"รัฐสภา" พิจารณาร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.แล้ว -พท. ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรม

"รัฐสภา" พิจารณาร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.แล้ว -พท. ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรม

"เพื่อไทย"ชิงจังหวะ ขอ "รัฐสภา" ตรวจสอบองค์ประชุมก่อน พิจารณาร่างพ.ร.ป.เลือกตั้ง ก่อนเสียงข้างมากคัดค้าน "ชลนาน" ชี้ แก้สูตรคำนวณเป็น500หาร ขัดรธน.มาตรา83และ91

          เมื่อเวลา 10.45 น. ในการประชุมรัฐสภา ที่มีนายมีชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม หลังจากแล้วเสร็จการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ... ในวาระสาม

 

          นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เสนอต่อที่ประชุมให้ตรวจนับองค์ประชุมก่อนที่จะเข้าสู่วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่...) พ.ศ.... วาระสองต่อเนื่อง เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องสำคัญ พร้อมอภิปรายว่า การพิจารณาเนื้อหาของร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ต่อเนื่องมาตรา 24 ที่เพิ่มขึ้นใหม่  ที่ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิธีคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ใช้จำนวน 500 คนหาค่าเฉลี่ย นั้นมีปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 ซึ่งวางระบบเลือกตั้งให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และใช้การคำนวณที่สอดคล้องกับจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่มี 100 คน  คือ ผสมเสียงข้างมาก และ มาตรา 91 ซึ่งวางระบบวิธีการคำนวณ แบบสัดส่วนผสม 

          นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ร่างพ.ร.ป.ที่ถูกแก้ไขเนื้อหาว่าด้วยสูตรคำนวณ จากจำนวน  100 คน เป็น 500 คนหาค่าเฉลี่ยของส.ส.บัญชีรายชื่อพึงมี นั้น เชื่อว่ามีเจตนาที่ทำให้ร่างพ.ร.ป.มีปัญหา เพราะการลงมติวาระสาม ต้องใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 365 เสียง ซึ่งในภาวะปัจจุบันเชื่อว่าการลงคะแนนจะไม่ถึง ทำให้ร่างพ.ร.ป.ต้องตกไป และจะทำให้ร่างพ.ร.ป. ใช้เลือกตั้งภายในระยะเวลาที่การเลือกตั้งใกล้จะมาถึง

 

          “หากไม่มีพ.ร.ป.ที่ใช้เลือกตั้ง แต่ต้องมีการเลือกตั้ง รัฐบาลที่ทำหน้าที่รักษาการจะอยู่รักษาการได้ยาว เพราะการเลือกตั้งนั้นจำเป็นต้องมีพ.ร.ป.ที่ใช้เลือกตั้ง ไม่สามารถอออกพระราชกำหนดหรือให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ออกประกาศเพื่อใช้บังคับได้ ดังนั้นเมื่อมีช่วงสูญญากาศเกี่ยวกับกฎหมายลูก จะทำให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อรักษาหลักการของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขว่าด้วยระบบเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญมาตรา 132(1) ฝ่ายค้านจึงขอให้ตรวจสอบองค์ประชุมก่อนพิจารณา” นพ.ชลน่าน กล่าว

          ทั้งนี้ในการอภิปรายของส.ส.รัฐบาล ได้คัดค้านและมองว่าอาจทำให้มีประเด็นที่ร่างพ.ร.ป.ต้องตกไป เพราะมีการเสนอญัตติซ้อนญัตติ และ ขอให้เดินหน้าพิจารณาตามวาระต่อไป โดยพร้อมร่วมเป็นองค์ประชุม  อย่างไรก็ดี นพ.ชลน่าน ได้อภิปรายอีกครั้งพร้อมประกาศว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่ขอร่วมสังฆกรรม และขอออกจากห้องประชุม ยกเว้นตนที่เสนอญัตติ

 

          ขณะที่นายชวน กล่าวว่าการเสนอของนพ.ชลน่าน ทำได้ เพราะยังไม่เข้าวาระพิจารณา ทั้งนี้หากมีผู้มาแสดงตนไม่ครบองค์ประชุม ตนจะปิดการประชุมทันที โดยไม่รอถึง 53 นาที  ก่อนที่จะตรวจสอบองค์ประชุมและลงมติ ปรากฎว่าเสียงข้างมาก 283 เสียง ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของนพ.ชลน่าน เห็นด้วย 27 เสียง งดออกเสียง  36 เสียงและไม่ลงคะแนน 28 เสียง ทำให้การพิจารณาของรัฐสภา เข้าสู่การพิจารณาของร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. วาระสอง ต่อเนื่องมาตรา 24 

\"รัฐสภา\" พิจารณาร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.แล้ว -พท. ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรม

          ทั้งนี้นายชวน กล่าวย้ำว่า เมื่อเร่ิมประชุมแล้ว พบว่าองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตนจะปิดประชุมทันที จากนั้นได้เข้าสู่การพิจารณาต่อเนื่องในมาตรา 24 ในเวลา 11.20 น.