19ปีวันประชาธิปไตย ในวันที่ประชาธิปไตย(ไม่)เต็มใบ?

19ปีวันประชาธิปไตย ในวันที่ประชาธิปไตย(ไม่)เต็มใบ?

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก่อกำเนิด "หมุดหมายการเมือง" ที่สำคัญ และถูกกำหนดให้เป็น"วันประชาธิปไตย" ทว่าจนถึงวันนี้ยังทิ้งไว้ซึ่งคำถามที่ว่า วันนี้เรามีประชาธิปไตยที่เต็มใบแล้วหรือยัง? 

ผ่านไป49ปี จนถึงวันนี้เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “วันมหาวิปโยค” ยังทิ้งไว้ซึ่งสัญญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง 

อย่างที่รู้กันว่า เหตุการณ์ในครั้งนั้นก่อกำเนิด “หมุดหมาย” สำคัญทางการเมืองทั้งการมีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน นำโดย นายธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร

ก่อนที่ทั้งหมดจะถูกตั้งข้อหามั่วสุมชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนภายหลังจากนั้น ตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยมห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้น ได้มีการประกาศจับนาย ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับนาย ไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมอีก เป็นผู้ต้องถูกจับทั้งหมด 13 คน โดยกล่าวหาว่า นาย ไขแสง สุกใส อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ บุคคลทั้ง 13 นี้ถูกเรียกขานว่าเป็น "13 ขบถรัฐธรรมนูญ"
 

การเคลื่อนไหวในครั้งนั้นมีการเรียกร้องให้มีการตัดอำนาจระบอบทหาร การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย 

ขณะเดียวกัน ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้น นำมาสู่การลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จนถูกมองว่าเป็นยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน

โดยหลังเหตุการณ์ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการเริ่มต้นของ "ยุคการทดลองประชาธิปไตย"

คล้อยหลังจากนั้นอีก30ปี เมื่อปี2546 ในโอกาสครบรอบ 30 ปี 14 ตุลา สภาผู้แทนราษฎร ยุคที่มีอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานสภาฯ ได้มีมติเอกฉันท์กำหนด ให้วันที่ 14 ตุลาคมทุกปี เป็น “วันประชาธิปไตย” เพื่อเป็นรำลึกถึงการต่อสู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดนับแสนคน เดินขบวนเรียกต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยและคัดค้านอำนาจเผด็จการของรัฐบาลเวลานั้น

ขณะเดียวกันทีทประชุมรัฐสภายังมีมติเห็นชอบให้มีการนำเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 บรรจุในหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงเหตุการณ์สำคัญของชาติ ซึ่งถือว่ากรณีดังกล่าวเป็นการเมืองภาคประชาชน ที่มีผลต่อการพัฒนาการเมืองจนมีระบบรัฐสภา ส่งต่อสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวมาจนถึงปัจจุบัน

19ปีวันประชาธิปไตย ในวันที่ประชาธิปไตย(ไม่)เต็มใบ?

ทว่าจนถึงวันนี้49ปีเหตุการณ์14 ตุลา 2516 และ 19ปีที่รัฐสภาประทับตราเหตุการณ์ดังกล่าวให้เป็น “วันประชาธิปไตย”

กลับพบว่าการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย ในห้วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างกลไก กฎกติกาที่ “แฟร์เกม” และมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

19ปีวันประชาธิปไตย ในวันที่ประชาธิปไตย(ไม่)เต็มใบ?

รวมถึงการตัดอำนาจ ส.ว.250คน ที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งจะสามารถเลือกนายกฯได้ในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้าไม่นานหลังจากนี้ ด้วยการ “ปิดสวิซต์ส.ว.” แต่กลับถูกรัฐสภาคว่ำร่างแก้ไขมาหลายครั้งหลายครา 
ด้วยสัญญาณการเคลื่อนไหวของกลุ่มก้อนการเมือง บวกโหมดการเมืองที่เริ่มเข้าสู่โหมดเลือกตั้งเวลานี้

ยังทิ้งไว้ซึ่งคำถามที่ว่า วันนี้เรามีประชาธิปไตยที่เต็มใบแล้วหรือยัง?