“มหาดไทย” แจ้ง 4 ข้อเสนอแนะถึง กทม.-ทุกจังหวัด ปมเก็บภาษีที่ดิน

“มหาดไทย” แจ้ง 4 ข้อเสนอแนะถึง กทม.-ทุกจังหวัด ปมเก็บภาษีที่ดิน

“มหาดไทย” แจ้งคำปรึกษา-4 ข้อแนะนำตอบทุกจังหวัด เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างใหม่ ชี้ กทม.กำหนดอัตราภาษีแยกตามเงื่อนไขไม่ได้ เหตุกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2566 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้รับแจ้งผลการการตอบข้อหารือจากคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กระทรวงการคลัง เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กรณี กทม. มีความประสงค์จะตราข้อบัญญัติ กทม. เพื่อกำหนดอัตราภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยแยกตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Zone) ของกฎหมายว่าด้วยผังเมือง ว่าสามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร รวมถึงกรณีที่กระทรวงมหาดไทยได้มีข้อสอบถามอีก 3 กรณี

“มหาดไทย” แจ้ง 4 ข้อเสนอแนะถึง กทม.-ทุกจังหวัด ปมเก็บภาษีที่ดิน

นายสุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีหนังสือแจ้งผลการตอบข้อหารือตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นไปยังกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อแจ้งคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติดังนี้

1) กรณีการตราข้อบัญญัติ กทม. เห็นว่า กทม. มีอำนาจตราข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อใช้บังคับเฉพาะในเขต กทม. โดยกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ แต่จะกำหนดอัตราภาษีแยกตามเงื่อนไขในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างจากพระราชกฤษฎีกาฯ ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้

2) กรณีการจัดเก็บภาษีโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลเมืองตราด เห็นว่า การดำเนินกิจการโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท. พ.ศ. 2542 โรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลเป็นทรัพย์สินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือในกิจการสาธารณะ รายได้จากการจัดเก็บอากรการฆ่าสัตว์ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 เป็นการเรียกเก็บตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการหารายได้หรือผลประโยชน์ ดังนั้น โรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

“มหาดไทย” แจ้ง 4 ข้อเสนอแนะถึง กทม.-ทุกจังหวัด ปมเก็บภาษีที่ดิน

3) กรณีการจัดเก็บภาษีจากเอกชนผู้เช่าที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์เพื่อทำการเกษตร ซึ่งกำหนดเงื่อนไขห้ามผู้เช่าตัดต้นไม้และดูแลรักษาพื้นที่บริเวณธารน้ำไหลในพื้นที่เช่าบางส่วน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิม ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด เห็นว่า การคำนวณภาษีต้องใช้มูลค่าที่ดินทั้งหมดตามสัญญาเช่ามาคำนวณภาษี ที่ดินบางส่วนซึ่งกำหนดเงื่อนไขห้ามใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเป็นที่ดินที่มีกฎหมายห้ามมิให้ทำประโยชน์ตามกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดเก็บภาษีตามข้อเท็จจริงของการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิงปลูกสร้างเต็มพื้นที่ทั้งหมดตามสัญญาเช่าที่ราชพัสดุ

“มหาดไทย” แจ้ง 4 ข้อเสนอแนะถึง กทม.-ทุกจังหวัด ปมเก็บภาษีที่ดิน

“มหาดไทย” แจ้ง 4 ข้อเสนอแนะถึง กทม.-ทุกจังหวัด ปมเก็บภาษีที่ดิน

4) กรณีการจัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีซึ่งปลูกไม้ยืนต้นประเกทโกงกางขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมงอบ เห็นว่า ผู้เสียภาษีปลูกไม้ยืนต้นประเภทโกงกางเพื่อนำมาจำหน่ายและใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสำหรับทำเชื้อเพลิงเผาถ่าน หากเป็นการประกอบการเกษตรตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค จำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม และมีการประกอบการเกษตรได้ในอัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดในบัญชีแนบท้าย ก ของประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่ดินดังกล่าวก็เข้าข่ายเป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมตามกฎหมาย

“มหาดไทย” แจ้ง 4 ข้อเสนอแนะถึง กทม.-ทุกจังหวัด ปมเก็บภาษีที่ดิน