทยเกิดการต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นครั้งแรกในวันเสียงปืนแตก 7 ส.ค.2508  จ.นครพนม ดังนั้น รัฐบาลได้จัดตั้งกองบัญชาการปราบปรามคอมมิวนิสต์ขึ้นมารับผิดชอบ จากนั้น พ.ศ.2512 แปรสภาพเป็นกองอำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ต่อมา พ.ศ.2517 เปลี่ยนชื่อ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน  โดยมีกองกำลังผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร 


8.การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2553 เสียชีวิตจำนวน 7 นาย

9.การปฏิบัติภารกิจเพื่อสันติภาพและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกองกำลังเฉพาะกิจปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม 976 ไทย/อิรัก พ.ศ.2546-2547 เสียชีวิต จำนวน 2 นาย

10 เหตุการความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2547 - 2564 เสียชีวิต จำนวน 619 ราย

ขณะวันที่ 20 ม.ค.2566 จัดงานเลี้ยงรับรอง เนื่องในวันกองทัพบก ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เดินทางมาเป็นประธาน    มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ทูตานุทูต ผู้ช่วยทูตทหาร

ส่วน คณะรัฐมนตรี อาทิ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. มาร่วมงานด้วยเช่นกัน