“9 ทศวรรษ” ประชาธิปไตยไทย ส่องรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ บันทึกการเมือง

 “9 ทศวรรษ” ประชาธิปไตยไทย ส่องรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ บันทึกการเมือง

จากการเปลี่ยนแปลง ระบอบปกครอง 2475 ถึงวันนี้ ต้องยอมรับว่า ความเป็นประชาธิปไตยตามตัวอักษรนั้นบังเกิดขึ้น แต่หากมองบริบท "ปกครองของไทย" ที่หลายฝ่ายต้องการให้มีความธรรมกับทุกภาคส่วน ยังไม่เกิดขึ้นจริง

         ตลอด 90 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็น ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อดูจากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ทั้ง 20 ฉบับ สะท้อนให้เห็นว่า บริบทของการเมืองไทย แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

 

         เพราะคือการชิงอำนาจ และสร้างกลไกเพื่อเอื้อให้ “ฝ่ายตัวเอง” เข้าสู่อำนาจและครองอำนาจ

 

         ฉบับแรก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475

 

         ประกาศใช้ 24 มิถุนายน - 10 ธันวาคม 2475 (5 เดือน 13 วัน) มาจาก คณะราษฎรยกร่าง มี 39 มาตรา เพื่อกำหนดให้อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร พร้อมกำหนดตัวแทนการใช้อำนาจ เน้นบทบัญญัติเกี่ยวกับ ส.ส.การประชุมส.ส. และกำหนดให้มีคณะกรรมการราษฎร หรือคณะรัฐมนตรี

 

         ฉบับสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475

         ประกาศใช้ 10 ธันวาคม 2745 - 9 พฤษภาคม 2489 (13 ปี 4 เดือน 29 วัน) มาจากกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างเสนอต่อ คณะกรรมการราษฎรให้ความเห็นชอบ มี 68 มาตรา

 

         ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับที่สอง มีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง โดยครั้งแรก เพื่อเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย ครั้งที่สอง ขยายเวลาให้ สภาฯ มีสมาชิก 2 ประเภท มีเพิ่มวาระดำรงตำแหน่ง จาก 10 ปี เป็น 20 ปี เมื่อพ้นกำหนดให้เลือก ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว และครั้งที่สาม ขยายเวลาดำรงตำแหน่ง ส.ส. คราวละไม่เกิน 2 ปี เพราะเกิดสงครามโลก

 

 “9 ทศวรรษ” ประชาธิปไตยไทย ส่องรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ บันทึกการเมือง

         ฉบับสาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489

         ประกาศใช้ 10 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490 (1 ปี6เดือน) มาจาก การเสนอญัตติให้สภาพิจารณา มี 96 มาตรา เนื้อหาสำคัญ กำหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิ และหน้าที่ของชนชาวไทย แบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และมีหมวดว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

 

         ฉบับสี่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490

         ประกาศใช้ 9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492 (1ปี4เดือน14วัน) มาจากคณะรัฐประหาร ของ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ มี 98 มาตรา

         ทั้งนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง โดยครั้งแรก แก้ไขเกณฑ์คำนวณ ส.ส. ครั้งสอง ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ และหลักเกณฑ์วิธีการแก้รัฐธรรมนูญ และครั้งที่สาม ให้เอกสิทธิคุ้มครองสภาร่างรัฐธรรมนูญ

 

         ฉบับห้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492

         ประกาศใช้ 23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2491 ( 2ปี 8 เดือน 6วัน) มาจาก สภาร่างรัฐธรรมนูญ

 

         ฉบับหก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495

         ประกาศใช้ 8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501 มาจากการรัฐประหารของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เนื้อหาสำคัญ คือ ให้มีส.ส.ประเภทสอง มาจากการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

 

 

         ฉบับเจ็ด ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2502

         ประกาศใช้ 28 มกราคม 2502- 20 มิถุนายน 2511 (9 ปี 4 เดือน 23 วัน) ที่มาจากการรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มี 20 มาตรา

 

         ฉบับแปด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511

         ประกาศใช้ 20 มิถุนายน 2511-17 พฤศจิกายน 2514 (3 ปี 4 เดือน 28 วัน) ที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำ มี 183 มาตรา

         ฉบับเก้า ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2515

         ประกาศใช้ 15 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517 มาจากคณะปฏิวัติของ จอมพลถนอม กิตติขจร มี 23 มาตรา

 

         ฉบับสิบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517

         ประกาศใช้ 7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519 (2 ปี) มาจากการยกร่างของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ ครม.แต่งตั้ง จากนั้นให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ มี 238 มาตรา

         ทั้งนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 1 ครั้ง เมื่อ 23 มกราคม 2518 ให้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งส.ว.แทนประธานองคมนตรี

 

         ฉบับสิบเอ็ด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519

         ประกาศใช้ 22 ตุลาคม 2519 - 21 ตุลาคม 2520 (1ปี) มาจากคณะปฏิรูปการปกครอง ยกร่าง มี29 มาตรา

 

         ฉบับสิบสอง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2520

         ประกาศใช้ 9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม2521 (1ปี1เดือน13วัน) มาจากคณะปฏิวัติของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ มี 32 มาตรา

 

         ฉบับสิบสาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521

         ประกาศใช้ 22 ธันวาคม 2521 - 23กุมภาพันธ์2534 (12ปี12เดือน1วัน) มาจากคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ มี 206 มาตรา

         ทั้งนี้มีการแก้ไขรวม 2 ครั้ง ครั้งแรก เพื่อกำหนดเกณฑ์ คำนวณ ส.ส.แบบแบ่งเขต และครั้งสอง เพื่อกำหนดให้ประธานสภาฯ เป็นประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา

 

         ฉบับสิบสี่ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534

         ประกาศใช้ 1 มีนาคม - 9 ธันวาคม 2534 (9 เดือน8วัน) มาจาก คณะรสช. ของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์​ มี 33 มาตรา

 “9 ทศวรรษ” ประชาธิปไตยไทย ส่องรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ บันทึกการเมือง

         ฉบับสิบห้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534

         ประกาศใช้ 9ธันวาคม 2534- 11ตุลาคม 2540 (5ปี10เดือน2วัน) มาจาก สภานิติบัญญัติพิจารณาให้ความเห็นชอบ มี 223 มาตรา

 

         ฉบับสิบหก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540

         ประกาศใช้ 11 ตุลาคม 2540 - 19กันยายน 2549 (8 ปี 11 เดือน 9วัน) มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบ มี 336 มาตรา

         ทั้งนี้มีการแก้ไข 1 ครั้ง เพื่อแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและวิธีการสรรหากรรมการ ป.ป.ช.

 

         ฉบับสิบเจ็ด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549

         ประกาศใช้ 1 ตุลาคม 2549 - 24สิงหาคม 2550 (10 เดือน 24 วัน) มาจากการรัฐประหารของ คปค. มี 39 มาตรา

 

         ฉบับสิบแปด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

         ประกาศใช้ 24สิงหาคม 2550 - 22พฤษภาคม 2557 (6ปี6เดือน 28วัน) มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำ และผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มี 309มาตรา

 

         ฉบับสิบเก้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557

         ประกาศใช้ 22 กรกฎาคม 2557 - 6เมษายน 2560 (2ปี10เดือน6วัน) มาจากการรัฐประหารของ คสช. มี 48มาตรา

 “9 ทศวรรษ” ประชาธิปไตยไทย ส่องรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ บันทึกการเมือง

         ฉบับยี่สิบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

         ประกาศใช้ 6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน มาจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มี 279 มาตรา

 

         จากรัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านมา จะพบว่า ส่วนที่มาจากการยึดอำนาจรัฐประหารมากถึง 10 ฉบับ และที่เหลือนั้นแม้จะมาจากคณะที่ไม่ใช่ผู้ยึดอำนาจ ปฏิวัติ รัฐประหาร แต่กลไกผู้ยกร่างล้วนมาจากผู้มีอำนาจในขณะนั้น

 

         ยกเว้นรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ 2550 ที่ได้ชื่อว่า มากจากประชาชน แต่ในรายละเอียดที่สะท้อนถึงการปกครองยังพบจุดอ่อน จนนำไปสู่การรื้อทิ้ง และร่างใหม่

 

         ขณะการปกครองของไทย ที่หลายฝ่ายปรารถนาให้เป็นธรรมกับทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม.