เปิดอินไซต์ 'ตลาดเวียดนาม' ที่นักธุรกิจต้องรู้

เปิดอินไซต์ 'ตลาดเวียดนาม' ที่นักธุรกิจต้องรู้

เปิดอินไซต์ "ตลาดเวียดนาม" ที่นักธุรกิจต้องรู้ จากงาน The Bridge Forum Vietnam Market Insights

ปัจจุบันประเทศ เวียดนาม ถือเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามจะขยายตัวถึง 7% ในปี 2024 และขยับสูงขึ้น ถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยที่จะมุ่งสู่ ตลาดเวียดนาม เพื่อขยายการเติบโตในอนาคต โดยภายในงานสัมมนา The Bridge Forum Vietnam Market Insights จัดโดย บริษัท ปันโปรโมชั่น จำกัด (ปันโปร) ร่วมกับ บริษัท เรียลลี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SEA Bridge) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin) ได้นำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อติดอาวุธให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยพร้อมบุกตลาดเวียดนาม

ภาพรวมตลาดเวียดนามที่น่าสนใจ

แคสเปอร์ เสริมสุขสัน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SEA Bridge เผยว่า ภายในปี 2030 อาเซียนจะเป็นตลาดอันดับที่ 4 ของโลก ด้วยประชากรมากกว่า 720 ล้านคน ซึ่งประเทศเวียดนามมีประชากรทั้งหมด 98 ล้านคน อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ถือว่าชาวเวียดนามอายุยังน้อยสามารถที่จะพัฒนาได้อีกไกล สิ่งที่น่าสนใจคือประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ที่ชาวเวียดนามสนใจมาเที่ยวอีกด้วย 

ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม และผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ เวียดนาม เสริมว่า แผนของเวียดนามวางไว้ว่าภายในปี 2045 จะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว คนในประเทศจึงเริ่มมีกำลังซื้อ โดยจะเพิ่มขึ้นถึง 50 ล้านคน ในปี 2035 โดยมี 3 เสาหลักที่เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่ 

  • Strict Enforcement of Law กฎหมายที่เข้มงวด ทำให้คนเป็นระเบียบและไม่มีการคอร์รัปชันเกิดขึ้นในสังคม
  • Human Resources ทรัพยากรมนุษย์เข้มแข็งมาก มีความพยายามและทำงานหนัก
  • Government การปกครองของเวียดนาม มีการมองโอกาสก้าวหน้า สร้างความเจริญ ทำให้ประชากรอยู่ดีกินดี และทำให้ต่างชาติสนใจมาลงทุน

จับโอกาสลงทุนในเวียดนาม

วิมล ปั้นคง รองผู้อำนวยการ (วิชาการ) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้แชร์มุมมองจากประสบการณ์การทำงานที่ประเทศเวียดนามว่า ตลาดเวียดนาม น่าสนใจเป็นอันดับที่ 2 รองจากพม่า เนื่องจากตลาดเวียดนามมีการแข่งขันและความท้าทายสูง มีคู่แข่งต่างชาติเยอะ เวียดนามจึงใช้มาตราการกีดกันภาษีมากที่สุดในอาเซียน ทำให้กระบวนการนำเข้าซับซ้อน ทั้งนี้ คนเวียดนามมีความกระตือรือร้นต่อการมีส่วนร่วมในการลงทุนของไทย จึงควรนำวัฒนธรรมไทยมาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร เนื่องจากคนเวียดนามชอบความเป็นไทย ซึ่งประเทศไทยมีความสามารถด้านการท่องเที่ยว การบริการ และการเกษตร ต้องใช้จุดเด่นเหล่านี้มาเป็นจุดขาย สร้าง Benefit และเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน

ปิยะพงศ์ จริยเศรษฐพงศ์ ที่ปรึกษาสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม เสริมว่า เวียดนามมีพรรคการเมืองเดียว เป็นการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ สื่อต่างๆ จึงถูกควบคุมโดยรัฐบาล การจะลงทุนในจังหวัดใดต้องดูให้ดี นอกจากนี้ เวียดนาม มีกฎหมายเยอะมาก ต้องทำความเข้าใจ รวมถึงควรสร้างความสัมพันธ์กับคนเวียดนามแบบ Casual ด้วย ต้องสร้างตัวตน ให้ความสำคัญกับตำแหน่ง และวางตัวให้เป็นมืออาชีพ 

พฤติกรรมของผู้บริโภคเวียดนามแตกต่างตามพื้นที่

ธนียา ฟูเจริญ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย ได้ให้ข้อมูลอินไซต์พฤติกรรมผู้บริโภคเวียดนาม ดังนี้

  • ภาคเหนือ มี Loyalty กับแบรนด์สูง
  • ภาคกลาง มีแนวโน้มคล้อยตามสูง
  • ภาคใต้ พร้อมจะทดลองสินค้าใหม่ๆ ตามคุณภาพและความน่าสนใจ

คนเวียดนามยุคใหม่เข้าถึงได้ด้วยสื่อดิจิทัล

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการให้บริการด้านวิเคราะห์ข้อมูลโซเซียลในประเทศไทย เผยโซเชียลเทรนด์ (Social Trends) ในประเทศ เวียดนาม ที่น่าสนใจ

  • 8 ใน 10 ของคนเวียดนามเล่น Internet และใช้ Social Media
  • คนเวียดนามกว่าครึ่งชอบ Shopping Online 
  • E-Commerce Industry ของเวียดนามกำลังเติบโต
  • ผู้บริโภคชาวดิจิทัล (Digital Consumer) ไม่รู้ว่าตัวเองอยากได้อะไร หรือมองหาอะไรเฉพาะเจาะจง และมีการ Shopping Online ผ่าน Social Media Platform อย่าง Facebook และ TikTok 
  • คนเวียดนามมี Social Trend Cycle ประจำปี เช่น เดือนมกราคม Lunar New Year เดือนมีนาคม Happy Women’s Day, เดือนกันยายน Back to School, Mid Autumn เป็นต้น
  • ภาษาเป็นสิ่งสำคัญ ต้องทำความเข้าใจกับภาษาท้องถิ่น หรือ Slang Meme เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคท้องถิ่น (Local Consumer) 

เจาะอินไซต์วางกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อคนเวียดนาม

กฤษฎา ตั้งกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ปันโปรโมชั่น จำกัด หรือ ปันโปร เล่าถึงเทคนิคและประสบการณ์ที่ได้จากการทำแพลตฟอร์มออนไลน์ Nghien Thai (เหงียนไทย) ที่เวียดนาม 

คอนเทนต์ที่คนเวียดนามสนใจมากที่สุด

  • อาหาร 
  • สินค้าของไทย
  • วัฒนธรรม
  • ท่องเที่ยว

รูปแบบเนื้อหาที่โดนใจ

  • ความสนุก ความตลก
  • ชวนคุย สร้างคอมมูนิตี หรือพื้นที่พูดคุย เปิดโอกาสให้พูดคุย สร้าง Engagement ร่วมกัน เช่น มาเมืองไทยอยากทำอะไร?

เข้าถึงคนเวียดนามด้วยกลยุทธ์ Localization

  • Localize ใช้ภาษาเวียดนามได้อย่างกลมกลืน เป็นธรรมชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของคนเวียดนามด้วยการใช้ Slang Meme
  • Local Team มีทีมงานเป็นคนเวียดนาม สามารถให้ Insights ที่แท้จริงได้ดี
  • Long Term สร้างคอนเทนต์โดยหาจุดเชื่อมโยงระหว่างคนไทยและคนเวียดนาม รวมถึงการสร้างคอมมูนิตีร่วมกันผ่านคอนเทนต์ ที่สำคัญต้องทำให้เกิด Success Case ให้ได้

ผศ.ดร. มานา ปัจฉิมนันท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในมุมมองและการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร โดยก่อนทำธุรกิจควรวิเคราะห์ตลาด ทั้งในมุมของความต้องการลูกค้า และสิ่งที่แบรนด์สามารถตอบโจทย์ลูกค้า รวมทั้งศึกษาคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดเพื่อหา Winning Zone 

อรวรรณ กิตติธนนิรันดร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด Nghien Thai (เหงียนไทย) เสริมเรื่องกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจคนเวียดนามต้องศึกษาและเข้าถึงข้อมูล Insights เพื่อนำมาปรับให้เข้ากับเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร ที่สำคัญต้อง Keep it simple 

จากบทสรุปแบบเจาะลึกของงาน The Bridge Forum Vietnam Market Insights ช่วยให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยมองเห็นโอกาสเข้าไปในตลาดเวียดนามได้มากขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค และ Localization ทั้งหมดนี้คือประตูสู่ความสำเร็จให้ธุรกิจไทยเติบโตใน ตลาดวียดนาม

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ปันโปร และ เหงียนไทย

เปิดอินไซต์ \'ตลาดเวียดนาม\' ที่นักธุรกิจต้องรู้