เช็คอายุ! ผู้มีสิทธิ "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." กลุ่มวัยไหนมาก วัยไหนน้อย

เช็คอายุ! ผู้มีสิทธิ "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." กลุ่มวัยไหนมาก วัยไหนน้อย

เช็คอายุผู้มีสิทธิ "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." 22 พ.ค. 2565 กลุ่มหน้าใหม่ first vote ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกมีเท่าไหร่ ช่วงอายุไหนเสียงมากที่สุด เช็คที่นี่!

นับถอยหลังไม่ถึง 1 เดือน จะถึงวัน เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภา กทม. (ส.ก.) จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.2565 ซึ่งขณะนี้สรุปจำนวนตัวเลขผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. อยู่ที่ 31 ราย และผู้สมัครสมาชิกสภา กทม.ทั้งหมด 382 ราย

การเลือกตั้งสนาม กทม.ครั้งนี้เป็นเดิมพันใหญ่ทางการเมืองในฐานะพื้นที่เลือกตั้งที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศ ทำให้ที่ผ่านมาผู้สมัครเลืองตั้ง พยายามหาเสียงไปที่ "กลุ่มเป้าหมาย" ที่เชื่อว่าจะลงคะแนนให้ในการเลือกตั้งวันที่ 22 พ.ค.2565 

แต่หากลงรายละเอียดไปถึง "เพดาน" คะแนนเสียงชนะเลือกตั้ง ปฏิเสธไม่ได้ว่าแตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2556 ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้สมัคร "ตัวเต็ง" 2 ราย ประกอบด้วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ และพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จากพรรคเพื่อไทย

ผลคะแนนครั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 1,256,349 คะแนน คิดเป็น 47.75 % จากสถิติของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 63.38 % นับเป็นจำนวนผู้มาลงคะแนนมากที่สุดตั้งแต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทุกครั้งที่ผ่านมา 

เช็คอายุ! ผู้มีสิทธิ \"เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.\" กลุ่มวัยไหนมาก วัยไหนน้อย

ทว่าการเลือกตั้ง กทม.2565 กลับมีผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ที่มีจุดยืนทางการเมืองใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ฝั่ง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จากผู้สมัครอิสระ , วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากผู้สมัครพรรคก้าวไกล , น.ต.ศิธา ทิวารี จากผู้สมัครพรรคไทยสร้างไทย 

หรือฝั่ง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง จากผู้สมัครอิสระ , สกลธี ภัททิยกุล จากผู้สมัครอิสระ , สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ และ รสนา โตสิตระกูล จากผู้สมัครอิสระ

แต่การเลือกตั้งสนาม กทม.หลายฝ่ายจึงคาดการณ์ว่า ปัจจัย "จุดยืนทางการเมือง" ของผู้สมัครแต่ละคน จะมีส่วน "ตัดคะแนนกันเอง" ทำให้ผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้มีโอกาสสูงที่คะแนนจะไม่ถึง 1 ล้านคะแนนเหมือนในปี 2556

โดยเฉพาะการเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม." ตั้งแต่ 3 มี.ค.2556 จนถึง 22 พ.ค.2565 ถือว่าว่างเว้นการเลือกตั้งมาทั้งหมด 9 ปี 2 เดือน 19 วัน ทำให้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกหรือ "First Time Voter" หรือในช่วงอายุ 18-27 ปี มากกว่าการเลือกตั้งสนาม กทม.ทุกครั้งที่ผ่านมา

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ เปิดข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน) จากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย จาก ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อายุ 18-100 ปีขึ้นไปมีจำนวน 4,481,068 ราย แบ่งเป็นดังนี้

• อายุ 18-27 ปี (First Time Voter) จำนวน 697,348 ราย

• อายุ 28-40 ปี จำนวน 1,012,386 ราย

• อายุ 41-50 ปี จำนวน 870,437 ราย

• อายุ 51-60 ปี จำนวน 826,745 ราย

• อายุ 61-70 ปี จำนวน 613,342 ราย

• อายุ 71-80 ปี จำนวน 309,959 ราย

• อายุ 81-80 ปี จำนวน 125,438 ราย

• อายุ 91-100 ปี จำนวน 22,782 ราย

• อายุมากกว่า 100 ปี จำนวน 2,631 ราย 

เช็คอายุ! ผู้มีสิทธิ \"เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.\" กลุ่มวัยไหนมาก วัยไหนน้อย

ขณะที่ฝั่ง ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ทั้งหมด 30 คน สามารถแยกช่วงอายุผู้สมัครได้เช่นกัน ดังนี้

• อายุ 41-50 ปี มีจำนวน 8 คน  

• อายุ 51-60 ปี มีจำนวน 9 คน 

• อายุ 61-70 ปี มีจำนวน 10 คน 

• อายุ 71-80 ปี มีจำนวน 3 คน 

สำหรับไทม์ไลน์ตามแผนการจัดการเลือกตั้งล่าสุด 8 ขั้นตอนมีดังนี้

1. การประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง ภายในวันที่ 26 เม.ย. 

2. การประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ภายในวันที่ 26 เม.ย. 65 

3. การแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง / รปภ. / อสส. / เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ภายในวันที่ 1 พ.ค. 65 

4. การส่งหนังสือรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งเจ้าบ้าน ภายในวันที่ 6 พ.ค. 65 

5. การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง / การเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ภายในวันที่ 11 พ.ค.65

6. ส่งหนังสือแต่งตั้งตัวแทนผู้สมัคร ภายในวันที่ 14 พ.ค. 65 

7. การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รอบแรก วันที่ 15–21 พ.ค.65 และรอบหลัง วันที่ 23–29 พ.ค.65 

8. การจัดอบรมเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง และส่งมอบวัสดุอุปกรณ์เลือกตั้ง วันที่ 21 พ.ค.65