ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

"พักตร์ธิดา คำทอง" ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดทำบทความ "ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา" โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ในช่วงปี 2013-2022 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ หรือ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ไทยทั้งหมด 305 บริษัท แบ่งออกเป็นบริษัทที่ IPO ในตลาด SET และ mai ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (รูปที่ 1) และมีการกระจายตัวในเชิงกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยมีความโดดเด่นในกลุ่ม Services และ Property & Construction ที่มีสัดส่วนจำนวน บจ. IPO มากที่สุด (รูปที่ 2) 

ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

เมื่อผ่านเกณฑ์ (กล่องที่ 1) และสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว พบว่าบริษัทที่เข้า IPO ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยการเติบโตของกำไรสุทธิรายปีในช่วง 3 ปี หลังเข้า IPO ที่ค่อนข้างดี กล่าวคือ 65% มีกำไรเฉลี่ยเติบโตทุกปี โดยพบ 61% ของบริษัทในกลุ่ม SET100 49% ของบริษัทในกลุ่ม Non-SET100 และ 44% ของบริษัทในกลุ่ม mai ที่เติบโตเฉลี่ยในอัตราที่เกินกว่า 20% ต่อปีด้วย (รูปที่ 3) ทั้งนี้ บจ. ในกลุ่ม Financials และ Resources โดดเด่นที่สุด มีสัดส่วนบริษัท 75-80% ที่มีกำไรเฉลี่ยเติบโตทุกปี อนึ่งมี 25 บริษัท หรือคิดเป็นเพียง 8% ของ บจ. IPO ทั้งหมด ที่มีผลประกอบการรวมขาดทุนในช่วง 3 ปี หลังเข้า IPO

ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

หากพิจารณาการเติบโตด้านรายได้หลังจากเข้า IPO พบว่า บจ. มีรายได้ 3 ปี หลังเข้า IPO เติบโตดีมาก เกือบ 80% มีรายได้เฉลี่ยเติบโตทุกปี อีกทั้ง ประมาณ 30% ของ บจ. ที่เข้า IPO ทั้งในตลาด SET และตลาด mai มีรายได้เฉลี่ยเติบโตมากกว่า 20% ต่อปี โดยในระดับรายอุตสาหกรรมพบว่า 80-90% ของ บจ. ในกลุ่ม Financials Technology Services และ Agro & Food มีรายได้เฉลี่ย 3 ปี หลัง IPO เติบโตทุกปี (รูปที่ 4)

ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

หลังจากที่ได้เห็นการเติบโตด้านผลประกอบการและรายได้กันมาแล้ว อีกมุมหนึ่งที่หลายคนให้ความสนใจคือ การเติบโตด้านมูลค่าและขนาดของบริษัทหลังเข้าจดทะเบียน IPO ซึ่งพบว่า หลังเข้ามาระดมเงินทุนและใช้ประโยชน์จากตลาดทุนเพื่อการขยายธุรกิจแล้ว ประมาณ 70% ของ บจ. ที่ IPO ในตลาด mai และประมาณครึ่งหนึ่งของ บจ. ที่จดทะเบียนในตลาด SET มี market cap เติบโตดีถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ หากพิจารณารายอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่ม Technology และ Agro & Food มีความโดดเด่น โดยประมาณ 75% มี market cap ขยายตัวดีถึงปัจจุบัน รองลงมาคือกลุ่ม Services และ Financials ที่ประมาณ 65% มี market cap เติบโตดี (รูปที่ 5) ทั้งนี้ พบว่ามี 7 บริษัท คิดเป็น 2% ของ บจ. IPO ทั้งหมด ที่มูลค่า market cap ปัจจุบันหดตัวลงเกินกว่า 25% เมื่อเทียบกับ ณ IPO

ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

นอกจากมูลค่า market cap เติบโตดีขึ้นแล้ว ยังพบ บจ. ที่เติบโตจนสามารถย้ายจากตลาด mai ไปที่ตลาด SET ได้ถึง 21 บริษัท คิดเป็น 14% ของ บจ. ที่เข้า IPO ในตลาด mai ทั้งหมดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า เกินครึ่งหนึ่งของ บจ. ดังกล่าวใช้เวลาเพียงไม่เกิน 3 ปีเพื่อที่จะเติบโตและได้ย้ายตลาด โดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Resources และ Services (รูปที่ 6)

การที่บริษัทเข้ามา IPO นอกจากตัวบริษัทได้ใช้กลไกตลาดทุนเพื่อระดมทุนไปขยายธุรกิจให้เติบโตได้แล้ว ในมุมผู้ลงทุน บริษัท IPO เหล่านี้ยังเป็นทางเลือกให้สามารถลงทุนในธุรกิจได้หลากหลาย เพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้ดีขึ้น

ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ IPO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา