ทอ.ปล่อยคลิป ภารกิจป้องกันทางอากาศ เคลียร์ทุกปม เครื่องบินรบเมียนมาล้ำแดน

ทอ.ปล่อยคลิป ภารกิจป้องกันทางอากาศ เคลียร์ทุกปม เครื่องบินรบเมียนมาล้ำแดน

ทอ.ปล่อยคลิป HOT ALERT "ภารกิจป้องกันทางอากาศ"ที่คุณยังไม่เคยรู้ เคลียร์ทุกปมสังคมสงสัย เครื่องบินรบเมียนมาล้ำแดน ทอ.สกัดกั้นช้าหรือไม่

12 ก.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดกรณีเครื่องบินรบเมียนมาโจมตีกองกำลังชนกลุ่มน้อยบริเวณแนวชายแดนและบินล้ำแดนเข้ามายังพื้นที่ประเทศไทยบริเวณอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ในห้วงที่ผ่านมาจนทำให้ กองทัพอากาศ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงระบบการป้องกันภัยทางอากาศ และการตอบโต้ไม่ทันท่วงที 

ล่าสุด กองทัพอากาศ ปล่อยคลิปความยาว 40.35 นาที ในหัวข้อ HOT ALERT "ภารกิจป้องกันทางอากาศ"ที่คุณยังไม่เคยรู้ 
โดยมี นาวาอากาศเอก ปรกร จีนะวัฒน์ อดีตผู้บังคับฝูงบินสกัดกั้นของกองทัพอากาศ ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมไทยไปแล้ว พูดคุยกันในมุมมองต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าใครได้รับข้อมูลมาแบบไหน ซึ่งตนในฐานะนักบินรบก็เข้าใจดีหากประชาชนจะไม่เข้าใจ หากเราไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวหรือข้อมูลไม่เพียงพอ 

เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น รับทราบว่าเครื่องบินที่ตัดเข้ามาในภูมิประเทศที่เหมือนจิ๊กซอว์ต่อกันมีจะงอยโผล่เข้ามา  ซึ่งฝั่งไทยเองก็มีจะงอยโผล่ไปหาเขาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถือเป็นความเปราะบางและเป็นเรื่องละเอียดอ่อนพอสมควรในพื้นที่นี้ การล้ำเขตแดน มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 2 เหตุผล 1. ตั้งใจ 2.ไม่ได้ตั้งใจ

ทุกครั้งที่มีการปฏิบัติการเช่นนี้เรดาร์ของกองทัพอากาศมองเห็น ก็ประสานไปกับกองกำลังทางบกที่อยู่ตามแนวชายแดนก็ทราบว่าเขาใช้อาวุธอยู่ในพื้นที่เขา และบินขึ้น-ลงเป็น100เที่ยวบิน กองทัพอากาศและกองกำลังทางบกก็ดูทุกครั้งว่ามีการข้ามแดนมาหรือไม่ ถามว่สแล้วจะ รู้ได้อย่างไรว่าข้ามเส้นมาหรือไม่ข้ามเส้น ก็ต้องถามไปยัง ผู้กำกับเส้น เพราะเรามีกองกำลังทางบก ที่เปรียบเสมือนผู้กำกับเส้น ซึ่งอยู่ตรงเส้นแบ่งพอดีหากแหงนหน้าขึ้นไปตรงๆเขาจะรู้ว่าข้ามหรือไม่แต่ในวันที่เกิดเหตุมีการข้ามแดนมาประมาณนาทีเศษๆและหายไป

ทอ.ปล่อยคลิป ภารกิจป้องกันทางอากาศ เคลียร์ทุกปม เครื่องบินรบเมียนมาล้ำแดน

เมื่อเราไปดูภาพจากเรดาร์ก็ทราบว่ามีจะงอยอยู่ส่วนบนที่เป็นลิ้มลงมา เครื่องบินบินวนอยู่ ในจังหวะการเลี้ยวเที่ยวสุดท้ายของเขา มีการเลี้ยวซ้ายแทนที่จะเลี้ยวขวาซึ่งจะอยู่ในแดนของเขา แต่เมื่อเลี้ยวซ้ายก็ลำแดนประเทศไทยผ่านจะงอยด้านบนออกไป นั้น คือสิ่งที่ประเทศไทยบอกว่า มีการทำผิดกติกาเกิดขึ้นแล้ว และนอกจากเครื่องบินที่เขาบินออกไปแล้วกองทัพอากาศพบว่ามีเฮลิคอปเตอร์อีก 1 ลำบินเข้ามา จึงส่งF-16 ไปแจ้งเตือน 

"นี่เป็นการแสดงท่าทีให้อีกฝ่ายเห็นว่าเขาหลุดเข้ามาประเทศไทยไม่ได้ และเราไม่ยอม อย่า ทำเช่นนี้อีกไม่ว่าสิ่งที่เขาได้กระทำไปนั้นจะเป็นความผลั้งเผลอ ผลาดผิด หรือเจตนาก็ตาม อย่ากระทำเช่นนี้กับประเทศไทยอีก
กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินรบไปบล็อคเอาไว้ เรียกว่า การลาดตระเวนรบติดอาวุธทางอากาศ หรือ COMBAT AIR PATROL ( CAP) ซึ่งเราส่งเครื่องบินที่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเครื่องบินเตรียมพร้อม หรือที่เรียกว่า Quick Reaction Alert (เครื่องบิน alert)ขึ้นไป เพราะ 1.ติดตั้งอาวุธ และถังน้ำมัน ที่มีความเหมาะสมกับภารกิจในการขึ้นไปบินลาดตระเวนรบติดอาวุธ ซึ่งถือเป็นการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าไปสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึกที่รุกล้ำน่านฟ้า ซึ่งกองทัพอากาศจะจัดเครื่องบิน alert ประจำอยู่ทั่วประเทศ" นาวาอากาศเอก ปรกร กล่าวและว่า

ส่วนองค์ประกอบการสั่งเครื่องวิ่งขึ้นเพื่อ ทำการเป็นสกัดกั้น 1 . สถานการณ์ตอนนั้น ตามหลักสากลในการป้องกันห้วงอากาศ มีคำว่า DEFCON DEFENSE CONDITION LEVEL1-5  หมายถึง สถานการณ์อยู่ในการเตรียมพร้อม ไม่มีแนวโน้มเกิดความรุนแรง พิจารณาว่าเขาพยายามเป็นศัตรูกับเราหรือไม่ 1 เจตนา หรือ สิ่งบอกเหตุ 2. เมื่อเราส่งเครื่องบินไปสกัดกั้น เครื่องบินที่เข้ามาปกติจะไม่บินลำเดียวเด็ดขาด จะมา 2 ลำขึ้นไป แต่ในวันนั้นเขามาเพียง 1 ลำ และ 3 อาวุธที่เขานำมาคืออะไร ถ้าดูตามข่าว อาวุธติดมากระบอกจรวดเป็นส่วนใหญ่ ไม่สร้างความเสียหายในระดับรุนแรง และมีปืน นอกจากปกติเมื่อบินในพื้นที่ประเทศของเรา จะเปิดเครื่องพิสูจย์ฝ่ายว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน หรือ ข้าศึก หากเราจะไปรบกับใครจะไม่เปิดเครื่องนี้ ไม่เช่นนั้น เขาจะรู้รายละเอียดของเราทั้งหมด เช่น บินความสูง ความเร็วเท่าไหร่ มากี่ลำ

สำหรับเงื่อนไขการพิจารณาสั่งเครื่องวิ่งสกัดกั้น คือ 1.วิ่งขึ้นจากสนามบินที่เราเพ่งเล็งหรือไม่ 2.ติดอาวุธอะไรขึ้นมา เป็นอาวุธสุ่มเสี่ยง สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยหรือไม่ 3.ติดถังเชื้อเพลิงสำรองหรือไม่ 4. เครื่องไฟเตอร์ มีการประกอบเป็นหมู่บิน 5.เปลี่ยนแปลงความสูงขึ้น-ลงในเวลาไม่ถึง 10 วินาที 

"ดังนั้นการสั่งเครื่องขึ้นไปสกัดกั้นมีองค์ประกอบ รายละเอียดมีมาก ในการใช้ดุลยพินิจว่า "เอาหรือยัง" ในการเข้าไปสะกัดกั้นใครสักคนหนึ่ง การส่งเครื่องบินขึ้นไป หมายความว่า อย่าเข้ามา ถ้าเข้ามา เราจะยิง
ส่วนการระวังไม่ให้ข้ามแดนสามารถทำได้ 1. ต้องคุ้นชินกับพื้นที่ 2. ต้องศึกษาแผนที่ทางอากาศเป็นอย่างดี" 

นาวาอากาศเอก ปรกร ยังกล่าวถึง ความเปราะบางบริเวณตามแนวชายแดน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของประเทศที่มีเขตแดนติดต่อกัน และไม่ได้ทุกขั้นด้วยแม่น้ำหรือเทือกเขา ใครจะข้ามไปฝั่งไหนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เรามีกองกำลังทางบกคอยประสานงานติดต่อกันอยู่