เปิดหลักสูตร ‘ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ จาก ‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’

เปิดหลักสูตร ‘ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ จาก ‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’

สุขภาพคนไทย ประจำปี 2566 พบคนทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ อาทิ พฤติกรรมการสูบบุหรี่จัด, การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, การกินอาหารนอกบ้านจากร้านหรือตลาด ‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’ จึง ‘เปิดหลักสูตร’ เตรียมพร้อมก่อนวัยเกษียณ

‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดหลักสูตรออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หันมาดูแลสุขภาพอย่างครบเครื่อง เตรียมพร้อมก่อนเกษียณอายุ 

ประภาศรี บุญวิเศษ’  กรรมการ สสส. และประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 5 สสส. เปิดเผยว่า จากรายงานสุขภาพคนไทย ประจำปี 2566 พบคนทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพถึง 4 เรื่อง ด้วยกัน ได้แก่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่จัด, การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, การกินอาหารนอกบ้านจากร้านหรือตลาด ที่หวาน มัน เค็มมากๆ และมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ จึงเห็นถึงความจำเป็นในการต้องเร่งสร้างกลไกเพื่อจัดการกับปัญหา

       “หลังจากที่มีการสร้าง ‘ผู้นำสุขภาพ’ ให้เกิดขึ้นในองค์กร กว่า 200 องค์กร เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน “องค์กรสุขภาพดี” ทั่วประเทศแล้ว สสส.  สานพลังเครือข่ายคนไทยไร้พุง วางกลไกสนับสนุนการดำเนินงานของผู้นำสุขภาพ โดยการสร้าง ‘นักออมสุขภาพ’  เป็นบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพในองค์กรและสมาชิกในครอบครัว ถือเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กร ที่ส่งผลถึงการมีสุขภาพดีในวัยเกษียณ รองรับสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” ประภาศรี กล่าว

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ ประธานเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า หลักสูตรต้นแบบ  ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ  ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนวัยทำงาน ดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจะส่งผลไปถึงการมีสุขภาพดีในวัยเกษียณ  โดยเนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพ การเพิ่มกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกาย การสร้างสุขภาวะทางอารมณ์ การสร้างความมั่นคงทางการเงิน และการท่องเที่ยว/เดินทางอย่างสุขภาพดี 

ด้าน รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ กล่าวในฐานะประธานหลักสูตร ‘ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ ว่าปัญหาคนวัยทำงานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากหันมาดูแลสุขภาพตอนเกษียณอายุ อาจจะช้าเกินไป เนื่องจากโรคต่างๆ ได้ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ตอนวัยทำงาน

การป้องกันหรือแก้ปัญหาที่ดี จึงควรเริ่มขณะยังไม่เป็นโรคหรือเริ่มมีสัญญาณเตือนการเกิดโรค คือในช่วงวัยทำงานอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ที่จะมีระยะเวลาประมาณ 10-20 ปี ในการออมสุขภาพ ก่อนวัยอิสระหรือวัยเกษียณอย่างเพียงพอ

เปิดหลักสูตร ‘ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ จาก ‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’ หลักสูตร ‘ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ จาก ‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’

“หลักสูตรแบ่งออกเป็น  ช่วงเปิดบัญชีสุขภาพ เพื่อประเมินสภาวะร่างกาย ความสุข ความเครียด ความมั่นคงทางการเงิน และรับคำแนะนำในการกำหนดเป้าหมาย  แผนในการดูแลสุขภาพ

ช่วงออมสุขภาพ  รับการอบรมและฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพ ทุกวันศุกร์ทางออนไลน์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ นัดติดตามผลเดือนละครั้ง และทำกิจกรรมต่างๆ กับภาคีเครือข่าย เช่น การฝึกโยคะกับครูพี่บอย, การปลูกผัก-ทำสวนครัวกับสวนผักบ้านคุณตา, การทำอาหารกับเชฟทักษ์ เจ้าของเพจ TUCK the CHEF, การท่องเที่ยวอย่างสุขภาพดีกับทีม Sook Signature Trip ฯลฯ

เปิดหลักสูตร ‘ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ จาก ‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’ โดยสะสมแต้มสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน Health Coin และ ช่วงผลตอบแทน เพื่อรับการประเมิน เปรียบเทียบเป้าหมาบ ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อพิจารณามอบรางวัลเชิดชูเกียรติ  ในงาน Healthy Organization Day ที่จัดขึ้นสัปดาห์ที่ 3 เดือนมกราคมของทุกปี”

        หลักสูตร 'ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ' ในระยะแรกจะเปิดโอกาสให้กับพนักงานองค์กรที่เคยเข้าอบรมหลักสูตรผู้นำสุขภาพในสถานที่ทำงานกับเครือข่ายมาก่อน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นในส่วนของการร่วมกิจกรรมตามอัธยาศัย มีค่าใช้จ่ายที่ได้รับส่วนลดพิเศษ  ส่วนรุ่นต่อๆไป สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่  เฟซบุ๊ก : เครือข่ายคนไทยไร้พุง หรือ อีเมล : [email protected]

เปิดหลักสูตร ‘ออมสุขภาพ รับวัยอิสระ’ จาก ‘เครือข่ายคนไทยไร้พุง’ “การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ปลอดโรค ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต  ไม่ใช่สิ่งที่จะปฏิบัติเป็นครั้งคราวอย่างไม่มีจุดหมาย แต่จำเป็นต้องตั้งเป้าหมาย วางแผนปฏิบัติให้ชัดเจนอย่างเป็นระบบ เปรียบเสมือนการเปิดบัญชีสุขภาพ ตั้งเป้าหมายสุขภาพ และเริ่มเก็บออมความรู้ ฝึกปฏิบัติพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สะสมไปเรื่อย ๆ

จนในที่สุดก็จะให้ผลตอบแทนการออมสุขภาพออกมาในระยะยาว ซึ่งจะต้องทำคู่ขนานไปกับการวางแผนด้านการเงินเพื่ออนาคต หรือกล่าวได้ว่า เก็บออมสุขภาพตั้งแต่วันนี้ เพื่อความมั่งมีทั้งสุขภาพกาย ใจ การเงินในวันหน้า หรือ Save your health, Save your wealth” รศ.นพ.เพชร กล่าวทิ้งท้าย