ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?

ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?

ยุทธการเด็ดหัว สอยนั่งร้าน ของ "พรรคฝ่ายค้าน" ที่ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจครั้งสุดท้าย แม้จะคว่ำ "นายกฯ" ไม่ได้กลางสภาฯ แต่สิ่งที่เป็นเอฟเฟกต์ ต้องจับตา คือ "นั่งร้าน" ที่ค้ำยัน อำนาจ "3ป." ถูกรื้อ

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ในคณะ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ตลอดช่วงที่สภาฯ ชุดที่ 25 เริ่มปฏิบัติหน้าที่ เมื่อ 19 มิถุนายน 2562 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีการตรวจสอบรัฐบาล ผ่านการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เป็นรายบุคคลทุกปี รวมล่าสุด 4 ครั้ง 

โดยแต่ละครั้ง แม้รัฐมนตรีที่ถูกยื่นอภิปราย จะได้รับเสียงไว้วางใจให้ไปต่อ แต่กลับพบว่า หลังการอภิปรายแต่ละครั้งได้มีปรากฎการณ์ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ

เริ่มที่ครั้งแรก ในปี 2563 เป็นปีที่ 1 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง  

ฝ่ายค้านยื่นอภิปราย นายกรัฐมนตรี และ 5 รัฐมนตรี เปิดอภิปรายเมื่อ  24 - 27 กุมภาพันธ์ และลงมติ 28 กุมภาพันธ์  

ผลการลงคะแนน ดังนี้

1.พล.อ.ประยุทธ์  นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้คะแนนไว้วางใจ 272 เสียง ไม่ไว้วางใจ 49 เสียง งดออกเสียง 2  เสียง จากผู้ลงมติ 323 เสียง

2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 277 เสียง ไม่ไว้วางใจ 50 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากผู้ลงมติ 329 เสียง

ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?

3.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 272 เสียง ไม่ไว้วางใจ 54 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากผู้ลงมติ 328 เสียง

4.พล.อ.อนุพงษ์​ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไว้วางใจ 272 เสียง ไม่ไว้วางใจ 54 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากผู้ลงมติ 328 เสียง

5.ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ไว้วางใจ 272 เสียง ไม่ไว้วางใจ 55 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากผู้ลงมติ 329 เสียง

6.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ไว้วางใจ 269 เสียง ไม่ไว้วางใจ 55 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง จากผู้ลงมติ 331 เสียง

ในขณะนั้นมี ส.ส. จำนวน 488 คน เสียงคะแนนไม่ไว้วางใจ ต้องเกินกึ่งหนึ่ง 244 เสียง

ทั้งนี้ก่อนการลงมติ  “ส.ส.เพื่อไทย” วอล์ค เอาท์จากห้องประชุมและไม่ร่วมลงมติ เพราะมองว่าการอภิปรายยังไม่สิ้นสุดขั้นตอน เนื่องจากมีผู้ประสงค์อภิปรายและรัฐมนตรีที่ถูกพาดพิงไม่ชี้แจงให้ครบถ้วน  

ต่อมา ครั้งที่สอง ต้นปี 2564 มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี และ 9 รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 - 19 กุมภาพันธ์ และลงมติ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของสภาฯ ในสมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 ผลการลงมติ คือ 

1.พล.อ.ประยุทธ์  นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้คะแนนไว้วางใจ 272 เสียง ไม่ไว้วางใจ 206 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง จากผู้ลงมติ 481 เสียง

2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 274 เสียง ไม่ไว้วางใจ 204 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง จากผู้ลงมติ 482 เสียง

3.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข  ไว้วางใจ 275 เสียง ไม่ไว้วางใจ 201 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง จากผู้ลงมติ 482 เสียง

ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?

4.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ไว้วางใจ 268 เสียง ไม่ไว้วางใจ 207 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง จากผู้ลงมติ 482 เสียง

5.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไว้วางใจ 272 เสียง ไม่ไว้วางใจ 205 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง จากผู้ลงมติ 482 เสียง

6.ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ไว้วางใจ 258 เสียง ไม่ไว้วางใจ 215 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง จากผู้ลงมติ 482 เสียง

7.สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ไว้วางใจ 263 เสียง ไม่ไว้วางใจ 212 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง ไม่ลงมติ 1 คน จากผู้ลงมติ 482 เสียง

8.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไว้วางใจ 268 เสียง ไม่ไว้วางใจ 201 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง  ไม่ลงมติ 1 เสียงจากผู้มาลงมติ 482 เสียง

9.นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ไว้วางใจ 272 เสียง ไม่ไว้วางใจ 206 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง  จากผู้มาลงมติ 482 เสียง

10.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ไว้วางใจ 274 เสียง ไม่ไว้วางใจ 199 เสียง  งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงมติ 1 คน  จากผู้มาลงมติทั้ง 482 เสียง

ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?

ขณะนั้น มีส.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งสิ้น 487 คน  กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกคือ 244 คน 

ทั้งนี้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบสอง ผลการลงมติเริ่มส่อแววให้เห็นถึง “งูเห่าฝ่ายค้าน” ที่โหวตไว้วางใจรัฐมนตรี ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ และ “พรรครัฐบาลเสียงแตก” จากปรากฎการณ์ การงดออกเสียงของ “ส.ส.ประชาธิปัตย์” ครั้งเมื่อโหวตรัฐมนตรีจากพรรคของตนเอง และ พรรคปัดเศษร่วมรัฐบาลที่โหวตไปคนละทิศละทาง

ปลายปี 2564 การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในปีที่ 3 วาระสภาฯ ในสมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 โดยอภิปราย นายกรัฐมนตรี พ่วง 5 รัฐมนตรี เมื่อ 31 สิงหาคม - 3 กันยายน และลงมติ 4 กันยายน โดยมีผลลงมติ คือ 

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้คะแนนไว้วางใจ 264 เสียง ไม่ไว้วางใจ 208 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง จากผู้ลงมติ 475 คน

2.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ไว้วางใจ 269 เสียง ไม่ไว้วางใจ 196 เสียง งดออกเสียง 11 เสียง จากผู้ลงมติ 476 คน

3.สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ไว้วางใจ 263 เสียง ไม่ไว้วางใจ 201 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง จากผู้ลงมติ 475 คน

ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?

4.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไว้วางใจ 269 เสียง ไม่ไว้วางใจ 195 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง จากผู้ลงมติ 475 คน

5.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไว้วางใจ 270 เสียง ไม่ไว้วางใจ 199 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง จากผู้ลงมติ 478 คน

6.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไว้วางใจ 267 เสียง ไม่ไว้วางใจ 202 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง จากผู้ลงมติ 478 คน

ขณะนั้นมีส.ส.ทั้งหมด 482 คน จำนวนกึ่งของสมาชิก คือ 241 คน

ผลจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบ 3 นี้ ส.ส.งูเห่า เพื่อไทย ถูกขับพ้นสังกัดพรรค คือ พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี และ ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ ต่อมา พรพิมล ย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทย ขณะที่ศรัณย์วุฒิ ย้ายเข้าพรรคเพื่อชาติ 

นอกจากนั้น จากปรากฎการณ์ที่ “นายกฯ” ได้คะแนนไม่ไว้วางใจมากที่สุด และมีกระบวนการ “กบฎผู้กอง” ทำให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ถูกปลดจากตำแหน่ง รมช.เกตรและสหกรณ์ ไปพร้อมกับ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน

และ ครั้งที่สี่ ถือเป็นครั้งสุดท้ายของ “ฝ่ายค้าน” ที่ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ ในปีที่4 ของสภาฯ ชุดที่ 25  สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 อภิปรายเมื่อ 19 -22 กรกฎาคม และลงมติ 23 กรกฎาคม  รอบนี้ เป็นการอภิปราย นายกฯ พ่วง 10 รัฐมนตรี 

ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?

โดยมีผลการลงมติ ดังนี้

1.พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้คะแนนไว้วางใจ 256 เสียง ไม่ไว้วางใจ  206 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง จากผู้ลงมติ 471 เสียง

2.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์  ไว้วางใจ 241 เสียง ไม่ไว้วางใจ 207 เสียง งดออกเสียง 23 เสียง จากผู้ลงมติ 471 เสียง

3.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข  ไว้วางใจ 264 เสียง ไม่ไว้วางใจ 205 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง จากผู้ลงมติ 472 เสียง

4.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ  268 เสียง ไม่ไว้วางใจ 193 เสียง งดออกเสียง 11 เสียง จากผู้ลงมติ 472 เสียง

5.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไว้วางใจ 245 เสียง ไม่ไว้วางใจ 212 เสียง งดออกเสียง 13 เสียง จากผู้ลงมติ 470 เสียง

6.ศักดิ์สยาม  ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไว้วางใจ 262 เสียง ไม่ไว้วางใจ 205 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง จากผู้ลงมติ 472 เสียง

7.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไว้วางใจ 249 เสียง ไม่ไว้วางใจ 205 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง จากผู้ลงมติ 472 เสียง

8.จุติ ไกรฤกษ์  รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ไว้วางใจ 244 เสียง ไม่ไว้วางใจ 209 เสียง งดออกเสียง 17 เสียง จากผู้ลงมติ 470 เสียง

9.สันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ไว้วางใจ 249 เสียง ไม่ไว้วางใจ 204 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง จากผู้ลงมติ 471 เสียง

10.นิพนธ์  บุญญามณี รมช.มหาดไทย ไว้วางใจ 246 เสียง ไม่ไว้วางใจ206 เสียง งดออกเสียง 20 เสียง จากผู้ลงมติ 472 เสียง

11.สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ไว้วางใจ 243 เสียง ไม่ไว้วางใจ 208 เสียง งดออกเสียง 20 เสียง จากผู้ลงมติ 471 เสียง

สำหรับรอบนี้ มี ส.ส. ปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งสิ้น 477 คน กึ่งหนึ่งของที่ประชุมคือ 239 เสียง 

โดยรัฐมนตรีทั้ง 11 คน ถือว่า “รอด” จากการถูกคว่ำกลางสภาฯ แต่สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปคือ ยุทธการเด็ดหัว สอยนั่งร้าน จะกลายเป็นชนวน ที่สร้างจุดเปลี่ยนของเกมการเมืองได้หรือไม่

ที่ต้องจับตา คือ ปรากฎการณ์ภายในของ “ประชาธิปัตย์” ที่หัวหน้าพรรค อย่าง “จุรินทร์” ได้คะแนนไว้วางใจ อันดับบ๊วยพร้อมสถิติ “งดออกเสียงสูงสุด 23 เสียง”

นอกจากนี้ ยุทธการ “สอยนั่งร้าน” ยังลามไปยัง “พรรคเล็ก-พรรคปัดเศษ” อาจถูกสอย หลังจากฝ่ายแค้นปล่อยไลน์หลุด เอกสารลายมือชื่อรับค่าเลี้ยงดู จาก “บ้านป่ารอยต่อฯ” ที่กระทบถึงพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างเลี่ยงได้ยาก

ย้อนรอย “ไม่ไว้วางใจ” 4 รอบ  เอฟเฟกต์ สอยนั่งร้านการเมือง ?